เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำนา

โดย : นายณรงค์ สุกันทอง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-04-08:39:04

ที่อยู่ : 7/3 หมู่ที่ 6 ซอย 2 ต.จุน อ.จุน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 เนื่องจากเราต้องบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก  แต่ปัจจุบันมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีจำนวนมาก ทำให้ข้าวที่เราบริโภคไม่มีความปลอดภัยเท่าที่ควร  จึงหันมาปลูกข้าวอินทรีย์ไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายในส่วนที่เหลือจากการบริโภค

วัตถุประสงค์ ->

เมื่อนำเมล็ดข้าวไปเพาะให้งอก โดยแชน้ำนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่มี ีความชื้นสูงเมล็ด จะงอก ภายใน 48 ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไปปลูกในดินที่เปียก ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็น ยอดก็จะสูงขึ้นเหนือผิวดินแล้วเปลี่ยนเป็นใบ ต้นข้าวเล็กๆนี้เรียกว่า “ต้นกล้า” หลังจากต้นกล้ามีอายุ ประมาณ 40 วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้นโดยเจริญเติบโตออกจากตา บริเวณโคนต้น ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ 5-15 หน่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ ข้าวระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่หน่อต้นกล้าให้ร่วงข้าวหนึ่งรวง แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าวประมาณ 100-200 เมล็ด โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่ สุดประมาณ100-200 เซนติเมตรซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ ข้าว ตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของน้ำ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความขยัน อดทน  ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค์

อุปกรณ์ ->

   1. ควรปล่อยให้ดินนามีโอกาสแห้งสนิท เป็นระยะเวลานานพอสมควร และถ้าสามารถไถพลิกดินล่างขึ้นมาตากให้แห้งได้ก็จะดียิ่งขึ้น ถ้าดินเปียกน้ำติดต่อกันโดยไม่มีโอกาสแห้ง จะเกิดการสะสมของสารพิษ เช่นแก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) และกรดอินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งถ้าสารเหล่านี้มีปริมาณมากก็จะเป็นอันตรายต่อรากข้าวได้ 

        2. ควรมีการหมักฟาง หญ้ารวมทั้งอินทรียวัตถุเพื่อให้สลายตัวสมบูรณ์ ประมาณ 2 สัปดาห์ หลังการไถเตรียมดิน เพื่อให้ ดินปรับตัวอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าว และสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นออกมาให้แก่ต้นข้าว

        3. ดินกรดจัดหรือดินเปรี้ยวจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำ (pH ต่ำกว่า4.0) ควรขังน้ำไว้อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนปักดำข้าว เพื่อให้ปฏิกิริยาต่างๆ ตลอดจนความเป็นกรดของดินลดลงสู่สภาวะปกติ และค่อนข้างเป็นกลางเสียก่อน ดินกลุ่มนี้ถ้ามีการขังน้ำตลอดปี หรือมีการทำนาปีละ 2 ครั้ง ก็จะเป็นการลดสภาวะความเป็นกรดของดิน และการเกิดสารพิษลงได้ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตของข้าวสูงขึ้น

การตกกล้า

        การเตรียมต้นกล้าให้ได้ต้นที่แข็งแรง เมื่อนำไปปักดำก็จะได้ข้าวที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และมีโอกาสให้ผลผลิตสูง ต้นกล้าที่แข็งแรงดีต้องมีการเจริญเติบโตและความสูงสม่ำเสมอทั้งแปลง มีกาบใบสั้น มีรากมากและรากขนาดใหญ่ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย 

        - การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธ์ ปราศจากสิ่งเจือปน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์) ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง

        - การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะเช่นตะกร้าไม้ไผ่สาน กระสอบป่านหรือ ถุงผ้า ไปแช่ในน้ำสะอาด นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขัง และมีการถ่ายเทอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ 30-48 ชั่วโมง เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

 

 

เมล็ดข้าวหลังจากแช่และหุ้มแล้วพร้อมที่จะนำไปหว่าน

        ในการหุ้มเมล็ดพันธุ์นั้น ควรวางเมล็ดพันธุ์ไว้ในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และขนาดของกองเมล็ดพันธุ์ต้องไม่โตากเกินไป หรือบรรจุถุงขนาดใหญ่เกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสูงในกองหรือถุงข้าว เพราะถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปเมล็ดพันธุ์ข้าวจะตาย ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะข้าวจะงอกเร็ว และสม่ำเสมอกันตลอดทั้งกอง 

        - การตกกล้า การตกกล้ามีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์ เช่นการตกกล้าบนดินเปียก (ทำเทือก) การตกกล้าบนดินแห้ง และการตกกล้าใช้กับเครื่องปักดำข้าว

        การตกกล้าในสภาพเปียก หรือการตกกล้าเทือก เป็นวิธีที่ชาวนาคุ้นเคยกันดี การตกกล้าแบบนี้จะต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ การดูแลรักษาไม่ยุ่งยากและความสูญเสียจากการทำลายของศัตรูข้าวมีน้อย มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

        - การเตรียมดิน ปฏิบัติเช่นเดียวกับแปลงปักดำ แต่เพิ่มความพิถีพิถันมากขั้น ในการเก็บกำจัดวัชพืช และปรับระดับเทือกให้ราบเรียบสม่ำเสมอ 

        - การเพาะเมล็ดพันธุ์ ปฏิบัติตามขั้นตอนของการเตรียมเมล็ดพันธุ์ การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 50-60 กรัมต่อตารางเมตร หรือประมาณ 80-90 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้กล้าสำหรับปักดำได้ประมาณ 15-20 ไร่ 

        - การหว่านเมล็ดพันธุ์ ปล่อยน้ำแปลงกล้าให้แห้ง ทำเทือกให้ราบเรียบสม่ำเสมอ นำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะงอกดีแล้วมาหว่านให้กระจายสม่ำเสมอตลอดแปลง ควรหว่านเมล็ดพันธุ์ตอนบ่ายหรือตอนเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดตอนเที่ยงซึ่งมีความร้อนแรงมาก อาจทำให้เมล็ดข้าวตายได้

        - การให้น้ำ ถ้าตกกล้าไม่มากนัก หลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์แล้วหนึ่งวัน สาดน้ำรดให้กระจายทั่วแปลง ประมาณ 3-5 วัน กล้าจะสูงพอที่ไขน้ำเข้าท่วมแปลงได้ แต่ถ้าตกกล้ามาก ไม่สามารถที่จะสาดน้ำรดได้ ให้ปล่อยน้ำหล่อเลี้ยงระหว่างแปลงย่อย ประมาณ 3-5 วัน เมื่อต้นกล้าสูงจึงไขน้ำเข้าท่วมแปลง และค่อยเพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ ตามความสูงของต้นกล้าจนน้ำท่วมผิวดินตลอด ให้หล่อเลี้ยงไว้ในระดับลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร จนกว่าจะถอนกล้าไปปักดำ

        - การใส่ปุ๋ยเคมี ถ้าดินแปลงกล้ามีความอุดมสมบูรณ์สูง กล้างามดีก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย เพราะจะงามเกินไป ใบจะยาว ต้นอ่อน ทำให้ถอนแล้วต้นขาดง่ายและตั้งตัวได้ช้าเมื่อนำไปปักดำ แต่ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ให้ใส่ปุ๋ยเคมีแอมโมเนียมฟอสเฟต (16-20-0) อัตราประมาณ 25-40 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่หลังหว่านเมล็ดพันธุ์แล้วประมาณ 7 วัน หรือเมื่อสามารถไขน้ำเข้าท่วมแปลงได้แล้ว 

        - การดูแลรักษา ใช้สารป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าวตามความจำเป็น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

    1. เมื่อเกษตรกรได้รับเมล็ดพันธุ์ดีจากทางราชการมาแล้ว ควรเลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยขนาดพื้นที่ขึ้นอยู่กับพื้นที่นาทั้งหมดที่มีอยู่ เช่น หากมีนา 50 ไร่ จำเป็นต้องใช้พันธุ์ข้าวประมาณ 350 กิโลกรัม สำหรับนาดำ หรือ 900 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับนาหว่าน ดังนั้น พื้นที่แปลงพันธุ์ที่ต้องการ คือ 1 ไร่ สำหรับนาดำ หรือประมาณ 3 ไร่ สำหรับนาหว่าน
     2. การเตรียมแปลง ควรกำจัดข้าวเรื้อในนาออกให้หมด โดยการไถพรวนแล้วไขน้ำเข้าให้ข้าวเรื้องอก แล้วไถคราดกำจัดข้าวเรื้อก่อน จึงทำการตกกล้า หรือหว่านข้าว
     3. หลังจากข้าวงอกหรือปักดำ ควรทำการกำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ โดยควรทำทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรกในระยะแตกกอ ให้ดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ความสูง สีของใบและลำต้น ถ้าพบลักษณะที่ผิดปกติ ให้ตัดกอหรือต้นข้าวทิ้ง ครั้งที่ 2 ในระยะออกดอก ให้ตัดกอข้าวที่ออกดอกผิดเวลากับต้นข้างเคียง อย่าเสียดายเหลือไว้แต่ข้าวที่ออกดอกพร้อมกัน ครั้งที่ 3 ในระยะที่เมล็ดข้าวส่วนใหญ่สุกเหลือง ก็ให้ตัดข้าวที่มีลักษณะเมล็ดผิดปกติทิ้งไป
     4. ก่อนการเก็บเกี่ยว ควรตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีต้นข้าวบางต้นยังมีลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติ ให้เกี่ยวออกต่างหาก เมื่อเห็นว่าต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีให้ทำการเก็บเกี่ยวแล้วนวดทันที ไม่ควรตากข้าวไว้ในนา เพราะอาจจะถูกฝน ทำให้คุณภาพข้าวเสื่อมไปได้ การนวดข้าว ควรแยกข้าวส่วนอื่น และแน่ใจว่าเครื่องนวดไม่มีเมล็ดข้าวอื่นตกค้างอยู่ แล้วนำมาตากแดด 1-2 แดด ฝัดให้สะอาดแล้วบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่แห้งร่มเย็น

 

 

 

การคัดข้าวไว้ทำพันธุ์เอง

     เมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยประการแรกที่สำคัญต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าว ปัจจุบันการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดีจากทางราชการ ไม่สามารถสนับสนุนเกษตรกรได้เพียงพอ เกษตรกรควรจะหันมาจัดระบบการทำแปลงพันธุ์ไว้ใช้เอง การจัดทำแปลงพันธุ์ข้าวจะเป็นการลดต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ ทำให้มีเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ คุณภาพดี โดยมีข้อแนะนำดังนี้
    1. เมื่อเกษตรกรได้รับเมล็ดพันธุ์ดีจากทางราชการมาแล้ว ควรเลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยขนาดพื้นที่ขึ้นอยู่กับพื้นที่นาทั้งหมด เช่น มีที่นา 50 ไร่ ปลูกโดยวิธีหว่าน ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัมต่อไร่ จะเป็นปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ คือ 50 คูณ 15 เท่ากับ 750 กิโลกรัม หากเกษตรกรเคยทำนาได้ผลผลิต 750 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น จะคำนวณพื้นที่แปลงพันธุ์ได้ 1 ไร่พอดี
    2. การเตรียมแปลง ควรกำจัดข้าวเรื้อออกให้หมด ไม่มีเมล็ดลีบหรือเมล็ดไม่สมบูรณ์อื่น ๆ การทำแปลง ควรใช้วิธีปักดำ แต่ถ้าจำเป็นจะใช้วิธีหว่านก็ได้
    3. เมื่อข้าวในแปลงพันธุ์งอกแล้ว ควรทำการกำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ หรือข้าวผิดปกติอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุให้ได้ข้าวพันธุ์ไม่ดี ควรทำทั้งหมด 3 ครั้ง
       - ครั้งแรก ในระยะแตกกอ ให้ดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ความสูงของลำต้น สีของใบและลำต้น ถ้าพบลักษณะผิดปกติให้ถอนทิ้ง
       - ครั้งที่สอง ในระยะออกดอก กำจัดต้นข้าวที่ออกดอกผิดเวลากับต้นข้างเคียง อย่าเสียดายเหลือไว้แต่ข้าวที่ออกดอกพร้อมกัน
       - ครั้งที่สาม ระยะที่เมล็ดข้าวส่วนใหญ่สุกเหลือง ต้องตัดข้าวที่มีเมล็ดผิดปกติทิ้ง โดยเฉพาะเมล็ดข้าวที่มีหาง ต้องกำจัดทิ้งโดยเร็ว เพราะเป็นเมล็ดกลายพันธุ์
    4. ก่อนทำการเก็บเกี่ยว ควรตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่าต้นข้าวบางต้นยังมีลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติไปจากต้นอื่นให้เกี่ยวออกต่างหากเมื่อต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีให้ทำการเก็บเกี่ยวแล้วนวดทันที ไม่ควรตากข้าวไว้ในนา
    5. ในการนวด ถ้าใช้เครื่อง ต้องกำจัดเมล็ดข้าวที่ติดมากับเครื่องออกให้หมดเสร็จแล้วนำข้าวที่นวดตากแดดให้แห้ง ฝัดให้สะอาด เก็บในกระสอบหรือวัสดุอื่นเก็บรักษาไว้ในที่แห้งร่มเย็นสูงจากพื้นอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อรอการนำไปทำพันธุ์ต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา