เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

นวดแผนไทย

โดย : นางเดือนฉาย มณี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-04-08:37:44

ที่อยู่ : 274 หมู่ที่ 2 ต.ห้วยยางขาม อ.จุน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การนวดแผนไทย  ถึงเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของไทยมาแต่โบราณ  คนที่จะเรียนรู้ศาสตร์แขนงนี้มีจำนวนลดลง  เนื่องจากเรียนรู้ และฝึกฝนค่อนข้างยาก  ทำให้ผู้ที่สืบทอดการนวดแผนไทยลดจำนวนลง  สวนทางกับความนิยมในการนวดแผนไทยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

เราสามารถนวดบนร่างกาย โดยใช้วิธีการนวดต่าง ๆ ดังนี้  

- การนวด  การใช้น้ำหนัก  กดลงบนส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย น้ำหนักที่กดจะทำให้ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืดคลาย การนวดไทยเน้นมักจะใช้น้ำหนักของร่างกายเป็นแรงกด

- การบีบ เป็นการใช้น้ำหนัก กดลงบนส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในลักษณะ 2 แรงกดเข้าหากัน

- การคลึง  การใช้น้ำหนัก กดคลึง เป็นการกระจายน้ำหนักกดบนส่วนนั้น การคลึงให้ผลในการคลายใช้กับบริเวณที่ไวต่อการสัมผัส เช่น กระดูก ข้อต่อ

- การถู  การใช้น้ำหนักถู เพื่อทำให้ผิวหนังเกิดการยืดขยายรูขุมขนเปิด วิธีนี้นิยมใช้กับยาหรือน้ำมันเพื่อให้ตัวยาซึมเข้าได้ดี

- การกลิ้ง  การใช้น้ำหนักหมุนกลิ้ง ทำให้เกิดแรงกดต่อเนื่องไปตลอดอวัยวะ ทั้งยังเป็นการยืด กล้ามเนื้ออีกด้วย

- การหมุน  การใช้น้ำหนักหมุนส่วนที่เคลื่อนไหวได้คือ ข้อต่อ เพื่อให้พังผืด เส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อต่อ ยืดคลายการเคลื่อนไหวดีขึ้น

- การบิด  จะมีลักษณะคล้ายกับการหมุน

- การดัด  การใช้น้ำหนักยืด ดัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นพังผืดให้ยืดกว่าการทำงานปกติ เพื่อให้เส้นหย่อนคลาย

- การทุบ  การใช้น้ำหนักทุบ ตบ สับ ลงบนกล้ามเนื้อให้ทั่ว

- การเขย่า  การใช้น้ำหนักเขย่ากล้ามเนื้อ เพื่อกระจายความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อให้ทั่ว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

รู้จักสังเกต ใจเย็น ทำงานด้วยความรอบคอบ

อุปกรณ์ ->

- ในกรณีที่นวดท้อง  ไม่ควรนวดผู้ที่รับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ  (ไม่เกิน  30  นาที)

- ไม่นวดอย่างรุนแรงหรือนานเกินไป เพราะอาจเกิดการอักเสบ ฟกซ้ำมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่ค่อยมีกล้ามเนื้อ  เช่น หน้าหู ใกล้กระดูกไหปลาร้า รักแร้ เป็นต้น

- กรณีผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ต้องระมัดระวังในการนวด ในกรณีเป็นความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดแดงที่ท้องเป็นกระเปาะ ไม่ควรกดท้อง เพราะเสี่ยงต่อการทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ท้องปริตกจนมีอันตรายถึงเสียชีวิตได้

- ไม่ควรนวดผู้ที่มีอาการอักเสบติดเชื้อคือ มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส ปวด บวม แดง ร้อน

- ไม่ควรนวดผู้ที่เพิ่งประสบอุบัติเหตุใหม่ ๆ ควรได้รับการช่วยเหลือข้างต้น และตรวจวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ  หากเกินความสามารถควรประสานความร่วมมือกับแพทย์แผนปัจจุบัน

- หากมีการดัดหรือดึงร่วมด้วยจะต้องระวังมาก การดัดหรือดึงที่คออาจทำให้กระดูกคอทับเส้นประสาทได้ การดัดหลังอย่างรุนแรงอาจทำให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ ซึ่งหากมีเส้นประสาทอยู่ใกล้จะได้รับอันตรายไปด้วย

- การเปิดปิดประตูลมไม่ควรกดนานกว่า 45 วินาที และอย่าใช้แรงกดมากเกินไป เพราะอาจทำให้หลอดเลือดช้ำอักเสบ รวมทั้งเส้นประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงนานเกินไป ทำให้เกิดอาการชา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เริ่มต้นที่การนวดฝ่าเท้าเป็นอันดับแรก โดยจะให้ผู้รับการนวดนอนหงายอย่างผ่อนคลายแบบสบาย ๆ บนพรมหรือเสื่อหรือที่นอนที่มีความแข็งไม่นุ่มจนเกินไป หนุนศีรษะด้วยหมอนที่ไม่สูงมากนัก ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนปผ่นหลัง วางแขนสบาย ๆ ข้างลำตัว แยกขาทั้งสองให้ห่างจากกันพอประมาณ 1 ฟุต ปลายเท้าหันชี้ออกด้านข้าง จุดประสงค์ของการนวดฝ่าเท้าและขาคือ การกระตุ้นพลังงานให้ไหลผ่านเส้นพลังของฝ่าเท้าและช่วงขาเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา