เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ปลูกผักหวานป่า

โดย : นายอภัย ประเสริฐไทย ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-04-08:37:13

ที่อยู่ : 191 หมู่ที่ 2 ต.ทุ่งรวงทอง อ.จุน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผักหวานเป็นพืชที่ขึ้นบนภูเขา การเพาะพันธ์ยากมาก  และมีราคาสูง ออกผลผลิตเป็นฤดูกาลทำให้หาทานได้ยากเช่นกัน  เนื่องจากต้องขึ้นเขาไปเก็บผักหวานป่าเป็นประจำจึงอยากได้ต้นกล้าผักหวานป่าไปปลูกที่บ้านไว้บริโภคในครัวเรือนโดยที่ไม่ต้องขึ้นไปเก็บบนเขาอีก

วัตถุประสงค์ ->

 1. เลือกใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเมล็ดมาปลูก จะให้ผลผลิตดีและอายุยืนกว่า แบบกิ่งตอน 

 2. ปลูกพืชพี่เลี้ยงไว้ก่อนที่จะปลูกต้นผักหวานป่า เช่น ต้นมะขามเทศ,ชะอม,,โสน,กระถิน,ต้นแค ฯลฯ พืชที่กล่าวมานี้จัดเป็นพืชตระกูลถั่วทั้งหมด เลือกปลูกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือจะหลายอย่างก็ได้... สำหรับเราเลือกใช้ต้นแค ซึ่งปลูกไปพร้อมๆกับต้นผักหวาน และต้นมะขามเทศ (ต้นมะขามเทศนี่ ปลูกล่วงหน้ามาก่อนนานแล้ว)  เป็นพืชพี่เลี้ยง

3.เลือกทิศทางที่จะปลูกให้เหมาะสมตามสภาพของแสงแดด ต้นผักหวานป่านั้นไม่ชอบแดด ชอบอยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ มีแสงรำไร

4.ระยะห่าง ระหว่างต้นและระหว่างแถว ~  2 x 2 เมตร

5.ขุดหลุมปลูก กว้าง และ ลึก เท่ากับขนาดของถุงต้นพันธ์ุ แล้วผสมปุ๋ยคอก( 2-3 กำมือ/ต้น) กับดิน ใส่รองก้นหลุมไว้

ต้นผักหวานป่า ปลูกแบบสองต้นคู่

6.เตรียมนำต้นพันธุ์ลงหลุมปลูก โดย ใช้กรรไกรตัดโดยรอบก้นถุง แล้วค่อยๆแกะถุงพลาสติกด้านล่างออกเท่านั้นตรงนี้ต้องระวังให้มากเป็นพิเศษเพราะปลายของรากแก้วจะมาขดตัวอยู่ในซอกมุมของถุง ถ้ารากแก้วหักหรือขาดโอกาสที่ต้นผักหวานป่าจะตายมีสูง แต่ถ้าเกิดพลาดทำรากขาดไปบ้าง ค่อยๆหย่อนต้นพันธุ์ลงหลุมโดยที่ไม่เอาถุงดำออก คือ ปลูกไปทั้งถุงนั่นแหละ  เมื่อเวลาผ่านไป ถุงพลาสติกจะค่อยๆเปื่อยสลายไปเองต้นผักหวานป่าที่พึ่งเริ่มปลูกต้นแคและต้นผักหวานป่าอายุได้ 2 เดือน

7.หาเศษใบไม้แห้ง หรือฟางข้าวมาคลุมโคนต้นไว้เพื่อรักษาความชื้น หลังจากนั้นต้องหาวัสดุอะไรก็ได้เช่น ตะเข่ง,ตะกร้า,แสลน  มาคลุมไว้ เพื่อช่วยบังแสงในช่วงบ่าย ต้นผักหวานจะไม่เหี่ยวเฉาเลยแม้แดดจะร้อนมากเพียงใด ของเราใช้ตะกร้าพลาสติก ควรครอบไว้จนกว่าต้นผักหวานจะมีอายุได้อย่างน้อย 6 เดือนก็เอาออกได้   ต้นผักหวานป่า อายุ 6 เดือนหรือจะเจาะรูก้นตะกร้าแบบนี้ก็ได้เพื่อเป็นการปกป้องลมและแสงแดดได้อีกระดับหนึ่ง เพราะ ต้นผ้กหวานอายุ 6เดือนนั้นยังไม่แข็งแรงมากนัก

8.ให้น้ำ 1 ครั้ง /สป. หรือ ดูตามสภาพอากาศ ,ส่วนปุ๋ยคอกให้เดือนละ 1 ครั้ง -ทางดิน และให้น้ำขี้หมู 1 ครั้ง/สป.-ทางใบ ด้วยจะดีมาก 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การหมั่นสังเกต ฝึกฝน ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม อดทน

อุปกรณ์ ->

ใช้กรรไกรตัดโดยรอบก้นถุง แล้วค่อยๆแกะถุงพลาสติกด้านล่างออกเท่านั้นตรงนี้ต้องระวังให้มากเป็นพิเศษเพราะปลายของรากแก้วจะมาขดตัวอยู่ในซอกมุมของถุง ถ้ารากแก้วหักหรือขาดโอกาสที่ต้นผักหวานป่าจะตายมีสูง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ต้นผักหวานป่านั้น ถึงแม้จะทนแล้งได้ดี แต่ถ้าเราดูแลเหมือนปลูกพืชทั่วๆไป แค่นี้ต้นผักหวานก็จะเจริญเติบโตได้ดีกว่านี้แน่นอน       

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา