เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เกษตรอินทรีย์

โดย : นานยทองอินทร์ ทองเอก ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-04-08:35:24

ที่อยู่ : 191 หมู่ที่ 9 ต.จุน อ.จุน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำการเกษตรเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของคนในชุมชน  สืบทอดกันมาแต่โบราณ  ปัจจุบันได้น้อมนำหลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ 

วัตถุประสงค์ ->

ควรเลือกพื้นที่เหมาะสม โดยอยู่ห่างโรงงาน หางแปลงปลูกที่ใช้สารเคมี มีแหล่งน้ำสะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน ศึกษาประวัติพื้นที่ เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ยและสารเคมี ย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี เลือกปลูกพืชให้เหมาะกับดิน โดยให้พิจารณาว่าดินมีทั้งดินร่วน ดินเหนียว หน้าตื้น หน้าดินลึก ดินเป็นกรด ดินเป็นด่าง ดินเค็ม เป็นต้น จึงควรพิจารณาเลือกปลูกพืชที่ขึ้นอยู่เดิม สังเกตจากพืชที่ขึ้นอยู่เดิม เก็บตัวอย่างดิน น้ำ ไปทำการวิเคราะห์ การวางแผนจัดการในการทำเกษตรอินทรีย์ วางแผนป้องกันสารพิษจากภายนอก ทั้งทางน้ำและทางอากาศ การป้องกันทางน้ำโดนขุดคูรอบแปลง การป้องกันทางอากาศโดยปลูกพืชกันชน ทั้งไม้ทรงสูง ทั้งไม้ทรงสูง ทรงสูงปานกลางต้นเตี้ย บนคันกั้นน้ำรอบแปลง วางแผนป้องกันภายในจัดระบบการระบายน้ำ การเก็บรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และการเข้าออกไร่นา วางแผนระบบการปลูกพืช เลือกฤดูปลูกที่เหมาะสมใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรค-แมลง พืชบำรุงดิน พืชไล่แมลง การเลือกพันธุ์ปลูกในการปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ คำนึงถึงสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ ความต้านทานต่อ โรค-แมลง และวัชพืช ความหลากหลายของชนิดพืชในแปลง ไม่ใช้พืชจีเอ็มโอ (พืชที่มาจาการตัดต่อสารพันธุกรรม) ควรเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มาจาการปลูกแบบอินทรีย์ การปรับปรุงบำรุงดินในแบบเกษตรอินทรีย์ เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง (ห้ามตัดไม้ทำลายป่า) ถ้าดินเป็นกรดจัดใส่หินปูนบดลดความเป็นกรด ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบ ได้แก่ โสน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ เป็นต้น (โสรนควรปลูกในนา ถั่วต่าง ๆ ควรปลูกในไร่) ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช เพื่อช่วยปรับโครงสร้างดิน และให้ธาตุอาหารพืช ดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือโพแทสเซียมธรรมชาติ และขี้เถ้าถ่าน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความขยัน อดทน 

อุปกรณ์ ->

1. ผลผลิตจากการทำเกษตรอินทรีย์จะให้ปริมาณน้อยกว่าระบบเกษตรที่ใช้สารเคมี สิ่งนี้มักเกิดจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การใส่ปุ๋ยที่เป็นวัสดุอินทรีย์เพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการธาตุอาหารของพืช ดังนั้น เมื่อเทียบกับเกษตรที่ใช้ปุ๋ยเคมีก็ย่อมที่จะให้ผลผลิตที่ต่ำกว่า อีกทั้ง การใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ได้จากธรรมชาติมักไม่ได้ผลในแมลงศัตรูพืชบางชนิด
2. คุณภาพของลักษณะผลผลิตมักด้อยกว่าเกษตรที่มีการใช้สารเคมี อาทิ ปัญหาผลิตมีรอยกัดกินของแมลง ผลผลิตเน่าเสียง่าย ผลผลิตมีรูปทรงหรือสีสันไม่สดใส เป็นต้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

รู้จักพึ่งพาอาศัยกันทั้งขั้นตอนการผลิต การหาปัจจัยช่วยในการผลิต และการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้จำหน่ายได้มากขึ้น ซึ่งอาจผ่านทางการรวมกลุ่มของเกษตรกรหรืการแลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิต และผลผลิตระหว่างเกษตรกรเอง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา