เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

ทำหมวกใบร่มข้าว

โดย : นางสาววรรณ์ บางพิเชษฐ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-08-11:56:10

ที่อยู่ : 29 ม.3 ต.ท่านา อ.กะปง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

  • ในอดีตคนเฒ่าคนแก่ในอำเภอกะปง ได้ใช้ใบร่มข้าวในการรวบข้าวหลังเก็บเกี่ยว บ้างก็ใช้คลุมกองข้าวเปลือกบนจอมข้าว และยังใช้ในพิธีทำขวัญข้าวอีกด้วย ใบร่มข้าวนี้ ก่อนหน้านั้นถูกเรียกว่า ‘ใบรวบข้าว’ แต่เพี้ยนมาจนเป็นใบร่มข้าวเพราะใช้ปกคลุมกองข้าวนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการนำใบร่มข้าวไปมุงหลังคาบ้านเรือนและขนำ เพราะทนทานกว่าใบไผ่หรือใบจาก ต่อมามีชาวจีนเข้ามาปลูกบ้านสร้างเรือนกันมากมายในอำเภอกะปง อีกทั้งยังได้เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุก ชาวจีนเหล่านั้นได้นำหมวกเปี้ยว ที่เป็นหมวกปีกกว้าง มียอดแหลม ด้านในบุด้วยใบไผ่เข้ามาด้วย และใช้สวมเวลาออกไปทำงานหรือทำเหมืองแร่ ต่อมาก็ได้มีการสืบทอดการทำหมวกเปี้ยวนี้ให้กับภรรยาชาวไทยของตน ทั้งทำไว้ใส่เองและให้แก่คนงานเหมืองแร่ได้ใช้ ชาวบ้านเห็นว่าหมวกทรงจีนนี้สวมใส่ดี จึงได้ทำต่อกันเรื่อยมา 
  • แต่หมวก หรือหลังคาที่ทำจากใบไผ่ มีอายุใช้งานไม่ยาวนานนัก เพียงไม่กี่เดือนก็แห้ง แตก และพังในที่สุด ชาวบ้านจึงลองหาใบไม้อื่น ๆ มาทำหมวก และมุงหลังคา จนไปเจอใบร่มข้าว ซึ่งเป็นพืชในท้องถิ่นและมีอยู่มาก จึงได้ทดลองนำมาใช้งาน ปรากฏว่าทนทานกว่าใบไผ่มาก หมวกใบร่มข้าวจึงเป็นที่รู้จักนับตั้งแต่นั้นมา 

วัตถุประสงค์ ->

  • เริ่มจากการเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมด คือใบร่มข้าว ต้องลอกแกนใบด้านหลังออกเสียก่อน นำไปตากแดด แล้วนำมาเก็บไว้ในถุงดำ เพื่อยืดอายุใบร่มข้าว โดยใบที่แห้งดีจะสามารถเก็บไว้ได้นาน 2-3 ปี หรืออาจจะนานถึง 5 ปี ต่อมาจึงเตรียมเหลาไม้ไผ่ และหวาย ซึ่งก็ต้องเหลาให้ไร้เสี้ยนจริง ๆ ลูบแล้วไม่บาดมือ ขั้นตอนในการเหลานี้ใช้เวลาค่อนข้างนาน เพราะชาวบ้านต้องนั่งเหลาด้วยมือทีละเส้น งานนี้จึงรีบร้อนไม่ได้ 
  • เมื่ออุปกรณ์ครบ จึงเริ่มสานโครงหมวกด้วยตอกไม้ไผ่ หมวก 1 ใบ จะใช้โครงไม้ไผ่ 2 อันมาซ้อนกัน และทั้ง 2 อันก็จะต้องเท่ากัน หากไม่มีสมาธิอาจสานออกมาไม่เท่ากัน หรือหากสานผิด ก็ต้องรื้อ แล้วสานใหม่ทันที
  • หลังจากได้โครงหมวกทั้งด้านบน และด้านล่างแล้ว ก็นำใบร่มข้าวที่ตากแห้งไปแช่น้ำ ให้ใบกลับมาอ่อนนุ่มเหมือนเดิม แล้วนำมาเรียงลงไปด้านในของหมวก ซึ่งหมวกใบขนาดมาตรฐานจะใช้ใบร่มข้าวจำนวน 35 ใบ แล้วนำโครงหมวกอีกอันมาซ้อนทับและร้อยด้วยหวาย
  • จากนั้นตกแต่งยอดหมวกและรายละเอียดอื่น ๆ ก็จะได้หมวกใบร่มข้าวไว้สวมใส่ หรือจะเอาไปทำโคมไฟ หรือของตกแต่งบ้านเก๋ ๆ ก็ได้ 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา