เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย

โดย : นายสมบูรณ์ ผิวเงิน ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-15-11:05:12

ที่อยู่ : บ้านหนองยู ม.6 ต.โนนค้อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านหนองยูเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนอื่น ชาวบ้านบ้านหนองยูจึงจำเป็นต้องพึ่งพาหาเลี้ยงชีพ ผลิตอาหารด้วยตนเอง พึ่งพาตนเอง การเพาะธ์เห็ดฟางกองเตี้ยเริ่มจากการที่เคยซื้อกินเเล้วลองศึกษามาเพาะธ์เอง เพื่อลดรายจ่ายเเละเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

1. เตรียมแปลงเพาะปลูก

1.1 โดยขุดตากดินยกแปลงเพื่อฆ่าเชื้อโรคตากทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ย่อยดินให้ละเอียด ขนาดของแปลงเหมือนแปลงปลูกผัก กว้าง 1 เมตร ยาวตามความต้องการ

2. ทำการหมักฝุ่นมูลสัตว์

1.นำมูลสัตว์ แห้ง 8 ถุง ปุ๋ย เทลงใส่ ผ้าเต้น ผ้ากระสอบ

2. นำกากน้ำตาล 8 กิโลกรัม ละลายน้ำและรดให้ทั่ว

3.นำปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยตรากระต่าย รวมกัน 7 กิโลกรัม ละลายน้ำและรดให้ทั่ว

5.นำจอบมาคลุกให้ฝุ่นเปียกพอประมาณ และทิ้งไว้ 7 วันรวมทั้งหาที่ปิดฝุ่นให้สนิทป้องการละเหยของน้ำ (จะทำการหมักฝุ่นมูลสัตว์พร้อมกันกับการเตรียมแปลง)

3.การเหยียบกากมัน

 

3.1 หลังจากเตรียมแปลงเสร็จแล้วก็ทำการรดน้ำก่อนเหยียบกากมัน

3.2 ทำการตักกากมันใส่ถัง (ขึ้นอยู่กับอากาศถ้าหน้าร้อนก็ลดปริมาณลงถ้าหน้าหนาวก็ใส่เกือบเต็มถัง)

3.3 นำกากมันมาบรรจุในไม้แบบอัดเป็นแท่งพอแน่นจากนั้นถอดไม้แบบ แล้วอัดแท่งกากมันเรียงในแปลงที่เตรียม ไว้ห่างกันแต่ละแท่ง 10-15 ซม. จะได้ 7 ก้อนต่อ 1 แปลง (ถ้าอากาศเย็นให้ห่างกันน้อยถ้าอากาศร้อนให้ห่างกันมากขึ้น ) ขณะอัดแท่งกากมัน ถ้าแห้งให้รดน้ำพอชุ่มไม่ให้แท่งพังแตก

3.4หลังจากเหยียบกากมันเสร็จได้ 1 แปลง เราก็นำดินมาโรยบนก้อนกากมันให้ทั่ว (วิธีนี้จะช่วยให้เห็ดออกข้างบนก้อนได้ตอนตอแรกของเห็ด ถ้าเราไม่ใส่เห็ดจะไม่ออกดอกข้างบนก้อนกากมันเพราะบนกากมันมีความร้อนมากแล้วจะออกดอกตอนตอสอง) ต่อไปก็ทำการรดน้ำให้เปียกและนำผ้ายางมาคลุมพร้อมรดน้ำข้างบนผ้ายางเพื่อป้องกันลมพัดผ้ายาง

4.วิธีการเตรียมเชื้อเห็ด

4.1นำเชื้อเห็ดฟางมายีให้มันแตกออกจากก้อน  มี 4 สายพันธ์ 3a,สมในนึก,เพชรวิหาร,สระบุรี

 

4.2 หลังจากยีเชื้อเห็ดเสร็จ แล้วก็จะนำอาหารเสริมเชื้อเห็ด(สูตรสำหรับเพราะเห็ดเฉพาะ) 1 ถุงจะผสมกับก้อนเชื้อเห็ดที่ยีแล้วได้ 32 ก้อน ,ปูนขาว 1 กิโลกรัม ต่อก้อนเห็ด 32 ก้อน ,ลำอ่อน 2 กิโลกรัม ต่อก้อนเห็ด 32 ก้อน แล้วก็ผสมให้เข้ากัน

4.2เมื่อเราผสมเชื้อเห็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็นำเชื้อเห็ดมาชั่งให้ได้ถุงละ 1.5 กิโลกรัม  เพื่อจะนำไปหว่านในแปลงที่เราเตรียมไว้ แล้ว 1 แปลง จะใช้เชื้อเห็ด 1 ถุง

5.การเตรียมแปลงหว่านเชื้อเห็ด

5.1 นำปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 จำนวน 2 กิโลกรัม และปุ๋ยตรากระต่าย 15-15-15 จำนวน 3 กิโลกรัม นำมาผสมกันแล้วนำมาหว่านลงในแปลงตามช่องรอบๆแท่นบล็อก ปุ๋ย 5 กิโลกรัมนี้หว่านได้ทั้งหมด 40 แปลง

5.2 นำปุ๋ยอินทรีย์ 1 ถัง ที่เราได้หมักไว้มาหว่านทับปุ๋ยเคมีอีกรอบเพื่อเป็นการให้อาหารกับเห็ดและ

ทำการรดน้ำทั้งแปลงใช้ชุ่ม

5.3 นำเชื้อเห็ด 1.4 กิโลกรัม มาหว่านลงในแปลงเห็ดให้ทั่วและรดน้ำตามอีกลอบหนึ่งรดให้ชุ่ม

(ไม่แนะให้หว่านเชื้อเห็ดตอนมีแสงแดดร้อนจัดเพราะจะทำให้เชื้อเห็ดตายได้)

5.4 รดน้ำเสร็จก็คลุมแปลงเห็ดด้วยพลาสติกให้ชิดกองใช้พลาสติก 2 ผืนกลบชายพลาสติกด้วยดินให้สนิทแล้วจึงนำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตีและลดน้ำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แล้วปล่อยทิ้งไว้ 3 วัน

6.ขั้นตอนนี้เป็นการตัดเส้นใยก้อนเห็ด

 6.1เส้นใยเห็ดจะเดินขาวฟูในกองให้ทำการตัดใย โดยใช้น้ำสะอาดรดบางๆ พอเส้นใยขาด

6.2 นำกากน้ำตาล จำนวน 8 กิโลกรัม,ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 จำนวน 1 กิโลกรัม ,ทุ่งเศรษฐี จำนวน 2 ถุง

ถุงละ 1 กิโลกรัม ,ไบโอคิง สูตร เชื้อเดินดีออกดอกดอกไวดอกเห็ดมา 1 ขวด และ ไบโอคิง สูตร เห็ดโตไวดอกใหญ่น้ำหนักดี 1 ขวด นำอาหารเสริมเห็ดที่ได้มานำไปละลายน้ำ แล้วนำใส่บัวรดน้ำบางๆ จนทั่วทั้งแปลง ครบ 40 แปลง

6.3 เมื่อรดน้ำเสร็จก็นำไม้ไผ่มาทำเป็นโคลงเป็นรูปโค้งในแปลงแล้วคลุมแปลงเห็ดด้วยพลาสติกให้ชิดกองใช้พลาสติก 2 ผืนกลบชายพลาสติกด้วยดินให้สนิทแล้วจึงนำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตีและลดน้ำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
6.4ปล่อยให้เชื้อเห็ดเดินใช้เวลาประมาณ 3 วัน เราก็เปิดผ้ายางพลาสติกอีกครั้งเพื่อรดน้ำให้ชุ่ม ขั้นตอนนี้เป็นการตัดเส้นใยก้อนเห็ดไม่ให้จับกันเป็นก้อน แล้วใช้ก้อนฟางมัดเป็นก้อนนำไปไว้บนหลังแปลงเห็ดฟางสามจุด มีจุดหัวแปลง จุดกลางแปลงและจุดท้ายแปลง เปิดผ้าพลาสติกเป็นสามรูยัดก้อนฟางใส่ตามรูเพื่อช่วยระบายความร้อนหรืออีกทางหนึ่งก็คือนำก้อนฟางมัดเป็นก้อนใหญ่ๆ นำมาวางขั้นขอบแปลงเพื่อเป็นการเปิดอากาศได้เช่นกัน(วิธีนี้เรียกว่าเปิดอากาศเห็ดฟาง)
6.5หลังจากเปิดอากาศเห็ดฟางใช้เวลาเพียง 5-7 วัน เห็ดฟางก็เริมเกิดเป็นสีขาวๆเหมือนกับเม็ดโฟมอีกไม่กี่วันก็สามารถเก็บผลผลิตขายได้ (สีของเห็ดจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศถ้าเห็ดถูกแสงแดดมากก็จะเป็นสีดำถ้าไม่ถูกแสงแดดเลยก็จะมีสีขาว)

7.เก็บผลผลิต

7.1เมื่อกองฟางเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นเห็ดต่อไป เกษตรกรจะเริ่มเก็บเห็ดได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่ความร้อน และการที่จะเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อน ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเห็ด นอกจากนั้นถ้าใส่อาหารเสริมด้วยแล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับ ทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวาเล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน ในกรณีที่ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นหัวแป้นอยู่ ก็ควรรอไว้ได้อีกวันหนึ่งหรือครึ่งวัน แต่เมื่อดอกเห็ดมีลักษณะหัวยืดขึ้นแบบหัวพุ่ง ก็ต้องเก็บทันที มิฉะนั้นดอกเห็ดจะบานออก ทำให้ขายไม่ได้ราคา การเก็บผลผลิตขายได้ ในช่วงแรกจะสามารถเก็บเห็ดขายได้ 2-3 วัน

7.2 เก็บรอบแรกเสร็จเกษตรกรควรจะใส่ปุ๋ยยูเรียเพิ่ม รดน้ำอีกรอบ ก่อนจะปิดไว้เหมือนเดิม ปล่อยทิ้งไว้ 7 วัน สามารถเก็บเห็ดฟางได้อีกครั้งเป็นรอบที่ 2 และผลผลิตรอบนี้จะมากกว่ารอบที่ที่ผ่านมา

8.การให้น้ำแก่ดินและรดน้ำเห็ดฟาง

การคลุมกองและไม่รดน้ำไปที่กองนั้น มีหลายแห่งที่นิยมปฏิบัติอยู่ แต่ให้กองฟางได้รับความชุ่มชื้น โดยการรดน้ำลงไปที่ดิน หรือถ้ามีจำนวนมากก็ฉีดน้ำพ่น เพื่อให้น้ำลงไปเปียกที่ดิน น้ำจะระเหยจากดินออกมา แล้วถูกพลาสติกภายในเก็บเอาความชื้นเอาไว้ เป็นไอน้ำทำให้มีความชุ่มชื้นเพียงพอ ความชุ่มชื้นพอแต่การคลุมตลอดอย่างนั้น อาจจะทำให้การถ่ายเทอากาศไม่ดี เมื่อถ่ายเทอากาศไม่ดี คาร์บอนไดออกไซด์มาก ถ้าประกอบกับความร้อน ก็จะทำให้ดอกเห็ดที่เกิดภายในวันที่ 6-7 นั้น บานเร็วขึ้น(ให้น้ำตอนอากาศเย็นจะดีที่สุด)

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ดี
-ต้องถ่ายทอดให้เข้าใจ

อุปกรณ์ ->

วัสดุมีกลิ่นหอม ควรระวังสัตว์อื่นๆเข้ามาทำลายกองเห็ด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรหมั่นดูเเลเเละเช็คอุณหภูมิอยู่เสมอ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา