เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการร้อยมาลัยดอกไม้สด

โดย : นางบังออน ลาลี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-10-09:56:13

ที่อยู่ : 13 ม.1 ต.โนนรัง อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มาลัย   หมายถึง   ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง  โดยการนำดอกไม้  กลีบดอกไม้  ใบไม้ และส่วนต่าง ๆ  ของดอกไม้ที่ร้อยได้  มาร้อยเป็นพวง  มีลักษณะต่าง ๆ กันมากมายหลายแบบ  ตั้งแต่แบบดั่งเดิมจนถึงแบบสมัยใหม่  ซึ่งก็ดัดแปลงมาจากแบบดั่งเดิมนั่นเอง

วัตถุประสงค์ ->

1. คัดเลือกดอกหรือกลีบดอกให้ขนาดเท่าๆ กัน

2. การส่งกลีบหรือก้านดอก จะต้องให้ยาวเท่าๆ กันทุกกลีบ หรือทุกดอกทั้งในแนวเดียวกันและระหว่างแถวด้วย เพื่อให้มาลัยที่ร้อยเสร็จแล้วนั้นมีสัดส่วนและรูปทรงที่สวยงาม ดังนั้นในการร้อยดอกไม้แต่ละดอกหรือแต่ละกลีบ ควรจะต้องวัดก้านก่อนแทงใส่เข็ม

3. ร้อยแถวแรกหรือชั้นแรกให้เป็นวงกลมจัดระยะห่างแต่ละกลีบให้เท่ากัน โดยเริ่มร้อยกลีบแรกเรียงจากซ้ายวนไปทางขวา ( ตามเข็มนาฬิกา) จนครบจำนวนกลีบตามต้องการ

 4. ร้อยแถวที่ 2 โดยวางกลีบให้สับหว่างกับกลีบในแถวแรกทุกกลีบ จนครบจำนวนกลีบเท่ากับแถวที่ 1
และแถวต่อๆ ไปก็ทำเช่นเดียวกัน ข้อควรระวัง คือทุกๆ แถวจะต้องมีจำนวนกลีบเท่ากัน
และสับหว่างกันทุกแถวด้วย ถ้าแถวใดจำนวนกลีบลดน้อยลงหรือเพิ่มขึ้นแสดงว่าจะต้องร้อยสับหว่างผิด

5. มาลัยกลมแบบไม่มีลายร้อยเรียงวนโดยรอบเข็มควรจัดระยะห่างแต่ละกลีบให้เท่ากัน เมื่อร้อยครบจำนวนกลีบในแถวที่ 1 ตามต้องการแล้วก็เริ่มร้อยแถวที่ 2 โดยกลีบแรกของแถวที่ 2 นี้จะต้องอยู่ระหว่างกลีบสุดท้ายและกลีบที่ 1 ของแถวที่ 1 และกลีบต่อๆ ไปก็ร้อยให้สับหว่างเช่นกันทุกแถวและจำนวนกลีบของแต่ละแถวก็ต้องเท่ากันด้วย

 6. มาลัยกลมแบบมีลาย ถ้าลายด้านเดียวจะขึ้นต้นจำนวนกี่กลีบก็ได้ แต่ถ้าเป็นมาลัยกลมแบบมีลายสองด้าน

จะต้องขึ้นจำนวนกลีบคู่เสมอ นิยมขึ้น 8 หรือ 10 กลีบ หรือมากกว่านั้น
( ถ้าเป็นมาลัยที่มีขนาดใหญ่) วิธีการร้อยก็เรียงวนโดยรอบเข็มเช่นกัน พอถึงลวดลายก็ร้อยกลีบที่มีสีต่างไปจากสีกลีบที่ร้อยเป็นพื้นอยู่เดิมแล้วนั่นเอง จะร้อยลายอะไรนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการหรือเห็นว่าสวยงามเหมาะสมเป็นสำคัญ

   เมื่อร้อยมาลัยครบทุกส่วนแล้วจึงนำส่วนประกอบต่าง ๆ  นั้นมาผูกมัดเข้าด้วยกันจนกระทั่งสำเร็จเป็นพวงที่สมบูรณ์  ซึ่งมีหลักทั่วไปดังนี้

        1.สำรวจและตกแต่งตัวมาลัยให้เรียบร้อย

         2.ผูกอุบะกับตัวมาลัย

         3.ผูกมาลัยซีกปิดรอยต่อระหว่างอุบะกับมาลัย

         4.ผูกมาลัยกับริบบิ้น ( ถ้าเป็นมาลัยที่ผูกกับริบบิ้น  เช่น  มาลัยสองชาย  มาลัยชายเดียวผูกกับริบบิ้นสำหรับถือ และมาลัยชำร่วย )

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

ควรมีการใส่ถุงมือในการร้อยเนื่องจากยางของดอกไม้บางชนิดมีพิษ ทำให้มีพุพองได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ความสดของดอกไม้

         ดอกไม้และใบไม้ที่ใช้ในการร้อยมาลัย  ควรต้องสดและใหม่อยู่เสมอ  ควรได้รับการดูแลรักษาที่ดีอย่างถูกต้องตามธรรมชาติของดอกไม้ชนิดนั้น ๆ ด้วย  ควรหลีกเลี่ยงการจับต้องอย่างแรง  และในระหว่างการร้อยมาลัยนั้นก็ควรจับต้องดอกไม้  ใบไม้อย่างเบามือ  เพื่อจะได้ไม่เกิดรอยช้ำเหี่ยวเฉาง่าย  สามารถจะคงความสดสวยอยู่ได้นานเท่าที่ควร an>

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา