เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทอผ้า

โดย : นางยุริวรรณ โสมอินทร์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-07-11:13:27

ที่อยู่ : 112 หมู่ที่ 2 ต.โนนรัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผ้าพื้นบ้าน ผ้าทอด้วยกี่หรือหูกพื้นบ้าน ตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มักทอด้วยฝ้ายหรือไหม ผ้าพื้นบ้านหรือผ้าทอมือมีกรรมวิธีการทอต่างๆกัน เช่น ทอเรียบๆไม่มีลาย เรียกผ้าพื้น ทอเป็นลวดลายเรียก ผ้ายก ทอเป็นลวดลายด้วยการจก เรียก ผ้าจก ผ้าทอเป็นลวดลายโดยการขิด เรียก ผ้าขิด ทอเป็นลวยลายด้วยการมัดย้อม เรียก ผ้ามัดหมี่ เป็นต้น 
           ผ้าพื้นบ้านของไทยในภาคต่างๆ มีกรรมวิธีการย้อม การทอสอดคล้องกับขนบประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งมีรูปแบบและการใช้สอยต่างๆกัน เช่น ผ้าซิ่น ผ้าเบี่ยง ผ้าหม่ ผ้าปูที่นอน ผ้าขาวม้า ย่าม และ ตุง เป็นต้น

ผ้าพื้นบ้านไทย (ภาคอีสาน)

กลุ่มอีสานเหนือ

เป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่มีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและยังมีกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ข่า ผู้ไท โส้ แสก กระเลิง ย้อ ซึ่งกลุ่มไทยลาวนี้มีความสำคัญยิ่งในการผลิตผ้าพื้นเมืองของอีสานส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฝ้ายและไหมแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการนำเอาเส้นใยสังเคราะห์มาทอร่วมด้วยผ้าที่นิยมทอกันในแถบอีสานเหนือคือผ้ามัดหมี่ ผ้าขิดและผ้าแพรวา

ผ้าขิด หมายถึงผ้าที่ทอโดยวิธีใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิดซ้อนเส้นยืนขึ้นตามจังหวะที่ต้องการเว้นแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งให้เดินตลอดการเว้นเส้นยืนถี่ห่างไม่เท่ากันจะทำให้เกิดลวดลายต่างๆ ทำนองเดียวกับการทำลวดลายของเครื่องจักสานจากกรรมวิธีที่ต้องใช้ไม้เก็บนี้จึงเรียกว่า การเก็บขิด

วัตถุประสงค์ ->

กรรมวิธีในการทอผ้าลายขิด 
      วิธีทอผ้าเก็บขิดหรือเก็บดอก นี้ ชาวพื้นเมือง เรียกว่า " การทอผ้าเก็บขิด " การทอผ้าขิดเก็บดอกเช่นนี้ ต้องมีไม้ค้ำอันหนึ่งกว้างประมาณ 4 นิ้ว ยาวขนาด 2 ศอก เป็นไม้บาง ๆ และมีไม้ขนาดเล็ก ๆ เป็นไม้สอดใช้สำหรับเก็บขิดให้เป็นลายต่าง ๆ ในบางครั้งก็อาจใช้ไม้เก็บขิดนี้ 30-40 อันก็มี แล้วแต่ความยากง่ายของลาย ฉะนั้นถ้าหากว่าใช้ไม้เก็บขิดจำนวนมากจะทำให้ทอได้ช้ามาก เพราะต้องเก็บดอกทีละเส้น ๆ จนหมดตามลวดลายที่กำหนดไว้

วิธีการเก็บขิดเพื่อสร้างลวดลายในประเทศไทยมี 3 วิธี คือ
      1. คัดไม้ขิดโดยไม่มีการเก็บตะกอ วิธีการเก็บขิดแบบนี้เหมาะสำหรับการทอลวดลายที่ไม่ซับซ้อนมาก และต้องการเปลี่ยนลวดลายบ่อย ๆ ไม้ขิดที่เก็บลวดลายจะเรียงกันไปตามลำดับบนเครือเส้นยืนซึ่งอยู่ด้านหลังฟืม
      2. เก็บขิดเป็นตะกอลอย การเก็บขิดวิธีนี้ ต้องผ่านการคัดไม้ขิดแบบแรกเสียก่อน เสร็จแล้วใช้ด้ายเก็บลายตามไม้ขิดที่คัดไว้ทุกเส้น เรียกว่า เก็บตะกอลอย วิธีนี้สะดวกกว่าวิธีแรกคือไม่ต้องเก็บ ขิดทุกครั้งในเวลาทอ แต่ใช้วิธียกตะกอลอยไล่ไปแต่ละไม้จนครบ วิธีการนี้ทำให้ทอลวดลายซ้ำ ๆ กันได้ โดยไม่ต้องเก็บลายใหม่ทุก ๆ ครั้งเหมือนวิธีแรก แต่ถ้ามีจำนวนตะกอมาก ๆ ก็ไม่เหมาะสมกับวิธีการนี้เช่นกัน
      3. เก็บตะกอแนวตั้ง การเก็บตะกอแนวตั้ง พัฒนาจากแบบการเก็บขิดดั้งเดิมให้ทอได้สะดวกรวดเร็วขึ้นสามารถทำลวดลายที่ซับซ้อนและมีจำนวนตะกอมากๆได้
      ผ้าขิดส่วนใหญ่ใช้เส้นใยฝ้ายมากกว่าเส้นใยไหม โดยทอเป็นผ้าขิดสำหรับใช้สอย เป็นหมอนผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ผ้าคลุมไหล่ ผ้าห่อคัมภีร์ และผ้าม่าน นอกจากนี้ยังมีการทอทอผ้าลายขิดด้วยฟืมหน้าแคบ เพื่อใช้เป็นหัวซิ่นและตีนซิ่นอีกด้วยโดยลักษณะลวดลายและการใช้สอยจะแตกต่างไปตามเอกลักษณ์ของกลุ่มวัฒนธรรม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความมุ่งมั่นที่จะสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

อุปกรณ์ ->

ต้องมีการศึกษาอย่างละเอียด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วัตถุดิบในการทำต้องมีคุณภาพ  เพื่อให้เกิดความสวยงาม และการทอต้องอาศัยความประณีต

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา