เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกมะนาวนอกฤดู

โดย : นายเด่นชัย ครองยุติ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-31-08:32:45

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 10ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มะนาว เป็นพืชที่เราได้ยินกันบ่อยและมีความนิยมอย่างมากของเกษตรกรที่จะปลูกมะนาวนอกฤดูเพราะว่าช่วงที่มะนาวขาดตลาดในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนซึ่งเป็น 2 เดือนที่มะนาวจะขึ้นราคาช่วงนี้มะนาวจะตกลูกละ 7 บาท ลองคิดเล่นๆ นะครับว่าถ้าเราปลูกมะนาวเพียงต้นเดียว และมีผลผลิตต้นละ 300 ลูก ก็สามารถที่จะสร้างรายได้กว่า 2000 บาท

วัตถุประสงค์ ->

อย่างแรกเราต้องวางแผนการปลูกซึ่งการที่เราจะปลูกมะนาวนอกฤดูได้นั้นเราต้องเริ่มทำนอกฤดูตั้งแต่กันยายน โดยมะนาวที่สามารถทำได้ควรเป็นมะนาวที่มีอายุอย่างน้อย 2 ปีครับ โดยทั่วไปแล้วมะนาวเดือนนับจากที่ออกดอก ถ้านับเดือนย้อนไปเพื่อให้มีมะนาวขายเดือนมีนาคม เมษายน จะต้องปลูกในเดือนตุลาคม แต่การปลูกในเดือนตุลาคมนั้นจะประสบปัญหากับสภาพอากาศแปรปรวน ซึ่งทำให้ดอกมะนาวร่วงได้ง่าย หลังจากมีการพิสูจน์และทดลองกันแล้วเดือนที่เหมาะสำหรับการทำมะนาวนอกฤดูมากที่สุดก็คือเดือนกันยายน เมื่อถึงเดือนมกราคม มะนาวจะได้ 3 เดือนมีความแข็งแรงมากพอ ดอกจึงไม่ร่วงเลยแต่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาตามมาการปลูกตั้งแต่เดือนกันยายนนั้น มะนาว จะสุกก่อนถึงเดือนมีนาคม มะนาวจะสุกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เราจึงต้องมีการแก้ไขด้วยการยืดเวลาให้มะนาวสุกช้าลงด้วยการใช้ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนทำสาวให้กับมะนาว ร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงทางดิน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

มะนาวช่วงที่แพงที่สุดก็คือช่วง มีนาคม เมษายน

ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ควรที่จะเริ่มลองจากการอดน้ำก่อน จากที่ผมทดลองโดยที่ไม่ได้ใช้ฮอร์โมนทำสาวให้กับมะนาว เมื่อมะนาวอดน้ำแล้วดอกก็จะออกเหมือนกันแต่จะไม่แข็งแรงเท่ากับการใช้ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน

อุปกรณ์ ->

สิ่งสำคัญก็คือการดูแลดอกที่จะติดเป็นลูกในอนาคต

  1. การอดน้ำให้ต้นมะนาวนั้น จะต้องเตรียมอาหารให้มะนาวสะสมให้เพียงพอก่อน เพื่อให้มะนาวออกดอกได้อย่างแข็งแรง โดยในเดือนสิงหาคมให้ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก พรวนดินตัดแต่งกิ่ง ควรที่จะตัดแต่งกิ่งในเดือนกันยายน และมะนาวจะออกดอกในเดือนตุลาคม หลังจากนั้นเดือนธันวาคมให้ฉีดพ่นฮอร์โมนจิลเบอเรลลินเป็นครั้งแรก และฉีดครั้งที่สองในเดือนมกราคาม ครั้งที่ 3 ในเดือนกุมภาพันธ์ ฮอร์โมนนี้ยังช่วยให้มะนาวลูกใหญ่ขึ้นอีกด้วย
  2. การควั่นกิ่ง วิธีนี้ใช้ร่วมกับวิธีการอดน้ำ ในปีที่ฝนหมดช้า แม้เราจะอดน้ำแล้วแต่รากยังดูดน้ำฝนพร้อมกับไนโตรเจนส่งไปที่ใบ ทำให้มะนาวแตกยอดไม่ยอมออกดอก การควั่นกิ่งเลยเป็นการตัดทางเดินอาหารไม่ให้ส่งกลับไปเลี้ยงรากได้ โดยก่อนควั่นกิ่งควรที่จะใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตัวกลางและตัวท้ายสูง เวลาควั่นก็ให้ควั่นเพียงกิ่งละรอยเท่านั้นหลังจากนั้นอีก 10 วันแผลที่ควั่นไว้จะสมานกันเหมือนเดิม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา