เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การสานแห

โดย : นางคำใบ พิมพ์พรม ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-29-13:32:12

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 46 บ้านกระเดียน ม.2 ต.กระเดียน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แห เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาข่ายใช้ทอดแผ่ลงในน้ำ แล้วต้องดึงขึ้นมา เพื่อการยังชีพ หรือเพื่อประกอบอาชีพของคนชั้นล่างของสังคมที่กล่าวเช่นนี้ เพราะยังไม่เคยเห็นคนชั้นสูงหรือคนชั้นกลางใช้แหเพื่อหาปลาเป็นอาหาร หรือหาปลาเพื่อการจำหน่ายเป็นประจำ แต่จะเป็นครั้งคราวของบุคคลชั้นดังกล่าว เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลินในยามว่างหรืออาจจะมีบ้างที่บางคน อดีตเคยเป็นชาวบ้านธรรมดาอยู่ตามชนบท ตอนหลังอพยพเข้าสู่ตัวเมืองและเปลี่ยนอาชีพในสังคมเมือง ฐานะดีขึ้น จึงอยากระลึกถึงอดีตของตัวเองเท่านั้นเอง ดังนั้น แหจึงถือเป็นเครื่องมือเพื่อการยังชีพ หมายถึงใช้จับปลาเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวันและใช้ประกอบอาชีพ คือใช้จับปลาเพื่อการจำหน่าย ของชาวบ้านในชนบทซึ่งเป็นฐานะทางสังคม แหถือเป็น ภูมิปัญญา ของชาวบ้านที่แท้จริง เพราะมันคือส่วนหนึ่งของชีวิต ให้ชีวิตมีห่วงโซ่เรื่องอาหาร และรายได้ในชีวิตประจำวัน แหจึงได้รับการพัฒนาและเอาใจใส่ เริ่มจากการได้รับการถ่ายทอดเบื้องต้นจากบรรพบุรุษ แล้วลองผิดลิงถูกจนเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์เฉพาะตัวของบุคคล ความแตกต่างของความเชื่อ เรื่องแห ทั้งโครงสร้าง ขนาด วิธีทอด วิธีย้อม และวิธีต่างๆ ที่ดีแล้วคล้ายๆกัน แต่ลึกๆแล้วมีหลายอย่างที่แตกต่างกัน ซึ่งก็แล้วแต่ความเชื่อจากวิธีปฏิบัติจริงๆ และได้ผลที่ต่างกันของบุคคล จนกลายเป็นประสบการณ์และภูมิปัญญาของตนเองในที่สุด นี่เองที่นักวิชาการเพิ่งเห็นความจำเป็น เข้าใจและเลือกใช้คำว่า ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน..... 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา