เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทอผ้า

โดย : นางเฉลัยว แดนดี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-29-13:30:32

ที่อยู่ : บ้นเลขที่ 1 บ้านกระเดียน ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในประเทศไทยมีประวัติการทอผ้าใช้กันในหมู่บ้านและในเมืองโดยทั่วไปมาตั้งแต่โบราณกาล แต่การทอผ้าด้วยมือตามแบบดั้งเดิมนั้นก็เกือบจะสูญหายไปโดยสิ้นเชิงหากไม่ได้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาได้ทันกาลทั้งนี้เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเปิดมีการค้าขายกับต่างประเทศมาเป็นเวลานาน สามารถซื้อผ้านอกที่สวยงามแปลกใหม่และราคาถูกได้ง่ายมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์หลังจากที่มีการทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2398 ไทยก็สั่งสินค้าผ้าจากต่างประเทศมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการสำรวจพบว่าไทยสั่งผ้าจากต่างประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปีทำให้สิ้นเปลืองเงินตราปีละมาก  ๆ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดเกล้าฯให้ริเริ่มฟื้นฟูส่งเสริมการเลี้ยงไหมและทอผ้าไทยกันอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2452โปรดฯให้สถาปนากรมช่างไหมขึ้นและโปรดฯให้ตั้งโรงเรียนช่างไหมที่วังสระปทุมซึ่งต่อมาขยายสาขาออกไปยังจังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์ทรงจ้างครูชาวญี่ปุ่นมาสอนชาวบ้านแต่การส่งเสริมได้ผลไม่คุ้มทุนต่อมาจึงเลิกจ้างครูญี่ปุ่นและชาวบ้านก็หันมาทอผ้าตามวิธีพื้นบ้านเช่นเดิม
             เห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ ผ้าพื้นเมืองของไทยในภาคต่าง ๆ กำลังได้รับการส่งเสริมให้นำมาใช้สอนในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวางมากดังนั้นจึงเกิดมีการผลิตผ้าพื้นเมืองในลักษณะอุตสาหกรรมโรงงานโดยมีบริษัทจ้างช่างทอทำหน้าที่ทอผ้าด้วยมือตามลวดลายที่กำหนดให้ โรงงานหรือบริษัทจัดเส้นไหมหรือเส้นด้ายที่ย้อมสีเสร็จแล้วมาให้ทอเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพ บางแห่งจะมีคนกลางรับซื้อผ้าจากช่างทออิสระซึ่งเป็นผู้ปั่นด้ายย้อมสีและทอตามลวดลายที่ต้องการเองที่บ้านแต่คนกลางเป็นผู้กำหนดราคาตามคุณภาพและลวดลายของผ้าที่ตลาดต้องการในบางจังหวัดมีกลุ่มแม่บ้านช่างทอผ้าที่รวมตัวกันทอผ้าเป็นอาชีพเสริมและนำออกขายในลักษณะสหกรณ์เช่นกลุ่มทอผ้าของศิลปาชีพอย่างไรก็ตามในสภาพที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นการทอเพื่อขายเป็นหลัก ดังนั้น จึงได้มีการปรับปรุงพัฒนาสีสันคุณภาพและลวดลายให้เข้ากับรสนิยมของตลาด

 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา