เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทอเสื่อจากใบเตย

โดย : นายธีรวัฌน์ หมีคำ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-19-22:28:49

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาตาล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เดิมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย มีการนำเส้นกกมาทอเป็นของใช้ในครัวเรือน เช่น การทอเสื่อ แต่ละครัวเรือน จะเก็บไว้ใช้เอง ยังไม่มีการจำหน่ายนางฝุ่น  มาโดน มี
ความสนใจและต้องการสืบทอดภูมิปัญญาของท้องถิ่น จึงไปฝึกหัดทอเสื่อจากคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน และนำความรู้ที่ได้มาทอเสื่อไว้ใช้ในครัวเรือน และมีการประยุกต์ทอเสื่อเป็นลวดลายต่างๆ และสีสันที่สวยงาม ให้ทันสมัย จนคนในชุมชนมาซื้อไปเพื่อใช้ในครัวเรือนบ้าง เป็นของฝากให้ญาติพี่น้องบ้าง จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์เสื่อใบเตยที่ผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือนและผลิตไว้จำหน่ายให้คนในชุมชนและนอกชุมชน และมีเพื่อนบ้านใกล้เคียงจากเดิมที่ทอเสื่อไว้ใช้ในครัวเรือนให้ความสนใจและหันมาทอเสื่อใบเตยไว้เพื่อจำหน่าย ปัจจุบันมีการทอเสื่อผืน และประยุกต์เสื่อผืนเป็นเสื่อพับที่สามารถพกพาได้สะดวก

วัตถุประสงค์ ->

1 การซอยเส้นกก/ไหล/ใบเตยหนาม

1. นำกกหรือไหล  ใบเตยหนาม มาซอยออกเป็นเส้นนำไปตากแดดประมาณ 1 อาทิตย์

2.เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสีตามต้องการโดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมีอย่างดี ส่วนมากจะย้อม สีบานเย็น, ชมพู,ม่วง,เขียว

2 การย้อมสี

1. นำกก /ไหล/ใบเตยหนาม แช่น้ำเป็นเวลา 1 คืน เพื่อให้กกอิ่มตัวเมื่อย้อมสีจะทำให้ติดสีได้ง่ายและทั่วถึง

2. ก่อไฟและนำกระทะใส่น้ำ ต้มน้ำให้เดือดจัดในการย้อมแต่ครั้งจะใช้เวลา 5 นาที และควบคุมปริมาณของส่วนผสมให้คงที่ดังนี้

 

1) น้ำเปล่า 2 ลิตร

2) สีย้อมกก 1 ช้อนโต๊ะ

3. เทสีย้อมกก/ ไหล/ ใบเตยหนาม ประมาณ ครึ่ง ช้อนชา ลงในน้ำที่เดือดจัด และใส่เกลือ/ผงซักฟอก ลงประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อให้กกมีสีสดและเป็นเงางาม

4. นำกก ไหล ใบเตยหนาม ที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว ลงไปย้อมในน้ำที่เดือดจัด โดยการม้วนกกให้เป็นวงกลม ค่อยๆ ขดลงในกระทะ ใช้ไม้กดให้กกจมน้ำให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที

5. นำกก /ไหล/ใบเตยหนาม ขึ้นจากกระทะให้ระมัดระวังน้ำเดือด และสีกระเด็นใส่

6. แช่กก/ไหล/ใบเตยหนาม ที่ผ่านการย้อมสีแล้วลงในน้ำสะอาด ประมาณ 5 นาที แล้วนำไปตาก/
ผึ่งลม

2.2.3 การทอเสื่อกก

1. นำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่กี่ทอเสื่อให้เป็นเส้นตามกี่ทอและฟืม

2. นำกกหรือไหล/ใบเตยหนาม ที่ย้อมสีสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับกี่ทอเสื่อ

3. เมื่อสอดกกหรือไหล/ใบเตยหนามเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกันเป็นลายต่าง ๆ

4. จากนั้นก็นำเสื่อที่ทอแล้วมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เสื่อพับ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      นำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชน

2.      เป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

อุปกรณ์ ->

1. มีผู้ผลิตหลายรายในพื้นที่ การแข่งขันสูง จำหน่ายค่อนข้างยาก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา