เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

จักสานกระติ๋บให้ใช้ได้นาน

โดย : นางดวงจันทร์ มากดี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-17-15:39:28

ที่อยู่ : บ้านหนองฮี หมู่ 2 ตำบลห้วยยาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

     เพราะคนในหมู่บ้านชุมชนมีอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ข้าวที่นำมารับประทานเป็นข้าวเหนืยว จึงต้องมีกระติ๋บข้าวเพื่อใส่ข้าวเหนืยว และมีการใช้มาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว ในการทำกระติ๊บข้าวจำเป็นต้องให้มีความ แข็งแรง คงทน สามารถใช้ได้นานหลายปี จึงต้องมีวิธีการทำและเลือกวัสดุส่วนที่ดี  ซึ่งในปัจจุบันคนในชุมชนเด็กสมัยใหม่ไม่ทำกันแล้ว มีแต่ซื้อเอาซึ่งเป็นกระติ๊บที่ไม่มีความคงทน ใช้ได้ไม่นานก็ชำรุด และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ

วัตถุประสงค์ ->

 1. การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน

 2. เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย

3. ส่วนก้นของกระติบข้าวนั้นจะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกันเข้าแล้วผูกติดกับส่วนตัวกระติบ เรียกขั้นตอนนี้ว่า “อัดตุ๋” ซึ่งมีการเย็บอยู่สองวิธีคือ การเย็บโดยใช้หวาย กับเย็บด้วยการใช้ด้ายเย็บ แต่การเย็บด้วยหวายนั้นให้ความสวยงามตามธรรมชาติ และมีความแข็งแรงกว่าการเย็บด้วยด้าย แต่ปัญหาก็คือหวาย จะหายากในปัจจุบัน

     4. ฐานของกระติบ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า “ตีนติบข้าว” เป็นส่วนหนึ่งมี่ต้องรับน้ำหนักและจำเป็นที่จะต้องทำให้แข็งแรง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้ก้านตาลมาเหลาแล้วโค้งให้เป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นกระติบข้าว ก้านตาลที่ใช้จะต้องตรงไม่คดเบี้ยวและมีความยาวประมาณ 1 เมตรขึ้นไป นำก้านตาลที่ตัดได้มาเหลาเอาหนามตาลออก ผ่าตามความยาวของก้านตาล ซึ่งก้านตาล 1 ก้านใหญ่สามารถทำตีนกระติบได้ 1-2 อัน จากนั้นจึงผ่าเกลาให้เรียบเสมอกัน นำมาม้วนแล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 15-20 วันเป็นอย่างน้อย

                 5. ฝากระติบข้าวนั้นจะสานเช่นเดียวกับตัวกระติบเพียงแต่ให้ใหญ่กว่าเพื่อสวมครอบปิดเปิดได้ กระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่ายและมีมอดเจาะ และควรเก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.การฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ

2.การเลือกวัสดุที่แข็งแรงคงทน

อุปกรณ์ ->

1.ใช้ไม้ไผ่แก่เพื่อป้องกันมอดหรือเชื้อราและยืดอายุการใช้งาน

2.ต้องใช้ความละเอียด สวยงาม แข็งแรงคงทน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา