เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การส่งเสริมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่วิถีชีวิต

โดย : นายวิวัฒน์ อาจนาฝาย ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-11-16:28:53

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เบอร์โทรศัพท์ 045-317-124

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมาและถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ       

          ความพอเพียง คือการเดินทางสายกลาง ต้องมีความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัย ภูมิรู้ และภูมิธรรม คือความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน  และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรม  จากโลกภายนอก 

          ส่วนสัมมาชีพ เป็นงานที่ต่อเนื่องจากเศรษฐกิจพอเพียงในส่วนที่ใช้แนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ดำรงตนแล้ว ก็เพิ่มในส่วนของการประกอบอาชีพให้เกิดรายได้ โดยไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย

วัตถุประสงค์ ->

การพัฒนาครัวเรือนให้เป็นครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ต้องเริ่มต้นจากการให้ความรู้ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงจนมีความรู้ มีความเข้าใจ มีภูมิคุ้มกันใสตนเอง มากกว่า ที่จะประกอบอาชีพให้มีรายได้ภายใต้ความเป็นสัมมาชีพ

          เนื่องด้วยสัมมาชีพมาจาก สัมมา และ อาชีพ คืออาชีพที่ชอบหรืออาชีพที่ดี  ดังนั้นการจะเป็นอาชีพที่ดีหรืออาชีพที่ชอบ ต้องเป็นอาชีพที่สุจริต อาชีพที่ไม่เบียดเบียน โดยอาศัยแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง

          การให้ความรู้ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ต้องมีเทคนิคและวิธีการที่ไม่ทำให้น่าเบื่อให้ขาดความน่าสนใจ ต้องไม่พูดถึงเนื้อหาที่ไกลตัวหรือจับต้องยาก หรือการใช้ภาษาวิชาการมากเกินไป ต้องประยุกต์ใช้ เปรียบเทียบจากสิ่งใกล้ตัวให้ผู้รับฟัง หรือชาวบ้านสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อนำไปปรับใช้ ตามศาสตร์ของพระราชา และหลักการทรงงานที่ว่า ทำให้ง่าย

การเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยการยกสถานการณ์โลก ปัจจุบัน เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียนว่าทำไมเราถึงต้องเปลี่ยนแปลง คือการที่แม้แต่เราอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย โลกก็จะเข้ามากระทบกับเราเอง หากเราไม่ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลง เราก็จะอยู่ยากในสถานการณ์โลกปัจจุบัน 

เมื่อนำเข้าสู่การที่เปลี่ยนแปลงแล้ว เราก็เสนอแนวทางที่จะนำไปสู่ความสงบ ความสุข และวิถีการดำเนินแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ได้ โดยการกล่าวถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การยกหลักการทรงงานทั้ง ๒๓ ข้อ

การพูดคุยต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้เสมอ เพราะการมีส่วนร่วมจะทำให้ผู้ถามรับทราบว่าสิ่งที่ถามถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งเป็นการนำให้คนในเวทีอบรม ทราบไปพร้อมๆกัน และเกิดการมีส่วนร่วมจะเกิดการจดจำได้ดีกว่าการบรรยายเพียงอย่างเดียว

ในเนื้องานการพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง ผู้บรรยาย หรือนักพัฒนาชุมชนต้องมีความเข้าใจที่ถ่องแท้ แตกฉานในงานที่ทำ หรือสิ่งที่จะพูด ต้อหาจุดหลัก หรือประเด็นสำคัญให้ชาวบ้านรู้ ปละนำไปใช้ได้ โดยใช้หลัก    3 ส. คือ สนุก สาระ และส่วนร่วม คือต้องให้ความรู้ที่สนุกสนานไม่เคร่งเครียด ต้องมีสาระสำคัญที่สามารถจดจำได้ง่ายและนำไปใช้  และต้องมีส่วนร่วมดังที่ได้กล่าวแล้ว

เมื่อให้ความรู้ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่เข้าใจ จนสามารถนำไปปฏิบัติได้ ก็สนับสนุนในเรื่องสัมมาชีพ โดยการสนับสนุนให้เป็นครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ซึ่งแตกต่างจากครัวเรือนสัมมาชีพ ที่ประกอบอาชีพโดยชอบของตนเอง แล้ว การเป็นครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนหมายถึงเป็นต้นแบบของชุมชนของหมู่บ้านด้วย ดังนั้นครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน นอกจากจะประกอบอาชีพโดยชอบแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่เป็นต้นแบบของคนในชุมชนในการนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การพัฒนาครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต จะประสบผลสำเร็จได้คือการพัฒนาโดยการให้ความรู้ อาศัยหลักการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ให้ใช้กระบวนการพัฒนาชุมชนเป็นสำคัญ เมื่อครัวเรือนใดปฏิบัติสำเร็จเป็นตัวอย่างให้เห็นผลชัดเจน ก็ยกย่องเชิดชู ให้เป็นผู้มีความรู้ พร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ การเชิญให้เป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เกี่ยวข้อง ก็เป็นการยกย่องเชิดชูอีกอย่างหนึ่ง เป็นการสร้างพลังทดแทน ช่วยเหลืองานเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนไปด้วย

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ชุมชนเป็นคนขับเคลื่อน พัฒนาเป็นผู้ชี้นำ สร้างความเชื่อมั่นในวิถีที่ชุมชนทำ ให้ทำในสิ่งที่เชื่อ และทำให้ดีที่สุด ให้ถือเป็นหน้าที่ของชุมชนที่ต้องร่วมมือกันสร้างพลังประชาชน ใช้พลังประชาชน ทำเพื่อประชาชน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา