เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การจักสาน

โดย : นายจำรัส สายโท ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-11-12:47:07

ที่อยู่ : ๑๖ ม.๑ ต.หนองเหล่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันความต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากการตกค้างของสารเคมีในผลผลิต ทําให้เกษตรกรสนใจปลูกพืชตามระบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยหนึ่งในการผลิตพืชระบบนี้ ที่สําคัญคือ ปุ๋ยอินทรีย์ และจากสภาพ

พื้นที่เพาะปลูกบ้านหนองเหล่า  มีสภาพดินเสื่อม      จึงมีเกษตรกรที่สนใจจะพัฒนาที่ดินของตนเอง ประกอร์ปกับหน่วยงานภาครัฐมีการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เองเพื่อปรับปรุงดิน และยังเป็นการลดต้นทุนและใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แบบพึ่งพาตนเอง  โดยหน่วยงาน

ต่าง ๆ  จัดฝึกอบรมการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์,ปุ๋ยหมักจากจากพืช,น้ำหมักชีวภาพจากพืช ผลไม้ หอยเชอรี  ฮอร์โมนต่าง ๆ และสารฆ่าแมลง  เพื่อใช้ในการเกษตร เกษตรกรลดต้นทุนการผลิต และผลผลิตที่มีคุณภาพดี  

วัตถุประสงค์ ->

ปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นวิธีการทำปุ๋ยหมักที่มีการพัฒนาขึ้น เพื่อให้การย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือ EM เพื่อเร่งกระบวนการหมัก ทำให้เกิดปุ๋ยจากอินทรีย์วัตถุที่มีการปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เร็วขึ้น แบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้แก่

1. ปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอก
วัสดุ และส่วนผสม
– ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ประมาณ 10 ปี๊ป
– แกลบเผา/แกลบดำ 1 ส่วน
– รำละเอียด 1 ส่วน
– เชื้อ EM 20 ซีซี
– กากน้ำตาล 100 ซีซี
– น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ
– ผสมปุ๋ยคอก แกลบดำ และวัสดุทุกอย่างให้เข้ากัน
– นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ แล้วใช้ผ้าคลุมหรือหากทำปริมาณน้อย ให้บรรจุใส่ถังหรือถุงกระสอบ
– หมักทิ้งไว้ 30 วัน ก่อนนำใส่ต้นไม้หรือแปลงผัก

2. ปุ๋ยหมักจากพืช
1. ปุ๋ยหมักฟางข้าว
วัสดุ และส่วนผสม
– ฟางแห้งสับละเอียด 1 ส่วน ประมาณ 10 กก.
– แกลบดิบ/แกลบเผา 1 ส่วน
– ปุ๋ยยูเรีย 200 กรัม
– กากน้ำตาล 100 ซีซี
– เชื้อ EM 20 ซีซี
– น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ
– คลุกผสมฟาง และแกลบให้เข้ากัน หากมีจำนวนมากให้แยกคลุก แล้วค่อยมารวมกันเป็นกองเดียวอีกครั้ง
– ผสมเชื้อ EM และกากน้ำตาลร่วมกับน้ำ หลังจากนั้น ใช้เทราด และคลุกให้เข้ากันกับวัสดุอื่นๆ
– นำไปหมักในถัง ถุงกระสอบ หรือ บ่อซีเมนต์ นาน 1-2 เดือน ก็สามารถนำไปใช้ได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1 ลดรายจ่ายภายในครัวเรือน

2 คนในครัวเรือนได้บริโภคผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารเคมี

3 บำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์

อุปกรณ์ ->

1. ห้ามขึ้นเหยียบกองปุ๋ยให้แน่น หรือเอาผ้าคลุมกองปุ๋ย หรือเอาดินปกคลุมด้านบนกองปุ๋ย เพราะจะทำให้อากาศไม่สามารถไหลถ่ายเทได้

2. ห้ามละเลยการดูแลความชื้นทั้ง 2 ขั้นตอน เพราะถ้ากองปุ๋ยแห้งเกินไปจะทำให้ระยะเวลาแล้วเสร็จนานและปุ๋ยอินทรีย์มีคุณภาพต่ำ

3. ห้ามวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไป การวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไปจะทำให้จุลินทรีย์ที่มีในมูลสัตว์ไม่สามารถเข้าไปย่อยสลายเศษพืชได้

4. ห้ามทำกองปุ๋ยใต้ต้นไม้ เพราะความร้อนของกองปุ๋ยอาจทำให้ต้นไม้ตายได้

5. ห้ามระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ย เพราะความร้อนสูงในกองปุ๋ยจะช่วยให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีมากขึ้น และยังช่วยให้เกิดการไหลเวียนของอากาศผ่านกองปุ๋ยอีกด้วย

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1 หน่วยงานควรให้การสนับสนุน และมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง

2 ประชาชนยังไม่ให้ความสนใจในการใช้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยชีวภาพ เท่าที่ควร (สนใจเฉพาะช่วงของการอบรม หรือมีงบประมาณให้)

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา