เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

จักสาน

โดย : นางวิไร เฟื่องน้อย ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-10-14:01:54

ที่อยู่ : ๑๔๘ ม.๖ ต.โนนสวาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตสมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกค์ทำเป็นเครื่องมือใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต

จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและมีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง การเรียนรู้ต่างๆ อาศัยวิธีการฝึกหัดและบอเล่าซึ่งไม่เป็นระบบในการบันทึก สะท้อน ให้เห็นการเรียนรู้ ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกระบวนการถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำภูมิปัญญาท้องถิ่น นั้นคงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืน

 

วัตถุประสงค์ ->

1.จักตอกให้เป็นเส้นแล้วแต่ว่าจะให้เป็นเส้นอย่างตามที่จะจักสานภาชนะชนิดใด เช่นกระบุ่ง ตะกร้า ข้อง เปล ซึ่งเส้น(ตอก) ก็จะมีรูปร่างไม่เฉพาะ ภาชนะนั้น เป็นต้น

2.การสาน ตามรูปแบบภาชนะที่จะสาน เช่น ข้อง ตะกร้า เปล กระบุ่ง เป็นต้น

3.การสาน กรณีมีลวดลายก็จะแทรกลวดลายใส่เข้าไปด้วย

4.การตัดขอบกรณีเื่อสานเสร็จ เป็นการตกแต่งเก็บความเรียบร้อย โดยใช้หวาย ขัด มัดให้แน่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เพื่อใช้ในครัวเรือน

2.เพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้

3.เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

อุปกรณ์ ->

1.การเลือกไม้ไผ่ต้องไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป

2.ทุกเส้นการจักสานต้องแน่นและสม่ำเสมอ

3.ขั้นตอนสุดท้ายคือการมัดด้วยหวายและเก็บความเรียบร้อย จะต้องทำอย่างพิถีพิถัน ปราณีต เพื่อการใช้งานที่คงทน

 

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา