เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์สัมมาชีพชุมชน

โดย : นายอนุชา อุ้ยเส้ง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-07-06:12:42

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ภายใต้ทิศทางการพัฒนาประเทศ “ไทยแลนด์ 4.0” โจทย์สำคัญของรัฐบาลคือการมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก  ซึ่งก็คือการมุ่งยกระดับรายได้ของชุมชนให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยการส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรมและมั่นคง จึงเป็นที่มาของโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและรายได้ หัวใจสำคัญของโครงการคือการดึงเอาองค์ความรู้ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบสัมมาอาชีพ มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับของชุมชนหรือเรียกว่า “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” มาถ่ายทอดองค์ความรู้ฝึกทักษะให้กับผู้ที่สนใจและมีความตั้งใจ หรือเรียกว่า “ตัวแทนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” เมื่อตัวแทนครัวเรือนฯ มีความรู้และเกิดทักษะความชำนาญ นำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน  ที่จะเป็นกระบวนการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานที่จะก่อให้เกิดผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของกลุ่ม แน่นอนว่าผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์เหล่านั้นบางส่วนต้องมีการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม ดังนั้นการส่งเสริมช่องทางการตลาดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้การดำเนินงานครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง(การผลิต) กลางทาง(การแปรรูป) และปลายทาง(การตลาด) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จึงได้มีแนวทางในการส่งเสริมช่องทางการตลาดโดยอาศัยจุดแข็งและศักยภาพของพื้นที่อำเภอ โดยการจัดทำโครงการสร้างสถานที่จำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่จะออกมาจากกลุ่มอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพ เป็นการสร้างแรงจูงใจและหลักประกันความยั่งยืนของกลุ่ม

วัตถุประสงค์ ->

- การดึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

- การดึงเอาจุดแข็งและศักยภาพของพื้นที่ในด้านการท่องเที่ยวมาช่วยเสริมเรื่องการตลาดให้กับกลุ่มสัมมาชีพ

- กลุ่มชุมชนเกิดประโยชน์โดยตรงสามารถจับต้องได้ เกิดรายได้ทุกวัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- เพื่อเป็นตลาดกลางในการรับซื้อและจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่

          - เพื่อเป็นจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนจากผู้ผลิตผู้ประกอบการโอทอปและกลุ่มอาชีพจากหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชนอำเภอน้ำยืน

          - เพื่อพัฒนาเป็นจุดบริการและบริหารการท่องเที่ยวอำเภอน้ำยืน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

- ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจและหารือร่วมกับทุกภาคที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน

- พัฒนาศักยภาพบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการโครงการในด้านต่างๆ ที่จำเป็น ได้แก่ การจัดการผลผลิต การตลาด การเงิน/บัญชี โดยการฝึกอบรมหรือการศึกษาดูงานกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งการกำหนดรูปแบบแนวทางในการบริหารจัดการ การตั้งคณะทำงาน ที่ปรึกษา และการวางกฎระเบียบในการดำเนินงาน

          - จัดสร้างสถานที่รับซื้อและจัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน ปรับภูมิทัศน์และจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น เช่น ห้องน้ำ สถานที่จอดรถ เป็นต้น

          -  เปิดดำเนินการรับซื้อและจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

                   1) ผลไม้ตามฤดูกาลจากสวนผู้ผลิต ที่จะเปิดเป็นตลาดกลางในการรับซื้อผลผลิตจากสวนที่เป็นสมาชิก/เครือข่ายในราคาเป็นธรรมและมีมาตรฐานเดียวกัน และจัดจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง

                   2) ผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ จากชุมชน เช่น ผักสวนครัว ผักสมุนไพร เป็นต้น

                   3) ผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป ขนม ของกินของใช้ต่างๆ เป็นต้น

                   4) ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากหมู่บ้านสัมมาชีพและผู้ผลิตผู้ประกอบการโอทอปในพื้นที่อำเภอ    น้ำยืนและเครือข่ายโอทอปในพื้นที่ใกล้เคียง

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา