เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทอผ้าลายขิต

โดย : นางเปลี่ยน แก้วสง่า ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-05-10:24:29

ที่อยู่ : 140/1 หมู่ที่ 6 ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผ้าทอลายขิด

เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผ้าทอลายขิดส่วนใหญ่นิยมใช้วัตถุดิบจากเส้นใยฝ้ายมากเป็นอันดับหนึ่ง และรองลง มาก็คือเส้นใยไหม นำมาทอเป็นเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ ปลอกหมอน ผ้าคลุมไหล่ ผ้าม่าน เสื้อ ผ้าซิ่น กระเป๋า ฯลฯ ซึ่งชาวบ้านหนองผือ ได้มีการทอสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน

1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน  และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะกอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ
ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บในแกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่  ให้พอเหมาะ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

การทอผ้าฝ้ายลายขิต จะต้องใช้ความชำนาญสูง ถ้าทำผิด ก็จะไม่เป็นลวดลายตามที่เราต้องการ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา