เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพสู่การเป็นผู้ประกอบการ OTOP

โดย : นางสาวสุพรรณี แสนเจริญ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-16-13:30:34

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอม่วงสามสิบ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

      ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว  โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้  ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้นการดำเนินการในปี 2560 นี้ จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยการสร้างอาชีพ จึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้

      รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เป็นแนวคิดที่เน้นกระบวนการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ ในแต่ละ   หมู่บ้าน ชุมชนหรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชนได้นำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นไปสู่เมืองใหญ่

      อำเภอม่วงสามสิบ มีหมู่บ้านเป้าหมายสัมมาชีพชุมชนจำนวน 26 หมู่บ้าน บ้านน้ำคำแดง หมู่ที่ 5 ตำบลเตย  เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านเป้าหมายที่ดำเนินการตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน โดยหมู่บ้านสัมมาชีพแห่งนี้มีจุดแข็งคือมีวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นในงานฝีมือแต่มีจุดด้อยคือขาดโอกาสในกาพัฒนาความรู้

วัตถุประสงค์ ->

๑.การคัดเลือกปราชญ์/วิทยากรสัมมาชีพชุมชน ต้องคำนึงถึงองค์ความรู้หรืออาชีพที่วิทยากร จะนำไปถ่ายทอดหรือฝึกอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายว่าเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับครัวเรือนได้จริง 

๒.การคัดเลือกครัวเรือน สัมมาชีพและการเลือกอาชีพให้กับครัวเรือน ต้องคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจของครัวเรือน ว่ามีเงินทุนประมาณเท่าใด มีอุปกรณ์เครื่องมืออะไรบ้าง เมื่อได้รับการถ่ายทอดความรู้แล้วครัวเรือนมีเงินทุนและอุปกรณ์เครื่องมือพอที่จะสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพได้หรือไม่  ปัจจัยการผลิตที่จะนำมาใช้ สามารถหาได้ในท้องถิ่น/ปลูกหามาเองได้มากน้อยเพียงใด ต้องซื้อหามาจากที่อื่นมากน้อยเพียงใด  จำนวนแรงงานและความสามารถของแรงงานในครัวเรือน มีมากน้อยและมีความสามารถด้านใดบ้าง หากมีมากพอจะทำให้ครัวเรือนประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น  แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีในพื้นที่หมู่บ้านตำบลหรืออำเภอหรือไม่ หากประเมินแล้วครัวเรือนมีศักยภาพมากก็จะสามารถส่งเสริมอาชีพให้ประสบความสำเร็จได้มาก หากครัวเรือนมีศักยภาพน้อยก็ต้องพิจารณาอาชีพที่ครัวเรือนทำได้จริงและได้ประโยชน์มากที่สุด หรือใช้การรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตการบริหารจัดการและเงินทุนต่อไป

๓. การรวมกลุ่มอาชีพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการ การผลิตและจำหน่ายโดยรวบรวม  ผู้ที่สมัครใจที่จะรวมกลุ่มกันตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไปโดยใช้หลัก ๕ ก ดังนี้ (๑) กลุ่มสมาชิก ให้มีทะเบียนสมาชิกจะให้มี    ใบสมัครสมาชิกด้วยก็ได้ (๒) กรรมการ ให้มีคณะกรรมการมากน้อยตามสัดส่วนสมาชิกโดยให้มีจำนวนคี่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการกลุ่ม (๓) กองทุน ให้มีการระดมทุน มากน้อยตามที่ตกลงกัน อาจจะเป็นเงินทุนตั้งต้นแล้วค่อยระดมสะสมเพิ่มขึ้นในอนาคตก็ได้ โดยเงินทุนนี้จะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อนำไปจำหน่าย (๔) กติกา ให้มีระเบียบกลุ่ม โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย วัตถุประสงค์ สมาชิก กรรมการ เงินทุน การดำเนินกิจการ การจัดสรรผลกำไร ในระยะเริ่มต้นอาจมีจำนวนข้อไม่มากแต่ให้ครอบคลุมทุกประเด็น เป็นระเบียบที่ทุกคนตกลงร่วมกันทำ (๕) กิจกรรม ต้องเกิดกิจกรรมจากการรวมกลุ่มจริงๆ ไม่ใช่ตั้งไว้เพียงแต่ชื่อ จะมีกิจกรรมแบบรวมทำอยู่ที่จุดเดียวหรือจะใช้การกระจายผลิตที่บ้านของตนเอง แล้วนำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายที่จุดเดียว

๔. ผลิตภัณฑ์ ที่จะเกิดจากการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรสัมมาชีพ หากจะส่งเสริมต่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ต้องคำนึงถึงหลักการตลาด 4P คือ

                    (๑) ผลิตภัณฑ์ (Product) ความต้องการของลูกค้า คุณภาพของสินค้า รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย และสามารถเปรียบเทียบเทียบกับคู่แข่งขันได้หรือไม่

                    (๒) ราคา (Price) การตั้งราคาขายต้องดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ ต้องทำให้ต่อสู้กับคู่แข่งขันได้ในธุรกิจประเภทเดียวกันได้ เช่น กำหนดให้มีส่วนลดเมื่อซื้อตามจำนวน กำหนดราคาตามขนาดและปริมาณของสินค้า โดยคำนึงถึงต้นทุนการผลิตและเมื่อจำหน่ายแล้วต้องมีผลกำไร

                    (๓) ช่องทางการจำหน่าย (Place) จะนำสินค้าของเราไปขายที่ใด มีวิธีการอย่างใดหรือก็คือการนำสินค้าไปให้ถึงมือของลูกค้า โดยยึดหลักความมีประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความปลอดภัย และความรวดเร็ว วิธีขายหรือกระจายสินค้าที่สามารถทำให้เกิดผลกำไรมากที่สุด ต้องกระจายสินค้าให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

                    (๔) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) คือทำอย่างไรให้สามารถขายสินค้าให้ได้มากที่สุด มีอยู่หลายวิธี เช่น การโฆษณาผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อออนไลน์  สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น การทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขาย หรือขายตรงโดยการนำเสนอของกลุ่มเอง

๕. การลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เมื่อครัวเรือนสัมมาชีพได้รับการถ่ายทอดความรู้และนำมาประกอบเป็นอาชีพ ผลิตและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แล้ว จะมีการรวมกลุ่มหรือไม่ก็ตาม ขั้นตอนต่อไปคือนำผลิตภัณฑ์ ขึ้นทะเบียน OTOP โดยนำเอกสาร พร้อมผลิตภัณฑ์ มายื่นลงทะเบียนที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

6. การจำหน่ายสินค้า ครัวเรือนสัมมาชีพสามารถจำหน่ายสินค้าได้ด้วยตัวเองทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด การขายสินค้าออนไลน์หรือจะนำไปฝากขายตามสถานที่ต่างๆ เช่น ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าระดับอำเภอ ระดับจังหวัด หรือจะส่งขายตามร้านค้าทั่วไป เพื่อเป็นการกระจายสินค้าก็ได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน

2.เสริมสร้างกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมติดตาม ร่วมรับผลประโยชน์

3.มีการกำหนดแผนปฏิบัติการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

4.ส่งเสริม สนับสนุน ติดตาม ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ และประเมินผลการดำเนินงาน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา