เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

สานกระติบข้าว

โดย : นางสาคร วงษ์หาญ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-12-15:39:46

ที่อยู่ : 62 ม.8 ต.ท่าโพธิ์ศรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระติบข้าว(หรือก่องข้าวเหนียว) เป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียวทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย ซึ่งชาวอีสานนิยมบริโภคข้าวเหนียว นอกจากจะใส่ข้าวเหนียวเพื่อทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะไม่ติดมือ พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง กระติบข้าวยังสมารถเป็นของฝาก และทำเป็นของชำร่วยได้ด้วยเหตุนี้กระติบข้าวจึงเป็นที่ต้องการของตลาด สามรถสร้างรายได้ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

1.       นำคล้า หรือวัสดุอื่นๆ ตามที่หาได้ มาทำเส้นตอกกว้างประมาณ2-3 ม.ม. ขูดให้เรียบและบาง
2.       นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน
3.       นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา
4.       ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลาย
5.       นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง
6.       ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย
7.       นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว
8.       นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ
9.       นำเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม
10.   เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้
11.   ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน

อุปกรณ์ ->

การจักตอก ต้องมีขนาดความกว้าง ความยาวให้เท่า ๆ กันทุกเส้น เพื่อจะได้กระติบรูปทรงสวยงาม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา