เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาหมอ

โดย : นายประเสริฐ สายโสม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-12-15:04:32

ที่อยู่ : 74 ม.2 ต.ท่าโพธิ์ศรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การพัฒนาคนในชุมนส่วนใหญ่ต้องเริ่มให้มีการพัฒนาจากเศรษฐกิจของชุมชนก่อนอาชีพเสริมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสร้างรายได้ในระดับครัวเรือน โดยจะต้องต่อยอดจากอาชีพที่มีอยู่แล้วในชุมชนและมีผู้ที่มีความรู้ด้านนี้โดยตรง อาชีพ เลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาหมอ เป็นอาชีพที่เจ้าขององค์ความรู้มีการนำมาใช้ในการประกอบอาชีพเสริมให้ครอบครัวของตนเอง เป็นอาชีพที่ทำแล้วก่อให้เกิดรายได้ คนอื่นสามารถฝึกฝนและนำไปเป็นอีกทางเลือกของการเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1. เมื่อลูกปลาได้ขนาด จะทำการปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ อัตราเลี้ยงที่เหมาะสม 30-50 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000-80,000 ตัว/ไร่ ส่วนวิธีปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาให้ผสมพันธุ์ และวางไข่ในบ่อเลี้ยงเลย อัตราพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 25-50 คู่/ไร่ จะได้ลูกประมาณ 50,000-100,000 ตัว/ไร่

          2. สำหรับเกษตรกรไม่มีความเรื่องการเพราะพันธุ์ปลา อาจหาซื้อลูกปลาตามฟาร์มหรือโรงเพาะพันธุ์ ขนาด 2-3 นิ้ว (อายุ 60-75 วัน หรือ 2-3 เดือน) อัตราการปล่อยประมาณ 25 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000 ตัว/ไร่ บ่อที่ใช้เลี้ยงควรขึงด้วยผ้าเขียวรอบบ่อ เพื่อป้องกันศัตรูของปลาหรือปลาปีนป่ายออกนอกบ่อ โดยเฉพาะเวลาฝนตก และอาจติดตั้งระบบการเพิ่มออกซิเจนหากคุณภาพน้ำมีปัญหา

 

          3. อาหาร และการให้อาหาร

อาหารปลาหมอในระยะเลี้ยงดูในบ่อดิน ในระยะ 1-2 เดือน จะใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ระยะ 2-3 เดือน ขึ้นไป อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 หรืออาหารเม็ดปลาดุกเล็ก ร่วมกับอาหารเสริมอื่นๆ เช่น ไรแดง ปลวก รำข้าว เป็นต้น ระยะเวลาในการเลี้ยงที่เริ่มจับขายได้ 90-120 วัน หรือประมาณ 4-5 เดือน

          การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย

          โดยธรรมชาติ ปลาหมอไทยวางไข่ในช่วงฤดูฝนเหมือนปลาอื่นๆ ในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเฉพาะน้ำใหม่หรือฝนแรก ปลาหมอเพศเมียที่พร้อมจะวางไข่จะมีส่วนท้องอูมเป่ง และนิ่ม เมื่อบีบท้องเบาๆ จะมีไข่กลม สีเหลืองอ่อนออกมา ส่วนเพศผู้จะมีลักษณะปกติ ไม่เปลี่ยนแปลง  ก่อนวางไข่ ปลาเพศผู้จะก่อหวอดที่เคลือบด้วยสารเมือกเกาะติดกันเป็นกลุ่มฟองอากาศ บริเวณก่อหวอดมักเป็นน้ำตื้น มีกอหญ้า ปลาตัวเมียจะเข้าวางไข่ใต้หวอด และตัวผู้ก็จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม ไข่ปลาหมอจะลอยอยู่ผิวน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะมีสีเหลืองอ่อนใส ขนาดประมาณ 0.7-1 มิลลิเมตร และจะพัฒนาการจนฟักออกเป็นตัวอ่อนต่อไป

          การกระตุ้นให้วางไข่

          1. การเตรียมพ่อแม่พันธุ์

ขั้นแรกให้คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีไข่ และน้ำเชื้อสมบูรณ์ ตัวใหญ่ ไม่มีรอยโรค ต้องให้มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไป น้ำหนักตั้งแต่ 60 กรัมขึ้นไป ตัวเมียท้องอวบอูม เมื่อใช้มือบีบเบาๆ จะมีไข่ลักษณะกลมสีเหลืองออกมา ส่วนปลาตัวผู้ เมื่อบีบบริเวณอวัยวะจะมีน้ำเชื้อสีขาวคล้ายนมออกมา

          2. การกระตุ้นให้วางไข่

นิยมทำได้ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เดือนตุลาคมของทุกปี ในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ ระดับน้ำในบ่อ 30-50 เซ็นติเมตร แต่นิยมทำในบ่อซีเมนต์ เพราะง่ายต่อการดูแล และจัดการ การกระตุ้นจะใช้วิธีการฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้แก่ตัวเมีย ฮอร์โมนที่ใช้ชื่อ บูเซอรีลิน (buserelin) ชื่อการค้า ซูปรีแฟคท์ (Suprefact) ขนาดความเข้มข้น 15-30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม และสารระงับระบบการหลั่งฮอร์โมนหรือยาเสริมฤทธิ์ชื่อ โดมเพอริโดน (domperidone) ชื่อการค้า โมลิเลียม-เอ็ม (motilium-M) ขนาด 5-10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ครั้ง และฉีดฮอร์โมนแก่ปลาเพศผู้อัตรา 5-10 ไมโครกรัม ต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม เมื่อฉีดกระตุ้นเสร็จให้ปล่อยพ่อแม่ปลาผสมพันธุ์ และวางไข่ในบ่อวางไข่ที่มีกระชังตาห่างซึ่งแขวนอยู่ในบ่อชั้นแรกสำหรับกันพ่อแม่พันธุ์ และมีผ้าโอล่อนแก้วรองรับไข่ปลาอีกชั้นหนึ่ง อัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผู้ เท่ากับ 1 ต่อ 1 ให้พ่นสเปรย์น้ำ และถ่ายเปลี่ยนน้ำ 8-12 ชั่วโมง เมื่อปลาวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังตาห่าง และพ่อแม่พันธุ์ออก ลูกปลาจะฟักออกเป็นตัวประมาณวันที่ 4-5 หลังการวางไข่ แล้วจึงรวบรวมไปอนุบาลในบ่ออนุบาลต่อไป

          3. การอนุบาลลูกปลาหมอ

การอนุบาลลูกปลาหมอมักทำในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ ที่ระดับน้ำ 50 เซนติเมตรหากมีการเพาะเลี้ยงมากจะนิยมอนุบาลในบ่อดิน เพราะมีพื้นที่ต่อปลาเพียงพอ หากใช้บ่อซีเมนต์จะมีค่าใช้จ่ายสูง พื้นที่ต่อลูกปลาไม่เพียงพอ

          การอนุบาลในบ่อซีเมนต์จะใช้ในกรณีอนุบาลลูกปลาที่มีจำนวนไม่มากเท่านั้น

ลูกปลาที่ฟักออกจากไข่จะมีขนาดยาวประมาณ 1.9 มิลลิเมตร หน้าท้องมีถุงอาหารขนาดใหญ่ที่เป็นอาหารสำรองหลังฟักตัว และจะยุบตัวประมาณ 3 วัน ซึ่งในระยะ 3 วันนี้ ลูกปลาจะยังไม่กินอาหารมาก

          การอนุบาลในบ่อดิน ให้หว่านปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมผสมปลาป่น และรำละเอียดอย่างละ 3 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อช่วยสร้างห่วงโซ่อาหารธรรมชาติ เช่น แพลงก์ตอนสัตว์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

สามารถสร้างรายได้เสริมจากการขายปลาหมอได้

อุปกรณ์ ->

ผู้ที่ได้รับการพัฒนาอาชีพต้องมีการศึกษาและพัฒนาอาชีพตนเองอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรพัฒนาอาชีพในลักษณะกลุ่มอาชีพที่มีกิจกรรมที่ต่อเนื่องอยู่เสมอ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา