เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทีมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน บ้านนาจาน หมู่ที่ 5

โดย : ความรู้ ว่าที่ ร.ต ไวพจน์ โกมลวัฒน์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-10-13:35:14

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเยีย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินซี่งมีนโยบายการลดความเลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งเดียวในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญคือ แผนงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง  โดยได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ ประชาชนมีภาระเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำการไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย อาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้

                   บทบาทหน้าที่ของพัฒนาการอำเภอ สามารถเข้าไปส่งเสริมติดตามสนับสนุนให้กระบวนการ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน จะดำเนินการตามกระบวนการ ให้สามารถชุมชนได้เข้าใจในสิ่งที่ตนเองอยากจะทำและปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการเรียนรู้

                          ในการทีมวิทยากรขบวนการสัมมาชีพชุมชนให้มีประสิทธิ์ภาพในการบริหารงานในชุมชน จะต้องให้แนวคิดและสนับสนุน กระตุ้นให้ทีมงานได้เรียนรู้ในเรื่องของ

                            1.ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีมสัมมาชีพชุมชน

                              จากคำที่กล่าว "สองหัวดีกว่าหัวเดียว" เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำงานเป็นทีม ทีมงานที่ประสบผลสำเร็จมาจากหลายปัจจัย เช่น ความสามารถ ความขัดแย้งมีน้อย มีความพึงพอใจทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้ทีมงานมีประโยชน์หลายประการ ได้แก่ ประการแรกการทำงานเป็นทีมสามารถจะร่วมกันทำงานในสิ่งที่คนเดียวไม่สามารถทำได้ ประการที่สอง การตัดสินใจสำหรับปัญหาต่าง ๆ การทำงานเป็นทีมย่อมดีกว่าบุคคลคนเดียวและให้ผลงานที่ดีกว่า ประการที่สาม การทำงานเป็นทีมสมาชิกมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ผลดีคือได้ข้อมูลมากและมาจากหลาย ๆ ทัศนคติ ประการที่สี่ สามารถตอบสนองความต้องการทางสังคมของสมาชิกในทีม มีการสร้างความสัมพันธ์และเรียนรู้การปฏิบัติงานให้เหมาะสม ประการสุดท้าย สมาชิกทุกคนมีที่พึ่งทางใจและรู้สึกอบอุ่นใจเมื่อมีปัญหา มีความรักในผลงานและรู้จักปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้

 

 

 

 

 

 

                             2. การสร้างทีมงานสัมมาชีพให้มีประสิทธิภาพ

                                 สามารถกระทำได้โดยการสร้างกิจกรรมและการทำงานร่วมกัน ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบร่วมกัน ให้ความร่วมมือกัน มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน และกระตุ้นให้รู้จักใช้การระดมสมองร่วมกันการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นที่สมาชิกของทีมงานต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีทักษะการอยู่ร่วมกันและทักษะการทำงานร่วมกัน ทีมงานที่มีวุฒิภาวะและมีประสิทธิภาพ สมาชิกทุกคนต้องเข้าใจความสำคัญและหลักการทำงานเป็นทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนดังต่อไปนี้

                       1. ลักษณะและภาวะความเป็นผู้นำที่เหมาะสม ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบ มีหน้าที่และบทบาทความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์ คือสามารถมอบหมายงานและแบ่งสันงานให้ผู้อื่นดำเนินการโดยทำงานเป็นทีม หัวหน้าทีมหรือผู้นำจำเป็นต้องมีทักษะด้านการงาน การขจัดปัญหาความขัดแย้ง สร้างแรงจูงใจ 
 

                       2. เป้าหมาย ผู้นำต้องวางแผนงาน กำหนดเป้าหมายเพื่อการดำเนินนโยบายและประเมินผลงานการวางแผน มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ
                               2.1การกำหนดเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการให้งานสำเร็จโดยมีเงื่อนไขข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลา ปริมาณและคุณภาพ เป็นต้น 
                                2.2การตัดสินใจล่วงหน้าเกี่ยวกับทางเลือกหรือกิจกรรมที่จะนำไปสู่วัตถุประสงค์หรือผลผลลัพธ์ที่ต้องการ

                      การประเมินผลงานโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย เป็นเครื่องชี้ชัดความสามารถของผู้นำและทีมงาน ที่มีประสิทธิภาพ ศักยภาพการผลิตและการแข่งขันสูง สามารถทำรายได้และความสำเร็จให้กับองค์การและถ้าให้ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้นต้องทะลุเป้าหมายเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไปอย่างต่อเนื่อง

                     3.ความสามัคคี ช่วยให้สมาชิกทีมงานมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันไม่มีความคิดเห็นและความสำนึกที่เห็นแก่ตัว 
                     4.มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ทีมงานที่มีประสิทธิภาพผู้นำต้องสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีภายในทีมงาน
                     5.ความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดแปลกใหม่และสามารถปฏิบัติได้ให้ประโยชน์การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ คือ
                              5.1 เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า 
                              5.2 เพิ่มคุณและคุณภาพชีวิต 
                              5.3 แก้ปัญหาต่าง ๆ หมดสิ้นไป 
                              5.4 ส่งเสริมทัศนคติวิสัยทัศน์และการยอมรับวิทยาการใหม่ ๆ ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพบุคลากร

                    6. แรงจูงใจ การจูงใจเป็นสิ่งที่ทำให้สมาชิกทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือทีมงานได้รับประโยชน์ด้านเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม 
ผู้นำต้องทำหน้าที่ชักจูงให้สมาชิกทีมงานทุ่มเทจิตใจและพลังกายทำงานด้วยความกระตือรือร้นมากขึ้น ผลสำเร็จของการสร้างแรงจูงใจคือ 
                                6.1เกิดพฤติกรรมร่วม ช่วยให้สมาชิกทีมงานร่วมกันทำงานด้วยความพึงพอใจ และมีความสุขกับการทำงาน 
                                6.2พฤติกรรมทางบวกของสมาชิกทีมงานเพิ่มขึ้น ให้ความสนใจงาน มีความสามัคคีร่วมกันตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด 
                               6.3.องค์การสามารถบรรลุเป้าหมาย

                  7.การพัฒนาทักษะและเพิ่มความรู้  เนื่องจากในโลกปัจจุบันอิทธิพลของเทคโนโลยีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ทำให้สภาวะแวดล้อมขององค์การทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชนแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน การบริหารองค์การให้สามารถอยู่รอดและเติบโตในภาวะเช่นนี้ นับเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของผู้บริหารและการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาทักษะและเพิ่มความรู้แก่บุคลากรมีความสำคัญและจำเป็นยิ่ง นั่นคือผู้นำต้องสามารถสอนงานหรือแนะนำวิธีการทำงาน การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนความรู้บุคลากรองค์การช่วยให้ทีมงานต่าง ๆ เพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพประสิทธิภาพสูง ลดต้นทุนและมีศักยภาพด้านการแข่งขันสูง เป็นต้น

                   เทคนิค/วิธีการ

                    กระบวนการที่จะทำให้การทำงานประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความเข้าใจของคนทำงาน เพื่อให้เกิดการยอมรับในวิธีการ และทำงานร่วมกันได้ การสร้างทีมเวิร์คที่เข้มแข็งจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากขาดสิ่งนี้การทำงานให้ประสบความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ยาก หรือหากเกิดขึ้นได้ก็ช้าเกินไป ปัจจัยหลักที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ต้องเกิดจากการมีทีมเวิร์คที่เข้มแข็ง โดยการสร้างทีมเวิร์คที่เข้มแข็งนั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้

                         1.สร้างความเข้าใจก่อนเริ่มทำงาน

                             การนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จนั้น ผู้นำองค์กรจำเป็นต้องเข้าใจความหมายของการดำเนินการ แล้วจึงนำความรู้เหล่านั้นไปเผยแพร่ให้กับคนทำงานได้รับรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน

                         2.บทบาทและเป้าหมายที่ชัดเจน

                             ทีมจะเข้มแข็ง และสามารถทำงานได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ต่อเมื่อคนทำงานทุกคนคิดเหมือนกัน หรืออย่างน้อยคิดให้คล้ายคลึงกันมากที่สุด ทีมก็จะแข็งแกร่งขึ้น และทำงานได้ตรงจุดประสงค์ขึ้น โดยทีมต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถเข้าถึงและจับต้องได้ อีกทั้งสามารถปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงทฤษฎีที่ถูกกล่าวอ้างขึ้นมาเท่านั้น เพื่อนร่วมงานของเราต้องเข้าใจอย่างแท้จริง เราต้องสามารถอธิบายได้ว่างานแต่ละชิ้นมีวิธีการทำอย่างไร เมื่อเข้าใจตรงกันแล้ว งานที่ทีมช่วยกันทำก็จะสำเร็จผลได้ง่ายขึ้น และการต้องเผชิญกับอุปสรรคก็จะน้อยลง ดังนั้น การที่จะมีทีมทำงานที่แข็งแกร่งได้นั้น เป้าหมายและบทบาทของสมาชิกต้องชัดเจน ไม่เกิดความสบสนเมื่อต้องปฏิบัติงานจริง

                         3.กล้าเปิดใจในการแสดงความคิดเห็น

                              ทีมทำงานที่เข้มแข็งเริ่มต้นจากการทำงานด้วยร่วมกันด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเอง อบอุ่น

 มีความกระตือรือร้น และทุกคนช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานอย่างจริงใจ และไม่มีสัญญาณของความขัดแย้ง ทำให้เห็นการแสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การรู้สึกเห็นอกเห็นใจกันของคนในทีมจะช่วยให้ทีมงานประสบความสำเร็จ

                             ผลการสนับสนุนการสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนหมู่ที่ 5 ตำบลนาเยีย

อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

                               1. ทีมงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเกิดขบวนการเรียนรู้งานในบทบาทหน้าที่ของตนเอง

          2. ทีมวิทยากรมีทักษะในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

          3. ทีมวิทยากรสามารถสร้างแรงบันดาลให้ให้ครัวเรือนสัมมาชีพสามารถสร้างงานรายได้

ให้กับตนเองและครอบครัว

                  

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ความเอาใจใส่สามัคคีของครัวเรือนสัมมาชีพที่ตั้งใจฟังเอาความรู้ไปพัฒนาต่อยอด

                             2. ความสามัคคีกันของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

                             3. ผู้นำชุมชนให้ความใส่ใจในโครงการและพร้อมที่จะให้คำปรึกษา

                             4. เจ้าหน้าที่ให้ความสนใจติดตามและเอาใจใส่ในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา