เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการสร้างกลุ่มอาชีพจากโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านนาเยีย หมู่ที่ 4

โดย : นางปราศัย กรุณา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-09-17:21:48

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเยีย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากนโยบายลดความเลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ ประชาชนมีภาระเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำการไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย อาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้

                   บทบาทหน้าที่ของพัฒนากรในพื้นที่ ส่งเสริมการสนับสนุนให้ชุมชนเกิดขบวนการเรียนรู้ ในเรื่องของการรู้จักตนเอง รู้จักมองสิ่งรอบข้างตนเองที่จะสามารถพัฒนาเป็นผลงานสร้างงานสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ในฐานะที่เป็นพัฒนากรจะกระตุ้นให้แนวคิดให้กับวิทยากรสัมมาชีพให้มีแรงกระตุ้นที่จะขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน และสามารถให้ครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 20 ครัวเรือน บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการให้เกิดกลุ่มอาชีพในชุมชนของตนเอง

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการเรียนรู้

                          ในการสร้างกลุ่มอาชีพอยู่บนพื้นฐานงานสัมมาชีพชุมชน พัฒนากรจะต้องให้แนวคิดและสนับสนุน กระตุ้นให้ครัวเรือนเป้าหมายจัดตั้งกลุ่มอาชีพดังนี้

-          คนมีความสามารถพัฒนาได้ ในการทำงานทุกขบวนงาน คนมีการพัฒนาและสามารถ

เรียนรู้เพิ่มเติมและมีแนวคิดในแต่ละตัวบุคคลที่จะนำเอาความสามารถมาพัฒนาเป็นอาชีพได้

-          คนมีความสามารถ แต่ละคนมีความสามารถและความถนัดไม่เหมือนกันเพราะ

พื้นที่อาศัยแต่ละคนการเรียนรู้ การใช้ชีวิตก็แตกต่างกันทำให้ความสามารถของแต่ละมีความสามารถไม่เหมือนกัน เจ้าหน้าที่จะต้องให้ความสำคัญและบทบาทหน้าที่ของคนชุมชนว่าทุกคนมีความสามารถเท่าเทียมกัน

-          คนมีศักดิ์ศรี ทุกคนในชุมชนมีศักศรีเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่หรือคนใน

ชุมชน เจ้าหน้าที่ต้องให้ความสำคัญกับคนทุกคน ไม่ใช่เอาแนวคิดของตนเองเป็นใหญ่จะต้องฟังเสียงของคนในชุมชนสิ่งที่ชุมชนคิดอาจจะไม่เหมือนกับเจ้าหน้าที่คิด เจ้าหน้าที่สามารถนำแนวคิดของคนในชุมชนไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันก็ได้

                   เทคนิค

                             การสร้างกลุ่มอาชีพของบ้านนาเยีย หมู่ที่  4 ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของงานสัมมาชีพชุมชน มีแนวทางในการในการจัดตั้งกลุ่มดังนี้

                             1.ต้องปลูกจิตสำนึกให้กับครัวเรือสัมมาชีพชุมชนที่รวมตัวในการจัดตั้งกลุ่มในเรื่องของการเสวนา ทำความเข้าใจ พบปะพูดคุยแนวทางและวัตถุประสงค์ ผลประโยชน์ของครัวเรือนที่จะได้รับ ให้ครัวเรือนได้เล็งเห็นผลที่จะได้รับในการจัดตั้งกลุ่ม

                             2. พูดคุยแนวทางการจัดตั้งกลุ่ม ปัญหาอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขปัญหาของกลุ่มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ครัวเรือนได้หาแนวทางและวิธีการที่แก้ไขกลุ่มให้ดำเนินงานไปได้ตามเป้าหมาย

                             3. การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยการรวมกลุ่มกันโดยนำเอาวิธีแต่ละคนถนัดและมีความรู้มาแลกเปลี่ยนซึงกันและกัน

                             4 มีความอดทนในการจัดตั้งกลุ่มแต่ละคนจะต้องมีความอดทนและรู้จักการให้อภัย เรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละบุคคลเพื่อนำมาปรับใช้ในการดำเนินงานของกลุ่ม

                   วิธีการ

                          1.ในการจัดตั้งกลุ่มไม่เพียงแต่ทราบในวัตถุประสงค์แต่จะต้องทราบแนวทางการดำเนินงาน ร่วมกันจะต้องมีการดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการของกลุ่ม โดยจะมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน เช่น ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ  เหรัญญิก และกรรมการอื่น ๆ แล้วแต่เห็นสมควรและนโยบายของกลุ่ม ในการจัดหาคณะกรรมการจะต้องมาจากการเลือกตั้งของกลุ่ม และควรจะกระจายบทบาทหน้าที่ของกรรมการให้ครอบคลุมทั่วถึง

                          2. ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพจะต้องให้ความยกย่องเสมอภาคกัน ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่มให้ทราบไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าส่วนราชการหรือจะเป็นบุคคลภายนอกให้ได้ทราบถึงการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มว่าปัจจุบันกลุ่มดำเนินงานอย่างไร

                   ผลการสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพบ้านนาเยีย หมู่ที่  4 ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

1. กลุ่มอาชีพมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซีงกันและกันเกิดขบวนการเรียนรู้งานของกลุ่มตนเอง

2. กลุ่มสามารถใช้เวลาให้เกิดประโยชน์เกิดความรักใคร่สามัคคีซึงกันและกัน และสร้างงานสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนของตนเอง

3. เกิดกลุ่มอาชีพใหม่ในชุมชนและสามารถลงทะเบียนเป็นกลุ่ม OTOP ของอำเภอ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ความเอาใจใส่สามัคคีของครัวเรือนสัมมาชีพทั้ง  20 ครัวเรือน

                             2. เป็นอาชีพที่ครัวเรือนสัมมาชีพคัดเลือกและพร้อมใจที่จะศึกษาหลักการและแนวทางการดำเนินงาน

                             3. ผู้นำชุมชนให้ความใส่ใจในโครงการและพร้อมที่จะให้คำปรึกษา

                             4. เจ้าหน้าที่ให้ความสนใจติดตามและเอาใจใส่ในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา