เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

จักสานไม้ไผ่

โดย : นายอุดม ทัดเทียม ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-08-16:17:29

ที่อยู่ : 110 ม.15 ต.ไพบูลย์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เครื่องจักสานไทย เป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่มีคุณค่ายิ่งอย่างหนึ่งของไทย ที่ทำการสืบทอดกันมาแต่โบราณ แม้ทุกวันนี้จะมีเครื่องมือเครื่องใช้ ที่ทำจากโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้หลายชนิด ที่ไม่สามารถผลิตด้วยวัตถุดิบอื่นๆ ที่ผลิตด้วยเครื่องจักรตามระบบอุตสาหกรรม มาใช้แทนเครื่องจักสานได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เครื่องจักสานมีอายุ ยืนยาวสืบต่อกันมานานนับพันปี แม้ในปัจจุบัน การทำเครื่องจักสานจะลดจำนวนลงไปบ้าง ตามสภาพสังคมวัฒนธรรม ที่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรม มาเป็นสังคมเกษตรอุตสาหกรรม และก้าวต่อไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม ที่การผลิตสิ่งต่างๆ ด้วยมือจะต้องลดลง เปลี่ยนมาเป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรกลก็ตามแต่เครื่องจักสานยังเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ยังไม่สามารถผลิตได้ด้วยเครื่องจักรกล เพราะการทำเครื่องจักสาน ต้องใช้ความชำนาญ และความสามารถเฉพาะตัวของช่างพื้นบ้านแต่ละถิ่น สิ่งเหล่านี้เป็นคุณค่าพิเศษของเครื่องจักสานที่ต่างไปจากผลิตภัณฑ์อื่นที่ผลิตด้วยเครื่องจักร เครื่องจักสานจึงเป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่มีคุณค่ายิ่งอย่างหนึ่งของไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ สืบไป

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการจักตอก

1. การจักตอกปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (ขี้ตอก)จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ แล้วหลาวให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง

2. การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตาก

การสาน

การสาน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา