เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

จักสานตะกร้าทางมะพร้าว

โดย : นายสมหมาย นนท์ศิริ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-08-09:22:43

ที่อยู่ : 34ม.6 บ้านหนองมะเกลือ ต.โนนกลาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การจักสานตะกร้าด้วยทางมะพร้าว เป็นความรู้ ความคิด และประสบการณ์ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของชาวบ้านอุมลอง อำเภอสบปราบ ที่ปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น ตะกร้า ขันโตก แจกัน ชั้นวางของ เป็นต้น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่างๆ ความรู้เหล่านี้สอนให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ มีความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ และผู้มีพระคุณ มีความเอื้ออาทรต่อคนอื่น รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันข้าวของของตนให้แก่ผู้อื่น ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่มีคุณธรรม สอนให้คนเป็นคนดี สอนให้คนเคารพธรรมชาติ รู้จักพึ่งพาอาศัยธรรมชาติโดยไม่ทำลาย ให้เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคนที่ล่วงลับไปแล้ว 
ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นความรู้เรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า ทอเสื่อ การสานตะกร้าและเครื่องใช้ด้วยไม้ไผ่ ด้วยหวาย การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องมือทางการเกษตร นอกจากนั้น ยังมีศิลปะดนตรี การฟ้อนรำ และการละเล่นต่างๆ การรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การนวด เป็นต้น ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบันด้วย คือ 
•      การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้ 
•      การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่น การรื้อฟื้นดนตรีไทย 
การประยุกต์ คือ การปรับ หรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้คนร่วมมือกันอนุรักษ์ป่า

วัตถุประสงค์ ->

วัสดุอุปกรณ์ 
1. ทางมะพร้าว       เป็นผลผลิตจากมะพร้าวซึ่งอยู่ที่ใบของมะพร้าว สามารถหาได้ง่ายตามท้องถิ่นบ้านเรา สามารถนำมาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการใช้มีดเฉาะใบออกและเอาแต่ทางมะพร้าวมาขึ้นรูปทรงต่าง ๆ ตามที่เราต้องการ 
2. ไม้ไผ่ เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่หาได้ง่าย ส่วนใหญ่ชาวบ้านปลูกไว้ตามหัวไร่ปลายนา และที่สวนต่าง ๆ เราก็เอามาใช้โดยการผ่าออกเป็นเส้นแล้วนำมาจักสานตามที่เราต้องการ 
3. หวาย ใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม 
4. อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น มีด ค้อน สิ่ว กรรไกร ลวด และสี 

ขั้นตอนการผลิตตะกร้าทางมะพร้าว 
1.      นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อนๆ วัดขนาดความยาวของตะกร้า 
2.      นำไม้ไผ่มาเหลาให้ได้ขนาดตามความต้องการ 
3.      นำไม้ไผ่ที่เหลามาตัดเป็นรูปทรงตามที่เราต้องการให้ครบจำนวน 
4.      นำทางมะพร้าวที่เหลาเสร็จเรียบร้อยมาคัดขนาดให้เท่ากัน 
5.      เตรียมด้ายและเข็มเพื่อนำทางมะพร้าวมาสานติดกับขอบไม้ไผ่ที่เราเตรียมไว้ 
6.      พอสานได้รูปทรงตามต้องการแล้ว นำหวายเทียมมาตกแต่งให้สวยงาม 
7.      นำยูรีเทนเคลือบให้ได้ความแข็งแรง และสวยงาม 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การจักสานตะกร้าทางมะพร้าวคือภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักคิดค้นหาวิธีประดิษฐ์ขึ้นจนสำเร็จและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ในปัจจุบันต้นมะพร้าวเพียง 1 ต้น สามารถนำมาใช้เกิดประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากจะนำน้ำมะพร้าวมาดื่ม เอาเนื้อมะพร้าวมารับประทานทั้งรับประทานเนื้อสด ๆ หรือนำมาคั้นเป็นกะทิใส่ในอาหารคาว หวาน ได้หลายอย่างแล้ว กะลามะพร้าวยังสามารถนำมาประดิษฐ์สิ่งของได้เช่นกัน อาทิ เครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ สร้อยแขน แหวน กำไล เข็มขัด ของใช้ เช่น กะลาก๊อบแก๊บ เปลือกของลูกมะพร้าวสามารถนำมาปลูกต้นไม้ได้ เช่น ปลูกต้นกล้วยไม้ ยอดอ่อนของมะพร้าวก็สามารถนำมาทำอาหารได้หลายเมนูเด็ด เช่น แกงไก่ใส่ยอดมะพร้าวอ่อน ยำยอดมะพร้าวอ่อน ยอดมะพร้าวอ่อนผัดกุ้ง ตำยอดมะพร้าวอ่อน เป็นต้น เยื่อหุ้มต้นมะพร้าวสามารถนำมาทำเป็นกระเป๋าได้ ลำต้นก็สามารถนำมาทำเก้าอี้ ทำรั้วก็ดูเก๋ไก๋ไม่แพ้กัน ใบมะพร้าวก็สามารถนำมาสานปลาตะเพียน ตั๊กแตน และเอามาห่อขนมได้ ส่วนทางมะพร้าว ก็สามารถนำมาทำไม้กวาดปัดหยากไหย้ แจกัน ขันโตก ไม้กลัดห่อขนมหรือของต่าง ๆ และทำตะกร้า วิธีการทำตะกร้าและวัสดุอุปกรณ์ในการทำก็ไม่ยุ่งยาก 
 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา