เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ

โดย : นางบรรจง สองสี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-07-09:47:19

ที่อยู่ : 62 ม.6 ต.สองคอน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผ้าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนแต่ละชุมชน เพราะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ พิธีกรรม ความเชื่อและค่านิยม และในปัจจุบันการทอผ้าก็เป็นการหารายได้เสริมให้ครอบครัว ทำให้ครอบครัวอยู่กันด้วยความอบอุ่น

วัตถุประสงค์ ->

1.นำฝ้ายเป็นใจมาคลี่ออกใส่กงกว๊าง เพื่อนำไปพันใส่บ่าหลุกกวักฝ้าย แล้วนำมาขินหรือปั่นใส่กระป๋องหรือหลอดไม้ขนาดใหญ่

2.นำกระป๋องที่มีเส้นฝ้ายพันอยู่ไปเรียงตามลำดับ สี ของเส้นฝ้ายเส้นยืนตามลวดลายที่จะทอ

3.นำฝ้ายเส้นพุ่งจากบันไดลิงมาขึ้นเฟือขอ ซึ่งเฟือขอจะทำหน้าที่สำหรับเรียงฝ้ายเส้นยืนตามความยาวที่ต้องการ และทำการสลับเส้นยืนสำหรับใช้กับตะกอเส้นขึ้นเส้นลงด้านล่างของเฟือขอเมื่อสิ้นสุด

4.นำกลุ่มฝ้ายเส้นยืนจากเฟือขอมาขึ้นกี่ แล้วคลี่ฝ้ายเส้นยืนตามที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้เขี้ยวหมาหรือฟันปลาเป็นตัวช่วยในการสางเส้นฝ้ายแต่ละกลุ่มเส้นออกจากกัน

5.หากทอลายเดิมที่เคยทอมา ก็จะนำฝ้ายเส้นยืนใหม่มาต่อกับเศษผ้าฝ้าย หรือเชิงชายที่ตัดมาจากการทอครั้งก่อนที่เรียกว่า "เครือ" เมื่อทอผ้าเสร็จแล้ว ช่างทอจะตัดผ้าที่ทอแล้วออกจากกี่ โดยคงเหลือเศษผ้าฝ้ายหรือเชิงชายจากการทอให้ติดอยู่กับตะกอและฟืม เพื่อเป็นต้นแบบของลาย หากจะมีการทอลายนั้นในครั้งต่อไป

 

6.หลังจากการสืบลายแล้ว สามารถเริ่มกระบวนการทอได้ โดยการเหยียบไม้เหยียบเพื่อยกเขาฟืมขึ้นลง แล้วพุ่งกระสวยสอดเข้าไปในช่องว่างระหว่างเส้นยืน ให้เส้นพุ่งพุ่งไปขัดกับเส้นยืน และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งอัดเรียงกันแน่น แล้วใช้เท้าเหยียบไม้เหยียบให้ตะกอเส้นยืนสลับขึ้นลง และพุ่งกระสวยกลับไปกลับมาขัดกับเส้นยืน หลังจากที่พุ่งเส้นพุ่ง ไป มา

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วิถีชีวิตของคนในชุมชนก่อเกิดเป็นภูมิปัญญาและความรู้ในการทอผ้า มีการเรียนรู้ัอยู่ตลอดเวลาในการพัฒนาการทอผ้าให้มีลวดลายตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งคนในชุมชนมีกระบวนการมีส่วนร่วม ขยัน อดทน 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา