เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเพาะเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายสุริยา ขันอาสา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-04-13:27:24

ที่อยู่ : สพอ.เดชอุดม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการคัดเลือกและผสมพันธุ์ไก่พื้นเมือง
1. เริ่มต้นจากสายพันธุ์ไก่ชนเป็นหลัก เนื่องจากไก่ชนให้ทั้งเนื้อและชนเก่ง รวมทั้งพันธุ์ค่อนข้างนิ่ง คือสม่ำเสมอและที่สำคัญคือ หาได้ง่ายมีอยู่ทั่วไปตามบ่อนหรือฟาร์มไก่ โดยสามารถขอซื้อได้จากเจ้าของไก่ชน โดยคัดเลือกจากตัวที่มีลักษณะดี
2. ควรมีคอกผสมพันธุ์ไว้เฉพาะ โดยมีอัตราส่วนพ่อต่อแม่ไม่เกิน 1:5 หรือถือหลักไว้ว่า ให้ตัวที่ดีที่สุดผสมกับตัวที่ดีที่สุด เท่านั้น อย่าเสียดายไก่ที่มีลักษณะไม่ดี เช่น ขาหรือเล็บหยิกเกิน ให้คัดออกทันที
3. อย่าให้มีการผสมเลือดชิด คือพ่อหรือแม่ผสมลูก หรือพี่น้องคอกเดียวกันผสมกัน ควรมีการเปลี่ยนสายเลือดบ่อยๆ โดยการเสาะแสวงหาพ่อพันธุ์ดีๆ มาเปลี่ยนสายเลือด

วิธีการคัดเลือกและการฟักไข่
ลักษณะการฟักไข่และการเลี้ยงลูกไก่ของแม่ไก่พื้นเมืองเป็นลักษณะทีสำคัญอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามหลักวิธีการคัดเลือกไข่ฟัก และดูแลแม่ไก่ในระหว่างฟักไข่ สามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ควรเป็นไข่ที่มาจากฝูงพ่อและแม่พันธุ์ดี
2. ภายนอกสะอาด ไข่รูปทรงปกติไม่ร้าว เบี้ยว เปลือกบาง ช่องอากาศหลุดลอย หรืออยู่ผิดที่ มีจุดเลือดโตเป็นต้น
3. ขนาดไข่ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินควร
4. ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 14 วัน โดยเฉพาะในฤดูร้อนอุณหภูมิที่เก็บไข่ฟักควรอยู่ระหว่าง 50-60 องศาฟาเรนไฮต์ ไม่ควรสูงกว่า 65 องศาฟาเรนไฮต์ (18.3องศาเซลเซียส) ความชื้นในห้องเก็บ 80-90 % อาจเก็บไว้ใกล้ๆ ตุ่มน้ำก็ได้
5. ควรมีการเลี้ยงไก่วันละครั้งก่อนแม่ไก่จะฟัก
6. จำนวนไข่ฟักควรอยู่ระหว่าง 10-12 ฟอง ในฤดูร้อนไข่มักฟักออกไม่ดี ดังนั้น ไข่ 1-2 ฟองแรก ควรนำมาบริโภคจะดีกว่า เพราะมีขนาดเล็กกว่าปกติ อายุการเก็บมักจะนานเกิน 14 วัน เชื้อมักไม่ดี และจะเป็นการแก้ปัญหา ไข่ล้นอกแม่ ไปในตัวด้วย
7. ควรเสริมอาหารโปรตีน โดยเน้นใช้วัสดุเศษเหลือทางการเกษตรภายในท้องถิ่น เช่น ใบหรือเมล็ดพืชตระกูลถั่ว แมลง/ตัวหนอนที่มีตามธรรมชาติ เป็นต้น โดยก่อนนำมาใช้ควรทำลายสารพิษที่มีในวัตถุดิบเหล่านั้นเสียก่อน เน้นให้ลูกไก่ช่วงอนุบาล ถึงระยะเติบโตช่วงแรก และช่วงแม่ไก่ก่อนให้ไข่ (หรือช่วงผสมพันธุ์)
8. การผสมข้ามพันธุ์กับพ่อไก่พันธุ์ไข่ จะทำให้ไก่ลูกผสมเพศเมียที่ได้ไข่ดก โดยมีผลผลิตไข่เฉลี่ยประมาณ 120-150 ฟอง/ปี ส่วนลูกไก่เพศผู้ควรนำไปตอน

การตอนแล้วนำไปขุน ทำให้เนื้อไก่มีคุณภาพสูงขึ้น จะทำให้เนื้อนุ่มไม่เหนียวเกินไป เป็นที่ต้องการของตลาดข้าวมันไก่ ราคาจำหน่ายจึงสูงกว่าปกติ ทำให้ผู้เลี้ยงมีรายได้เพิ่มขึ้น อนึ่งวิธีการทำเช่นนี้ ควรใช้วิธีตอนแบบผ่าข้าง คือ เอาอัณฑะของเพศผู้ออกทั้งสองข้าง ขนาดไก่ที่เหมาะสมสำหรับการนำมาตอนควรมีอายุประมาณ 2 เดือน หรือมีขนาดน้ำหนักประมาณ 0.8 กิโลกรัม ซึ่งหลังจากตอน 2-3 เดือน สามารถนำไปจำหน่ายได้

การผสมข้ามพันธุ์กับพ่อไก่พันธุ์เนื้อ ลูกไก่ที่ได้จะโตเร็ว แต่ไข่ไม่ดก วิธีนี้เหมาะสำหรับการเร่งผลิตไก่ลูกผสมพื้นเมืองในช่วงที่ตลาดต้องการ ซึ่งราคาจำหน่ายอาจต่ำกว่าไก่พื้นเมืองแท้

9. ควรทำกรงลูกไก่เพื่อแยกลูกต่างหาก แม่ไก่จะได้ให้ไข่เร็วขึ้น ลูกไก่จะได้รับน้ำ-อาหาร ความอบอุ่น และวัคซีนอย่างสมบูรณ์
10.  ที่ให้น้ำ-อาหาร ควรมีให้พร้อม ส่วนอุปกรณ์ป้องกันโรคมีไว้ให้พร้อมที่จะใช้งานได้ทันที

ข้อควรปฏิบัติระหว่างแม่ไก่ฟักไข่
1. แม่ไก่กำลังไข่ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรให้วัคซีนหรือยาใดๆ ถ้าจะให้ควรให้ก่อนระยะไข่เพราะอาจทำให้แม่ไก่หยุดไข่
2. ถ้าแม่ไก่ไข่มากเกินไป ควรแบ่งไข่ออกไปกินบ้าง การฟักไข่แต่ละครั้ง ควรมีไข่ไม่เกิน 12 ฟอง
3. ควรรู้จักการส่องไข่ เพื่อให้แม่ไก่ฟักเฉพาะไข่ที่มีเชื้อ
4.  เมื่อแม่ไก่ฟักเป็นตัวแล้ว ควรแยกลูกไก่ไปเลี้ยงในกรงกก (คอกอนุบาลลูกไก่) ปล่อยให้แม่เป็นสาวฟื้นตัวได้เร็ว ไข่เร็ว ฟักเร็ว ผู้เลี้ยงจะได้เงินเร็ว
5.  ระยะกกลูกไก่ ควรใช้หัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปเลี้ยง แล้วค่อยๆ เติมอาหารธรรมชาติเข้าไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 3 สัปดาห์ ก็สามารถปล่อยลูกไก่ลงเลี้ยงแบบพื้นบ้านต่อไป
6.  ระยะกกลูกไก่ 3 สัปดาห์ ทำวัคซีนได้ถึง 4 ครั้ง (ถ้าปล่อยให้แม่กกและเลี้ยงเองตามธรรมชาติรับรองว่าจับทำวัคซีนได้ไม่ครบ)
7.  ลูกไก่ระยะกก ควรดูแลให้ความอบอุ่น น้ำและอาหารอย่าให้ขาด
8.  รังไข่สำหรับแม่ไก่ ควรมีจำนวนพอเพียงกับแม่ไก่ รังต้องสะอาด บางครั้งถ้าใช้ใบตระไคร้หรือเศษใบยาสูบตากแห้งรองรังไข่จะไม่มีไรไก่รบกวน
9.   คอกไก่ควรทำความสะอาดอยู่เสมอ และพ่นยากำจัดไรที่พื้นคอกเป็นประจำเดือนละครั้ง
10.  แม่ไก่ที่ให้ไข่และฟักไข่เกิน 4 รุ่นแล้ว ควรคัดออกไป ใช้แม่ไก่ใหม่แทน เพราะแม่ไก่แก่เกินไป ผลผลิตที่ได้ไม่ดีเท่าแม่ไก่รุ่นใหม่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ผู้เพาะเลี้ยงต้องมีความอดทนและหมั่นศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ

อุปกรณ์ ->

ข้อควรระวังในการใช้วัคซีน
- ควรเก็บวัคซีนไว้ในที่เย็น ไม่ให้แสงแดดส่องถึง
- หลอดวัคซีนชำรุดไม่ควรนำมาใช้
- วัคซีนที่ผสมแล้วไม่ควรใช้นานเกินกว่า 1 ชั่วโมง
- ควรฉีดวัคซีนให้ครบตามขนาด
- ไม่ควรฉีดวัคซีนแก่ไก่ที่กำลังเป็นโรค
วัคซีนจะให้ความคุ้มกันโรคได้ดีหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 2 สัปดาห์

ตารางกำหนดการทำวัคซีน

ชนิดวัคซีน อายุไก่ วิธีใช้ ขนาดวัคซีน ระยะคุ้มโรค
1. นิวคาสเซิล เป็นวัคซีนชนิดอ่อนทำให้ไก่สร้างภูมิคุ้มกัน 3-4 เดือน 1-7 วัน หยอดจมูกหรือตา 1-2 หยด ควรทำครั้งที่ 2 เมื่อไก่อายุ 21 วัน
2. ฝีดาษไก่ ตั้งแต่ 7 วัน ขึ้นไป แทงปีก 1 ซีซี คุ้มโรคตลอดไป
3. อหิวาต์ไก่ 30 วัน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือผิวหนัง 1 ซีซี 3 เดือน
4. หลอดลมอักเสบ ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป หยอดจมูกหรือตา 1-2 หยด 3 เดือน

วิธีการป้องกันโรค
1. ภายในคอก ถ้าไม่จำเป็นห้ามให้คนอื่นเข้าไป เพราะคนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญที่สุด
2. เมื่อมีไก่ตายอย่าเสียดาย เผา หรือฝังทันที อย่านำไปทิ้งหรือให้คนอื่นไปพอพ้นๆ คอก เพราะนอกจากจะแพร่ระบาดที่คอกคนอื่นแล้วคอกตัวเองก็จะไม่พ้นเช่นกัน
3. ถ้าได้ยินข่าวว่าไก่ในหมู่บ้านป่วยหรือตาย ให้รีบขังไก่ ให้ยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กินไว้ก่อน ในช่วงนี้อย่าทำวัคซีน
4. ถ้านำไก่จากที่อื่นมา ก่อนจะนำเข้าฝูง ควรขังดูอาการสัก 7 วัน เมื่อเห็นว่าปกติแล้วจึงให้วัคซีนดูอาการอีกครั้ง 7 วัน ถ้าปกติค่อยปล่อยรวมฝูง
5. ควรให้ยาถ่ายพยาธิไก่ทุกๆ 3 เดือน โดยเฉพาะไก่ใหญ่ควรให้ยาถ่ายพยาธิก่อนให้วัคซีนสัก 7 วัน
6. การป้องกันโรคด้วยวัคซีนควรทำตามขั้นตอน แม้จะเหนื่อยแต่ก็คุ้ม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรพัฒนาสายพันธ์ุให้ทนต่อโรคระบาดเพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการให้วัคซีนในการรักษา

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา