เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเพาะเลี้ยงปลาหมอในบ่อ

โดย : นายประสิทธิชัย ไผ่เผื้อย ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-03-13:05:15

ที่อยู่ : สพอ.เดชอุดม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หลังฤดูทำนา ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลแก้งมักจะอพยพเข้าไปใช้แรงงานในกรุงเทพฯ ทำให้เกิดปัญหาแรงงานย้ายถิ่นการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง พัฒนากรผู้ประสานงานจตำบลจึงได้คิดโครงการที่จะสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนเพื่อสร้างอาชีพหลังฤดูการทำนา และเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวและชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

การเตรียมบ่อเลี้ยง
การเตรียมบ่อเลี้ยงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตที่จะได้รับ ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้ง การสูบน้ำจากบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อหลังจากการสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะ ที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินกำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อ จะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทยเช่น ปลาช่อน กบ และงู เป็นต้น และทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากวัชพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้ การที่มีพืชอยู่ในบ่อมาก จะเป็น อุปสรรคต่อการให้อาหาร และการวิดจับปลาการตากบ่อ การตากบ่อจะทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรค และศัตรู ปลาที่ฝังตัวอยู่ในดิน ใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์สูบน้ำเข้าบ่อ สูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง แต่ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้อง ใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อ เนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่าย โดยเฉพาะ ในช่วงที่ฝนตกการปล่อยปลาลงเลี้ยงการปล่อยปลาปลาหมอไทยลงเลี้ยงทำได้ 2 วิธี คือ

- การปล่อยปลานิ้ว ปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยลูกปลาลงบ่อในช่วงเช้า หรือเย็นระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร โดยก่อนปล่อยลูกปลาออกจากถุงที่บรรจุ ควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อ ป้องกันปลาตายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระทันหัน ทำได้โดยการแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 20 นาที แล้วเปิดปากถุงวักน้ำในบ่อเลี้ยงผสมกับน้ำในถุง แล้วค่อยๆ เทลูกปลาออกจากถุงหลังจากปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ 1-1.50 เมตร

- การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องลูกปลาตายในระหว่างการลำเลียงได้ทำโดย การคัดเลือกพ่อแม่ พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมียจะมีส่วนท้องที่อูมเมื่อใช้มือบีบเบาๆ จะมีไข่สีเหลืองออกมา ส่วนตัวผู้เมื่อใช้มือบีบที่ท้อง จะมีน้ำเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนมออกมา เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราความเข้มข้น ฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1ครั้ง แล้วจึงปล่อยให้ผสมพันธุ์วางไข่ในกระชังตาห่างซึ่งแขวรอยู่ในบ่อที่ระดับน้ำไม่ น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ในอัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผุ้เท่ากับ 1:1 ปริมาณน้ำหนักพ่อแม่ปลา 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือประมาณ 40-75 คู่/ไร่วันรุ่งขึ้นเมื่อ ปลาวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้นปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผงหรือ อาหารพวกรำละเอียดผสมปลาป่น อัรา1:1 เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์หลังจากนั้นจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่จนได้ขนาดตลาดอย่างไรก็ตาม สามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีน้ำเชื้อและไข่สมบูรณ์ลงในบ่อที่เตรียมไว้แล้วได้เช่นกัน โดยให้มีระดับน้ำในบ่อ 30-50 เซนติดมตร พร้อมทั้งใช้ทางมะพร้าวปักคลุมทำเป็นที่หลบซ่อนและอนุบาลลูกปลาวัยอ่อย

อาหารและการให้อาหาร
ปลาหมอไทยเป็นปลาที่กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ในการเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุก ในอัตรา 3-5 % ของน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยในช่วงแรกของการเลี้ยงจะใช้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปาสดสับละเอียด เป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกขนาดใหญ่ เมื่อ ปลามีขนาดใหญ่ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และต้องสังเกตการกินอาหารของปลาด้วย ถ้ามีอาหารเหลือมากเกินไป ควรลดอาหารในมื้อถัดไปให้ น้อยลง เพราะอาจทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียอีกด้วย

การเปลี่ยนถ่ายน้ำ 
ถึงแม้ว่าปลาหมอเป็นปลาที่มีความอดทนทนทาน และสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำที่มีคุณภาพต่ำกว่าปกติก็ตาม แต่ก็จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่จะทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้นส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ทั้งนี้ก่อนเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกครั้งต้องแน่ใจว่าคุณภาพน้ำที่สูบเข้ามาใหม่ ไม่แตกต่างจากคุณภาพน้ำในบ่อมากนัก และสะอาดเพียงพอที่จะไม่ทำให้ปลาในบ่อเป็นโรคได้ ในช่วงเดือนแรกไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะใช้วิธีเพิ่ม ระดับน้ำทุกสัปดาห์ หลังจากเดือนแรกแล้วจึงเปลี่ยนถ่ายน้ำเดือนละ 2-3 ครั้งโดยเปลี่ยนถายน้ำครั้งละ 1ใน3 ของน้ำในบ่อหรือขึ้นอยุ่กับสภาพคุณภาพน้ำในบ่อ ด้วย

ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ
ระยะเวลาการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดปลาของปลาที่ตลาดต้องการ แต่โดยทั่วไป จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทย โดย ทั่วไปจะใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้าน หนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้นใช้สวิงจับใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาด จนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การเลือกสถานที่เลี้ยง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การเลี้ยงปลาหมอไทยประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงและการออก แบบบ่อเลี้ยงปลา ควรทำด้วยความรอบคอบโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ลักษณะดิน ควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย น้ำไม่รั่วซึม สามารถเก็บกักน้ำได้ 4-6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นดินทราย หรือ ดินปนกรวด
2. ลักษณะน้ำ พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำตลอดปี หรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัย น้ำฝนเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบปีด้วย
3. แหล่งพันธุ์ปลา เพื่อความสะดวกในการลำเลียงปลามาเลี้ยง พื้นที่เลี้ยงไม่ควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งพันธุ์ปลา
4. ตลาด แม้ว่าหลังจากจับปลาขายจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงปากบ่อ แต่หากพื้นที่เลี้ยงอยู่ใกล้ตลาด จะทำให้ได้เปรียบในการขนส่งผลผลิต เพื่อการจำหน่าย อย่างไรก็ตาม บ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำจืด สามารถนำมาใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยได้

5.การให้คำแนะนำและติดตามสนับสนุนพื้นที่การดำเนินงาน พัฒนากรควรดำเนินการติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาหมอเพื่อเป็นอาชีพเสริม และเตรียมหาแนวทางการพัฒนาแปรรูปไปสู่การวางแผนพัฒนาสินค้ากลุ่มโอทอปต่อไป

อุปกรณ์ ->

ในการเพาะเลี้ยงครั้งแรกควรศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่เป็นตัวอย่างก่อน เพื่อป้องกันปัญหาในเรื่องของโรคที่พบในปลาหมอ และข้อผิดพลาดในการเลี้ยงต่างๆในเบื้องต้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรหาแนวทางการรวมกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงเพื่อสร้างกลุ่มอาชีพให้ยั่งยืน สามารถส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาหมอในบ่อดินเพื่อเป็นรายได้เสริมให้ครัวเรือนต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา