เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืน

โดย : นางวริชา เสาทอง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-07-14:54:56

ที่อยู่ : สพอ.ม่วงสามสิบ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                 ตามที่รัฐบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ และยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) โดยกำหนดยุทธศาสตร์การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจกรมการพัฒนาชุมชน ได้แก่การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง และมีเสถียรภาพซึ่งได้แก่ การพัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การอาชีพ การออม การบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน ชุมชน ผู้นำชุมชน องค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชน  และกรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดวิสัยทัศน์  “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง และชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี ๒๕๖๔”

                   เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชนมีประสิทธิภาพชุมชนพึ่งตอนเองได้โดยใช้พลังชุมชนในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนส่งเสริมและพัฒนาวิทยากรสัมมาชีพชุมชนสู่ความยั่งยืน เป็นการนำเอาองค์ความรู้ประสบการณ์ในการทำงานของวิทยากรสัมมาชีพแต่ละคนมาส่งเสริม/สนับสนุนงานที่เป็นเอกลักษณ์ของกรมการพัฒนาชุมชนในแต่ละด้านเพื่อสนับสนุนอาชีพครัวเรือนเป้าหมายนำไปใช้ในการประกอบสัมมาชีพสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ ->

๑.ศึกษาทำความเข้าใจวิสัยทัศน์ประเทศไทย วิสันทัศน์กรมการพัฒนาชุมชนในส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดจนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน

                   ๒.สร้างความเข้าใจกระบวนการทำงานร่วมกับทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ และกำหนดแผนการดำเนินงาน พื้นที่เป้าหมาย และทิศทางการทำงาน

                   ๓.ประชาสัมพันธ์โครงการในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับตำบล คณะกรรมการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบล(ศอช.ต.) อาสาพัฒนาชุมชน(อช.) ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.)และที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน เชิญชวนภาคีการพัฒนาเข้าร่วมบูรณาการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

                   ๔.ร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน(ศอช.ต.) ผู้นำ อช. และผู้นำชุมชนค้นหาปราชญ์ชุมชน และจัดทำทะเบียนปราชญ์ชุมชน

                   ๕.ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการฯตามแนวทางและกระบวนการ

                           ๕.๑ คัดเลือกปราชญ์สัมมาชีพหมู่บ้านละ ๑ คน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากร

                                 สัมมาชีพชุมชนระดับเขต/จังหวัด

                           ๕.๒ ปราชญ์สัมมาชีพคัดเลือกทีมวิทยากรปราชญ์สัมมาชีพระดับหมู่บ้านละ ๔ คน รวม ๕  คน เข้ารับการ

                                 เตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน

                                 -ทบทวนแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน

                                 -วางแผนการดำเนินงาน มอบหมายภารกิจ

                                 -ดำเนินการตามแนวทางการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

                         ๕.๓ ดำเนินโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน จำนวน ๑๓ หมู่บ้านๆ ละ ๕ วัน

                                 พัฒนาชุมชนร่วมกับทีมปราชญ์ชุมชนคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่สนใจฝึกอาชีพโดยพิจารณา

                                 จากครัวเรือนที่มีรายได้น้อยเป็นอันดับแรก หมู่บ้านละ ๒๐ครัวเรือนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม/

                                 โครงการฯ ดังนี้

                                 วันที่ ๑-๓ ปราชญ์สัมมาชีพชุมชนถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ครัวเรือนสัมมาชีพสร้างความรู้

                                              ความเข้าใจในเรื่องอาชีพที่ต้องการเรียนรู้(วิชาการ/ทฤษฎี/การสาธิตอาชีพ

                                              เบื้องต้น)

                                 วันที่ ๔   ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้

                                 วันที่ ๕    ฝึกปฏิบัติภายในครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑.เจ้าหน้าที่มีทัศนคติเชิงบวกต่องานส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนซึ่งเป็นงานใหม่ของกรมการพัฒนาชุมชน

                   ๒.กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจกระบวนการ  และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกกระบวนการ

                   ๓.เจ้าหน้าที่แนะนำช่องทางการแสวงหางบประมาณมาสนับสนุน ตลอดจนองค์ความรู้ในการเขียน

                        โครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

                   ๔.การเลือกอาชีพของกลุ่มเป้าหมายสอดคล้องกับบริบทและวิถีชีวิต

                   ๕. ปราชญ์สัมมาชีพมีจิตอาสา และมีทักษะในการถ่ายทอดองค์ความรู้

อุปกรณ์ ->

 ๑.ห้วงระยะเวลาในการทำงานควรมีความยืดหยุ่น

                    ๒.การขับเคลื่อนกิจกรรมไม่ควรถูกตีกรอบ ด้วยระยะเวลาในการเบิกจ่ายงบประมาณ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การดำเนินงานควรเป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการสร้างสัมมาชีพของชุมชน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา