เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

หมอแผนโบราณ

โดย : นายเสนาะน้อย สกุลพันธ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-28-16:20:04

ที่อยู่ : 34 ม.3 ต.ท่าโพ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มิปัญญาในการรักษากระดูกหักของหมอพื้นบ้าน เป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากครูหมอในท้องถิ่นประกอบด้วยองค์ความรู้ ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. การตรวจวินิจฉัยอาการ ๒. การรักษา/บำบัด ๓. การดูแลและการฟื้นฟู ๔. ความเชื่อและข้อห้ามในระหว่างการรักษา

วัตถุประสงค์ ->

การทาน้ำมัน น้ำมันที่หมอพื้นบ้านใช้มีหลายชนิด ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา น้ำมันละหุ่ง น้ำมันเลียงผา (ในกรณีที่มีบาดแผล) น้ำมันที่ใช้จะมีสรรพคุณบรรเทาอาการอักเสบ ประสานกระดูกให้ติดเร็วขึ้น ช่วยคลายเส้นและลดอาการบวม สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำมันทาหรือนวด อาทิ หัวไพร หญ้าแพรก ว่านนางคำ เถาเอ็นอ่อน พญาไร้ใบ ขมิ้น ใบพลับพลึง

การใช้คาถาอาคม หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่เชื่อว่าคาถาอาคมช่วยในการรักษากระดูกหัก รวมทั้งมีผลเชิงจิตวิทยาที่สร้างความมั่นใจหรืออบอุ่นใจให้กับผู้ป่วยและญาติพี่น้องที่มาให้กำลังใจ อาทิ การร่ายคาถาเสกทำน้ำมันคาถาประสานกระดูก คาถาช่วยลดอาการปวด คาถาห้ามเลือด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

การดูแลและการฟื้นฟู โดยหมอพื้นบ้านจะนัดผู้ป่วยมาดูอาการเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในช่วงแรกของการใส่เฝือก เพื่อมาดูแผลและทาน้ำมันให้ใหม่

ความเชื่อและข้อห้ามในระหว่างการรักษา อาทิ การห้ามไม่ให้ผู้ป่วยรับประทานของแสลง เช่น ข้าวเหนียว ของหมักดอง อาหารทะเล ปลาไม่มีเกล็ด ผักต่างๆ ที่เลื้อยเนื่องจากเชื่อว่าจะทำให้ปวดข้อและกระดูก และแผลหายช้า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุทัยธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา