ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าตีนจก

โดย : นางลำบอง หลวงมั่ง วันที่ : 2017-04-21-15:42:03

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 96/2 หมู่ที่ 1 ตำบลเด่นเหล็ก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              ผ้าทอตีนจก เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มทอผ้าบ้านท่าโพธิ์ มีลวดลายสวยงาม เป็นงานฝีมือที่มีความประณีตส่งคัดสรรผลิตภัณฑ์ในปี 2559 ได้ระดับ ๔ ดาว สร้างรายได้แก่ครัวเรือนและสมาชิกกลุ่ม

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิต

ขั้นตอนที่ ๑ การกรอด้าย

          การกรอด้ายเป็นการเตรียมด้ายสำหรับนำไปใช้เป็นด้ายยืนและด้ายพุ่ง โดยมีอุปกรณ์ในการกรอด้ายคือ เผี่ยน     โก้งกว้าง มะกวัก หลอดด้าย

          การกรอด้ายยืนเป็นการกรอด้ายที่เตรียมไว้สำหรับการโว้น เพื่อจัดทำเป็นด้ายยืนของการทอผ้า โดยใช้เผี่ยนเป็นอุปกรณ์ในการกรอด้าย ปัจจุบันใช้มอเตอร์ และใช้ท่อพีวีซี เป็นแกนหลอดในการกรอด้าย

         

          ขั้นตอนที่ ๒ การโว้น

          การโว้นเป็นการเตรียมด้ายเส้นยืน ให้ได้ความยาวที่จำนวนต้องการ เพื่อนำไปสืบในเขากับฟืม

วิธีการ

          นำได้ที่กรอใส่หลอดเรียบร้อยแล้ว (จากขั้นตอนที่ ๑) จำนวน ๒๐ หลอด มาใส่ในขาตั้งหลอดโดยวางด้านบน 10หลอดด้านล่าง 10 หลอดจากนั้นจะดึงด้ายทั้งหมดมาโว้นที่เผียขอ ๔ รอบ จะได้ 2 หลบ ถ้าใช้ฟืมเจ็ดจะต้องดึงด้าย๒๘ รอบ

          ขั้นตอนที่ ๓ การมัดเขาเหยียบ

          เป็นการกรอด้ายโว้น ให้ได้จำนวนที่ต้องการ เช่น ใช้ฟืมแปด จะต้องโว้นด้าย ๘ หลบ หนึ่งหลบมี ๑๐  อ่าน หนึ่งอ่านมี ๔ ช่องๆละ ๒ เส้น ใช้ด้าย ๘ เส้น การเก็บเขาจะเก็บทีละ ๑ เส้น ข้างบน ๑ เส้น ข้างล่าง ๑ เส้น สลับกันจะได้ ๔ จับ การทำเช่นนี้เพื่อให้สอดด้ายพุ่งได้

          ขั้นตอนที่ ๔ การป้อนฟันฟืม (การร้อยฟันหวี)      

          เป็นการนำฝ้ายต้นเขาเหยียบมาใส่ในฟันฟืม แล้วนำเอาไปสืบ (ต่อ) เข้ากับด้ายยืน การสอดด้ายเข้าฟันฟืม สมัยก่อนใช้ด้ายบางๆ ในการป้อนฟืม ปัจจุบันใช้โครเช/ตะไบเล็ก การสอดด้ายเข้าฟันฟืม สอดด้ายเข้าช่องละ ๒ เส้น

          ขั้นตอน ๕ การสืบเครือ

          การสืบเครือ เป็นการนำด้ายที่โว้นไว้มากางในกี่ เอาฟืมที่จะทอมาสืบกับเครือที่เรากางไว้ในกี่ ตัดด้ายแล้วเอามาทาบกัน แล้วต่อด้ายหมุนเกลียวให้แน่น     

          ขั้นตอนที่ ๖ การแกะลาย

          การแกะลายหรือการเก็บลาย เป็นการนำลายที่ออกแบบไว้ในแม่ลายเดิม มาจกล้วงเส้นยืนเพื่อการมัดเขา โดยใช้ไม้หลาบ หรือไม้ไผ่ปลายมนเหลาให้แบนฯ  จกเส้นด้ายให้พร้อมที่จะสอดด้ายให้ได้ตามแม่ลายที่ต้องการ

          ขั้นตอนที่ ๗ การมัดเขา (การเก็บตะกรอ)

          การมัดเขาเป็นวิธีการที่ทำให้การทอสะดวกและรวดเร็วในการสอดด้ายให้เกิดลายจกที่กำหนด แต่เดิมใช้วิธีจกล้วงเส้นยืนทีละเส้น แต่การยกเขาแค่ครั้งเดียวสามารถสอดด้าย ทั้งแนวการมัดเขาจะทำได้เพียงครึ่งดอก  การทอผ้าจกให้เกิดลวดลายต้องยกเขาเที่ยวไป เที่ยวกลับ ๒ เที่ยว เกิดลวดลาย ๑ ดอก

ขั้นตอนที่ ๘ การทอ

          การทอผ้าจกมีวิธีการทอเป็นขั้นๆ ดังนี้

          ขั้นแรก เมื่อเตรียมด้ายพุ่งและยืนเรียบร้อยแล้ว นำเอาด้ายยืนสืบต่อในเขาและฟันหวีและกางกี่หรือผูกเสร็จแล้วทำการพุ่ง

          ขั้นที่สอง การพุ่งขั้นแรกเอาหลอดด้ายเข้ากระสวย โดยใช้ด้ายในหลอดทางรูของกระสวย

          ขั้นที่สาม ใช้เท้าเหยียบไม้ เหยียบข้างใดข้างหนึ่ง โดยเอาข้างหนึ่งผูกมัดติดกันกับไม่เหยียบด้ายที่อยู่ในระหว่างเขาก็จะสลับขึ้นลงและมีช่องว่างตรงกลางจะกว้างหรือแคบก็แล้วแต่การเหยียบไม้เหยียบ

ขั้นที่สี่  ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งจับด้ามกระสวยพร้อมทั้งเงื่อนด้าย  ส่วนมืออีกข้างหนึ่งจับฟืม  หรือพันหวีให้อ้ากว้างออกไป  แล้วสอดกระสวยเข้าไปในช่องว่างของเส้นด้ายนั้น  แต่ต้องผลักให้ด้นขอบด้ายอีกข้างหนึ่งด้วย  ส่วนเงื่อนด้ายที่จับไว้อีกข้างหนึ่งนั้นก็คงไว้เช่นเดิม  ด้ายในกระสวยก็คลายออกมามาเองตามความกว้างของขอบผ้าและฟันหวี   เสร็จแล้วจึงดึงกระสวยออกจากขอบผ้านำมาวางไว้ก่อน เอามือไปจับ  ฟันหวีหรือฟืมพัดอัดกระแทกเข้ามาหาตัวเองจนกว่าจะเห็นว่าเข้าที่  หรือแน่นดีแล้วจึงเปลี่ยนเท้าเหยียบใหม่อีกข้างหนึ่งซึ่งจะสลับกับคราวที่แล้ว  ในขณะที่ฟืมสลับกันนั้นผู้เหยียบก็จะสอดกระสวยเข้าไปอีกทำดังนั้นไปเรื่อย ๆ จนได้ขนาดตามที่กำหนด (หรือ ยกเขาสอดเอกไม้ดาบใส่แล้วเอากระสวยพุ่ง    จับของฟืมกระแทกให้แน่น  แล้วยกเขาดอกเก็บลายใส่สีแล้วกระแทกให้แน่น  ตามด้วยเหยียบแล้วเอากระสวยพุ่ง  ทำไปเรื่อย ๆ จนได้ขนาดตามที่ต้องการ)

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา