ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เกษตรผสมผสาน

โดย : นายบุญส่ง เรืองเดช วันที่ : 2017-04-03-17:39:55

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 159 หมู่ที่ 11 ตำบลวังแดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              ปี 2547 ได้เข้าร่วมเรียนรู้การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและเรียนรู้ศึกษาดูงานกับศูนย์เรียนรู้ “รู้คิดรู้ทำ” เอาเทคนิคและการดำเนินชีวิตที่มีแต่การลงทุนโดยการนำสารเคมีเป็นหลักนั้น ให้ลดลง หันมาใช้การทำนาปลอดสาร โดยใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การวางแผน ลดต้นทุน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง ดูงานเพิ่มเติม เพื่อให้การทำนานั้นลองผิดลองถูกจนเราลดต้นทุนการใช้สารเคมีน้อยลง หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ทุนน้อยแต่ผลผลิตดี ปลอดภัย ดำเนินการมาหลายปีแล้ว

             ต่อมาปรับปรุงที่นาทำการปรับปรุงเป็นบ่อปลา ปลูกผักและเลี้ยงปลา กบ ในกระชัง เลี้ยงไก่พื้นเมือง โดยให้เป็นตู้เย็นในครัวเรือน สามารถนำผักที่เราปลูก ปลา กบ ไก่ ที่เราปลูกและเลี้ยงไว้ นำมาทำอาหาร ขาย หรือแบ่งปันกันกับเพื่อนบ้าน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ระบบเกษตรผสมผสาน เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น
ตามแนวคิดดังกล่าวมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
                   1) ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป
                   2) ต้องเกิดการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมต่างๆ                                                
  วิธีการแบ่งสัดส่วนกิจกรรมเกษตรระบบผสมผสาน
 เกษตรผสมผสานเป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร การจัดการพื้นที่แบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ 30:30:30:10    ดังนี้                                   

           ขุดสระเก็บกักน้ำ  
พื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ
           ปลูกข้าว 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารพึ่งตนเองได้
           ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกัน และหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภคก็นำไปขายได้
            เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
พื้นที่ประมาณ 10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ นี่เป็นทฤษฎีปฏิบัติจริง พื้นที่เป็นนาทั้งหมดหรือไร่สวนด้วย
           จุดเด่นของการเกษตรผสมผสาน 
                   1) การลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของรายได้
                   2) รายได้สม่ำเสมอ
                   3) การประหยัดทางขอบข่าย ค่าใช้จ่ายในไร่นาลดลง มีรายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น
                   4) ลดการพึ่งพิงจากภายนอก
                   5) ลดการว่างงานตามฤดูกาล มีงานทำทั้งปี ทำให้ลดการอพยพแรงงาน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา