ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การตีมีดทำครัว มีดตัดหวาย ดาบเหล็กน้ำพี้ และการถลุงแร่เหล็กน้ำพี้

โดย : นายไทย ทิมโค่น วันที่ : 2017-04-03-16:53:43

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 7/1 หมู่ที่ 9 ตำบลน้ำพี้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

         บ้านน้ำพี้ หมู่ที่ 9 ตำบลน้ำพี้ฯ เป็นหมู่บ้านที่มีแร่เหล็กน้ำพี้อยู่แห่งเดียวในประเทศไทย  ราษฏรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร และหัตถกรรม (การตีดาบเหล็กน้ำพี้ สร้อยลูกประคำ พระพุทธรูป พระยาพิชัยดาบหักจากแร่เหล็กน้ำพี้ และผลิตภัณฑ์จากแร่เหล็กน้ำพี้) ทำให้ราษฏรมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากแร่เหล็กน้ำพี้ ต่อมาได้มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็น กลุ่มวิสาหกิจดาบเหล็กน้ำพี้ โดยมี นายไวพจน์ เพ็งเปิ้น เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิกจำนวน 25 คน และได้ลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่อง นายไทย ทิมโค่น ช่างตีมีด ได้นำเหล็กแหนบมาทดลองตีเป็นมีดทำครัวจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าหรือผู้สนใจ เนื่องจากมีราคาถูกกว่ามีดที่ทำจากแร่เหล็กน้ำพี้

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

               ขั้นตอนแรก ให้จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และส่วนประกอบการตีมีดทำครัว ได้แก่

               - ค้อนปอนด์       

               - ค้อนขนาดเล็กสำหรับตกแต่ง

               - คีมจับเหล็ก

               - เตาเผา  

               - ถ่าน     

               - ทั่งรองสำหรับตีมีด

               - เครื่องเป่าลม หรือสูบลมเพื่อใช้เป่าไฟ   

               - โรงเรือนการตีมีด

               - น้ำทองเหลือง   

               - น้ำธรรมดา      

               - ปากกาจับมีด

               - สารทอง (ใช้ผสมกับน้ำธรรมดา)

               - เหล็กแหนบ (ใช้สำหรับการตีมีด)

               - สว่านเจาะ (ใช้เจาะไม้)

           ขั้นตอนการตีมีดทำครัว

           1. การขึ้นรูปมีด เริ่มจากการตัดเหล็กเป็นหุ่นมีดให้ได้ขนาดและชนิดที่ต้องการ นำไปเผาไฟให้แดงโดยใช้ค้อนหรือพะเนินตี (แล้วแต่ขนาดของมีด) ให้ได้รูปร่างมีดตามที่ต้องการ ต้องเผาเหล็กให้แดงหลายครั้งซึ่งก็แล้วแต่ขนาดของมีด

           2. การซ้ำ หลังจากได้รูปร่างมีดที่ต้องการแล้ว นำมาเผาไฟให้แดงแล้วตีซ้ำเพื่อเก็บรายละเอียดของมีดให้เหมือนสภาพที่ต้องการทำ เป็นการแต่งสันมีด การตีแผ่ด้านคมมีดให้บาง การตีกั่นสำหรับเข้าด้าม หรือการห่อบ้องที่ด้ามมีดเป็นเหล็กชิ้นเดียวกันกับตัวมีด

           3. การไห่ เป็นการใช้ค้อนตีที่เนื้อเหล็กในขณะที่เหล็กเย็นตัว โดยปล่อยให้เหล็กเย็นตัวเองแล้วใช้ค้อนตีที่เนื้อเหล็ก โดยเฉพาะแถบทางคมมีด จะทำให้เนื้อเหล็กมีความแน่นตึง จากนั้นดัดตัวมีดให้ตรงเพื่อนำไปขูดคมจะทำให้มีดที่มีความคมทน

           4. การขูดคม ใช้เหล็กขุดขูดคมให้บางหรือขูดตัวมีดให้ขาวไม่มีรอยค้อน ทำให้ตัวมีดสวยงามจากนั้นใช้ตะไบขัดตัวและคมมีดให้ได้คมตามชนิดของมีดที่ทำ ถ้ามีดที่ใช้งานหนักคมจะหนากว่ามีดที่ใช้งานเบา จากนั้นแต่งตัวมีด สันมีดให้หมดคมไม่เป็นอันตราต่อผู้ใช้

           5. การชุบ เมื่อได้ตัวมีดที่สมบูรณ์แล้ว ทำการชุบโดยต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ คือต้องรู้ชนิดของเหล็กว่าจะชุบด้วยไฟแรงขนาดเท่าไร การดูเนื้อเหล็กที่ชุบว่าแข็งแกร่งพอหรือไม่ เหมาะสมกับชนิดมีดหรือไม่ การชุบจะทำให้คมมีดมีความคมทน

           6. การเข้าด้าม เมื่อได้ตัวมีดที่ชุบแข็งแล้ว ก็จะนำมาเข้าด้าม ซึ่งจะเลือกด้ามตามความต้องการของตลาด เช่น ด้ามไม้ ด้ามอลูมีเนียม หรือด้ามเขาสัตว์ เมื่อเข้าด้ามเสร็จแล้วจึงนำไปปัดให้เรียบไม่มีคมหรือเสี้ยน จากนั้นจึงทาสีด้ามด้วยแลกเกอร์

          7. การลับคม จะทำการลับคมมีดด้วยหินลับมีดที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เพื่อให้คมบาง และตัวมีดขาวสวยงามพร้อมที่จะนำไปใช้ เสร็จแล้วทาน้ำมันเพื่อกันสนิม ห่อกระดาษหรือใส่ภาชนะเพื่อป้องกันการกระทบกับอากาศหรือความชื้นซึ่งอาจทำให้เกิดสนิม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา