ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเห็ดนางฟ้า

โดย : นายสิน ปานานนท์ วันที่ : 2017-04-03-15:40:02

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 11 ตำบลน้ำหมัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

             เดิมที่ทำอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก แต่เห็นว่าการทำการเกษตรอย่างเดียวมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว จึงลองแสวงหาอาชีพเสริม จากนั้นได้เข้ารับการอบรมและได้ดำเนินการทำเห็ดนางฟ้า เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี มีโรงเรือนทำเป็นอาชีพเสริม ตอนนี้กลายเป็นอาชีพหลัก และมีหน่วยงานต่างๆ เชิญเป็นวิทยากรในการบรรยาย

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                   1. การทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้า การก้อนเห็ดนางรม มีความจำเป็นต้องหาวัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องเตรียมตัวก่อนดังนี้ เริ่มจากขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน หรือขี้เลื่อยยางพารา ในส่วนของทางปฏิบัตินั้นขี้เลื่อยยางพาราจะเป็นตัวที่ให้ผลดีที่สุด จากนั้นให้หาส่วนผสมต่าง ๆ เพื่อให้เราได้คุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น ในส่วนของสูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดนางรม ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้ามีส่วนผสมหลัก ๆ ดังต่อนี้

                   ขี้เลื่อยยางพาราแห้งสนิท 100 กิโลกรัม

                   หินปูนหรือผงชอล์ก 1 กิโลกรัม

                   ข้าวโพดป่น 3 – 5 กิโลกรัม

                   รำละเอียด 6 – 8 กิโลกรัม

                   น้ำเปล่า 80 กิโลกรัม

                   ปูนยิบซัม 1 กิโลกรัม

                   ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม

                   EM ปริมาณ 1 ลิตร

                   เมื่อหาส่วนผสมมาครบแล้ว ให้ทำการตากกองขี้เลื่อยยางพาราไว้กับแดด ประมาณ 7 วัน จากนั้นค่อย ๆ เริ่มทำการผสม โดยให้เราทำการเติมน้ำเปล่าลงประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ แล้วให้ทำการทดสอบโดยการกำส่วนผสม ถ้าหากว่ากำแล้วมีน้ำซึมออกมาตามง่ามมือนั้น แสดงว่าเพื่อน ๆ ผสมน้ำมากเกินไป แต่ถ้าหากบีบมือแล้วขี้เลื่อยแตกเป็น 3 ก้อน นั่นแสดงว่าการผสมใช้ได้ เราเรียกว่าพอดี แต่ถ้าว่าเรากำแล้วแบมือออก ขี้เลื่อยจับตัวไม่เป็นก้อน นั่นแสดงว่าเพื่อน ๆ เติมน้ำน้อยเกินไป เมื่อเราผสมเข้ากันได้ที่อย่างพอดีแล้ว ก็ให้ทำการกรอกใส่ถุงเพาะเห็ดนางฟ้า ถุงเพาะเห็ดนางรม ใส่ถุงให้ได้น้ำหนักประมาณ 800 – 900 กรัม แล้วหลังจากนั้นก็ให้เริ่มทำการรวบรวมปากถุงเห็ด กระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอประมาณ แล้วให้ทำการใส่คอขวด

                   2. วิธีเพาะเห็ดนางฟ้า การเพาะเห็ดนางรม วิธีการหยอดเชื้อเห็ด เมื่อทำก้อนเชื้อเห็ดเสร็จแล้ว เราก็นำก้อนเชื้อที่ได้มาทำการหยอดเชื้อ และบ่มเชื้อเห็ดนางฟ้า เชื้อเห็ดนางรม ตามลำดับ ซึ่งก่อนอื่นเลย ก้อนเชื้อที่ได้มานั้นเราจะนำมาทำการนึ่ง ( เพื่อฆ่าเชื้อ ) ถ้ามีหม้อนึ่งความดันอยู่แล้วให้นึ่งที่ความดัน 25 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ให้ใช้ระยะเวลาในการนึ่ง ที่ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ถ้าหาก ไม่มีหม้อนึ่งความดันอาจให้เลือกใช้ หม้อนึ่งจากถังน้ำมัน 200 ลิตร แทนได้ โดยต้องทำการนึ่ง ประมาณ 3 ครั้ง ใช้อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และใช้ระยะเวลาในการนึ่งประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ( ทำแบบนี้ 3 ครั้ง ) เมื่อผ่านขั้นตอนการนึ่งฆ่าเชื้อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะเริ่มทำการหยอดเชื้อเห็ดลงสู่ก้อนเชื้อที่ได้เตรียมไว้ เชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่างนั้น ควรหยอดเชื้อลงในประมาณ 20 – 25 เมล็ด เมื่อเราหยอดเชื้อลงสู่ก้อนเชื้อเห็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เราทำการปิดปากถุงก้อนเชื้อ หลังจากนั้นให้บ่มเชื้อเห็ดในขั้นตอนถัดไป การบ่มเชื้อนั้นต้องนำก้อนไปบ่มไว้ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 – 25 วัน ซึ่งกรรมวิธีการบ่มเชื้อเห็ดก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากมาย เพียงแต่เราต้องเก็บให้เป็นระเบียบ ไม่ให้มันถูกฝน ถูกแดด ลมไม่โกรก ไม่มีหนู ไม่มีแมลง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกนั่นเอง

                   3. วิธีเก็บเห็ดนางฟ้า วิธีการเก็บเห็ดนางรม หลังจากที่ได้ทำการบ่มเชื้อเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าในโรงเพาะเห็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นช่วงเวลาของการเปิดดอกเห็ด และทำการเก็บเกี่ยวดอกเห็ดนางรม ดอกเห็ดนางฟ้าของเรา เห็ดจะออกดอกเมื่อมีความชื้นสูงพอ ออกเมื่ออากาศไม่ร้อนมาก เมื่อเห็ดถูกเหนี่ยวนำด้วยอากาศเย็นตอนกลางคืน จะทำให้ออกดอกได้ดี เทคนิคที่ทำให้เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรมออกดอกอย่างสม่ำเสมอ และเห็ดออกดอกใหญ่ ๆ สามารถทำได้ดังนี้  เมื่อ เก็บดอกเห็ดเสร็จแล้ว ต้องทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อเห็ด โดยเขี่ยเศษเห็ดออกให้หมด แล้วงดให้น้ำประมาณ 3 วัน เพื่อให้เชื้อฟักตัว แล้วค่อยกลับมาให้น้ำอีกตามปกติ เห็ดของเราก็จะเกิดเยอะเหมือนเดิม หรือเมื่อเก็บดอกเห็ดเสร็จ ให้ทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อ แล้วรัดปากถุงเพื่อไม่ให้อากาศเข้า ทิ้งก้อนเห็ดไว้ประมาณ 2 – 3 วัน แล้วค่อยให้น้ำปกติ เมื่อเปิดปากถุงก็จะเกิดดอกที่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นวิธีการการเหนี่ยวนำให้เห็ดออกดอกพร้อมกัน เมื่อเห็ดของเราออกดอก และบานจนได้ขนาดที่ต้องการแล้ว ให้เริ่มเก็บดอกโดยจับที่โคนดอกทั้งช่อ คือ โยกซ้าย – ขวา – บนล่าง แล้วให้ดึงออกจากถุงเห็ด ต้องค่อย ๆ ระวังอย่าให้ปากถุงเห็ดบาน ถ้าดอกเห็นโคนขาดติดอยู่ ให้เราแคะออก และทิ้งให้สะอาดเพื่อป้องกันการเน่าเสีย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอนจากการวางไข่ของแมลงได้ วิธีการการดูลักษณะดอกเห็ดที่ควรเก็บนั่นก็คือ ดอกไม่แก่ หรือดอกไม่อ่อนจนเกินไป ให้ดูที่ขอบดอก ถ้ายังงุ้มอยู่คือดอกที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว แต่ถ้าขอบยกขึ้นแสดงว่าแก่แล้ว เป็นดอกเห็ดที่แก่จัด และจะออกสปอร์เป็นผงขาวด้านหลังดอกเห็ด เราต้องรีบเก็บออก เพราะสปอร์จะเป็นตัวชักนำแมลงเข้ามาในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า และเห็ดนางรมของเรา

                   4. เผยแพร่องค์ความรู้โดยการเป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้ในชุมชน/หมู่บ้าน และตำบล เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา