ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำข้าว

โดย : นายประเดิม โชติสุข วันที่ : 2017-04-02-14:03:16

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 45/2 หมู่ที่ 7 ตำบลหาดกรวด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                   ในอดีตนั้นชาวนา ยิ่งทำนายิ่งรวย แต่ไม่ใช่กับชาวนาสมัยนี้เพราะยิ่งทำยิ่งจน นั่นเพราะเขามองว่าข้าวนั้นเป็นเพียงสินค้า ไม่ใช่อาหารที่มีเพื่อเลี้ยงชีพและแบ่งปัน เมื่อชาวนาไม่ได้เคารพดิน เคารพธรรมชาติ มันจึงกลายเป็นว่าเสื่อมลง อีกทั้ง คนเดี๋ยวนี้มีแต่ปัญญาใช้ความรู้แต่ไม่มีความศรัทธา ซึ่งความจริงแล้วผมมองว่าทั้ง 2 สิ่งต้องมาด้วยกัน ไม่ได้หมายความว่าต้องศรัทธาหรือเชื่ออย่าง งมงาย เพียงแต่ต้องทำควบคู่กันเพื่อให้เจริญก้าวหน้า

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                   1. การเตรียมดิน ควรใช้มูลสัตว์หมักแห้ง  หว่านในนาข้าวก่อนการไถครั้งแรก  โดยใช้อัตรามูลสัตว์ หมักแห้ง  200  กก./ไร่  และควรหมักดินหลังจากไถไว้อย่างน้อย  5  วัน  เพื่อลดจำนวนวัชพืช

                   2. การปรับปรุงบำรุงดิน ไม่เผาตอซังเพราะจะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุ  ระบายน้ำเข้านาแล้วใช้  น้ำหมักชีวภาพ  จำนวน 2 ลิตรต่อน้ำ 20  ลิตร  ราดในนาข้าวทิ้งไว้ 1 คืน จึงใช้รถเหยียบย่ำ  ในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์ ควรเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่นาเพื่อถ่ายมูล นอกจากนี้ควรปลูกต้นงิ้วเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินจากส่วนใบและดอกงิ้ว  ควรปลูก 4 – 5 ต้น/ไร่

                   3. การคัดพันธุ์ข้าว ใช้พันธุ์จากแหล่งของทางราชการ ควรมีการจัดทำแปลงพันธุ์เพื่อเตรียมพันธุ์ ในฤดูการเพาะปลูกต่อไป นอกจากนี้ควรมีการคัดเลือกจุดเพื่อกำหนดเอาไว้ทำพันธุ์ โดยการคัดเลือกจุดที่มีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ปราศจากโรคแมลงและวัชพืช และควรเก็บเมล็ดพันธุ์ใช้เอง 2 – 3 ครั้ง

                   4. อัตราเมล็ดพันธุ์ต่อไร่ เป็นไปตามลักษณะประจำพันธุ์ เช่น ปทุมธานี 1 ใช้ 15 กก./ไร่ ชัยนาท 1  ใช้ 20 กก./ไร่ ขาวมะลิ 105 ใช้ 10 กก./ไร่  พิษณุโลก 1,3,5  ใช้  25 – 30  กก./ไร่

                   5. การใช้ปุ๋ย ใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่น  3  ครั้ง/เดือน เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี และใช้ปุ๋ยหมักแห้งใน         ช่วงเตรียมดิน

 

 

                   6. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว

                             6.1 วัชพืช  ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรฆ่าวัชพืช โดยการฉีดพ่นช่วงระยะฉีดพ่นในนาข้าวจะต้องมีน้ำ ถึงจะเห็นผล  อัตราการใช้ 4 ช้อนแกง/น้ำ 1 ปี๊บ

                             6.2 แมลง มีการตรวจแปลงเพื่อติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชในนาข้าวทุกวัน เช้า – เย็น  สังเกต ความผิดปกติของข้าวและดูแลสุขภาพข้าวให้แข็งแรงเสมอ

                             6.3 หอยเชอรี่  ใช้ฝักคูนแห้ง บดละเอียด ช่วงที่ทำเทือก  20  กก./ไร่  และใช้มะกรูด ยอดสะเดา  ยอดยูคา ต้มเอาน้ำมาผสมกันแล้วลาดลงในนา  ปริมาณ  3 ลิตร/ไร่

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา