ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสานไม้ไผ่

โดย : นายชุมพร เหล็กรัตน์ วันที่ : 2017-04-02-12:50:46

ที่อยู่ : 61 หมู่ที่ 9 ตำบล บ้านด่าน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                    ในการประกอบอาชีพการจักสานไม้ไผ่   นายชุมพร   เหล็กรัตน์  ได้แสวงหาความรู้จากคนที่ชำนาญการสานไม้ไผ่  ส่วนใหญ่ก็เป็นอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป  เช่นสุ่มไก่   แปลนอน  แปลเด็ก  กระด้ง ฯลฯ

สุ่มไก่  เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งในการขังไก่  ปัจจุบันยังเป็นที่นิยมใช้ยู่ ถึงแม้ว่าจะมีอายุการใช้งานไม่นาน  แต่ก็สามารถใช้งานได้ไม่เกิน  3  ปี  เพราะสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย  สะดวกและเบา

                   จังหวัดอุตรดิตถ์  ประชาชนนิยมเลี้ยงชนกันอย่างแพร่หลาย  จึงทำให้สุ่มไก่ยังสามารถจำหน่ายเสมอมา  นายชุมพร  เหล็กรัตน์  เป็นคนหนึ่งที่มีความรู้ในการสานสุ่มไก่จำหน่าย  เป็นอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำนา  ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น  ถึงแม้ว่าจะทำขายเฉพาะในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ก็ตาม  ราคาจำหน่ายตามขนาดของสุ่ม 200-400บาท

ต่อใบ  ไม้ไผ่ที่ใช้จะต้องมีความเหนียวและอ่อนตัวได้ดี  อายุประมาณ  5  ปี  หาจากในหมู่บ้านบ้าง  ซื้อมาจากหมู่บ้านอื่นบ้าง  ราคาลำละ  15  บาท

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

                                อุปกรณ์การทำจักสานไม้ไผ่

                             1.  เลื่อย

                             2.  มีดขูดผิวไผ่

                             3.  มีดผ่าไม้ไผ่

                             4.  มีดจักตอกและเหลาตอก

                             5.  ตลับเมตร

                             6.  คีม,กรรไกร,เหล็กปลายแหลม

                             7.  ที่เลียดตอก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีทำ

                   1.  จักตอกไม้ไผ่

                             1.1  เลื่อยตัดไม้ไผ่ยาวตามขนาดที่ต้องการ

                                           1.2  ผ่าไม้ไผ่ออกมาเป็นเส้นๆ

1.3  จักไผ่เป็นตอกยืน  กว้างประมาณ  1.3  ชม. – 1.7 ชม.  ตอกยาวขนาด  0.8 ชม.

ไม้  1  ลำ จะสานสุ่มไก่ได้ 1 – 2  ใบ

                                                1.4  ส่วนที่เป็นข้อไผ่ (ข้อที่มีตาไผ่)  ทำหมุดยึดหัวสุ่ม

                   2. การสานสุ่มไก่

2.1 เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด

2.2 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม  เพื่อยึดสุ่มไก่ไว้ในการสานขึ้นรูปสุ่มไก่

2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม

2.4 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้น

2.5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวตีนสุ่มไก่ทิ้งไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา