ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำน้ำพริกแกง

โดย : นางจันทร์ทร อักษรไชย วันที่ : 2017-04-02-12:46:14

ที่อยู่ : 125/1 หมู่ที่ 4 ตำบลคุ้งตะเภา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                   คนไทยรู้จักปลูกพริกและมีวิธีบริโภคพริกหลายรูปแบบ ทั้งในลักษณะสด แห้ง เผา และแกง ซึ่งมักแบ่งพริกออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่เผ็ดมากซึ่งได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูไทย และพริกเหลือง กับกลุ่มที่เผ็ดน้อยซึ่งได้แก่ พริกหยวก พริกชี้ฟ้า และพริกฝรั่ง ถึงแม้ว่าเราจะคุ้นเคยกับพริกดีเสียจนทำให้คิดไปว่าพริกเป็นพืชพื้นเมือง แต่นักประวัติพฤกษศาสตร์ได้พบว่า ถิ่นกำเนิดพริกคือทวีปอเมริกากลางและใต้ และจากที่นั่นนักผจญภัยก็ได้นำพริกมาปลูกเผยแพร่ในยุโรป แล้วจากยุโรปพริกก็ถูกนำไปปลูกแพร่พันธุ์ทั่วโลก หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าชาวอินเดียใน Mexico รู้จักบริโภคพริกเป็นอาหารมานานร่วม 9,000 ปีแล้ว เพราะอุจจาระที่เป็นก้อนแข็งที่พบที่เมือง HuacaPrieta มีซากเมล็ดพริกที่มีอายุประมาณ 9,000 ปี การศึกษาวิถีชีวิตของชนเผ่า Olmec, Toltec และ Aztec ต่างก็แสดงให้รู้ว่าชาวอินเดียนเหล่านี้รู้จักปลูกและบริโภคพริกเช่นกัน      นอกจากนี้นักประวัติศาสตร์ยังได้ขุดพบซากของต้นพริกที่มีอายุกว่า 2,000 ปี ในเทวสถานของเปรูด้วย หรือแม้แต่ลายปักเสื้อผ้าของคนอินเดียนที่อาศัยอยู่ในเปรู เมื่อ 1,900 ปีก่อน ก็มีลวดลายปักเป็นต้นพริกการศึกษาประวัติการเดินทางของพริกจากทวีปอเมริกาสู่โลกภายนอก ทำให้เรารู้ว่า Alvarez Chanca ชาวสเปนเป็นบุคคลแรกที่นำพริกสู่ประเทศตน ในปี 2036 และคนสเปนเรียกพริกว่า Chili อันเป็นชื่อของประเทศที่ให้กำเนิดพริกในอเมริกาใต้    และอีก 55 ปีต่อมา  ชาวอังกฤษก็เริ่มรู้จักพริก เมื่อถึงปี 2098 บรรดาประเทศต่าง ๆ ในยุโรปกลางก็เริ่มรู้จักพริกกันแล้ว และเมื่อถึงปี 2300 พ่อค้าชาวโปรตุเกสก็ได้นำพริกจากยุโรปไปปลูกในอินเดียและเอเชียอาคเนย์

                   กลุ่มแม่บ้านคุ้งตะเภา มีแนวคิดริเริ่มที่จะทำพริกแกงสูตรต่าง ๆ เพื่อจำหน่าย ในหมู่บ้านและในตำบล โดยมีสมาชิกในกลุ่มแม่บ้านที่ว่างจากการทำการเกษตร รวมกลุ่มกันผลิตน้ำพริก เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

                   พริกแกงเผ็ด  วัตถุดิบประกอบด้วย 

                             1. พริกแห้งใหญ่ 2 กิโลกรัม

                             2. พริกแห้งเล็ก 3 กิโลกรัม

                             3. ข่า 5 กิโลกรัม

                             4. ตะไคร้ 5 กิโลกรัม

                             5. กระชาย 2.5 กิโลกรัม

                             6. กะปิ 8 กิโลกรัม

                             7. มะกรูด 5 กิโลกรัม

                             8. หอมแดง 3 กิโลกรัม

                             9. กระเทียม 3 กิโลกรัม

                             10. พริกไทย 2 ขีด

                             11. เกลือ 3 ขีด    (ได้พริกแกงประมาณ 40 กิโลกรัม)
 

                   พริกแกงเขียวหวาน วัตถุดิบประกอบด้วย\

                             1. พริกเหลือง 2 กิโลกรัม

                             2. พริกขี้หนูแดง 2 กิโลกรัม

                             3. พริกขี้หนูเขียว 13 กิโลกรัม

                             4. ข่า 10 กิโลกรัม

                             5. ตะไคร้ 10 กิโลกรัม

                             6. มะกรูด 6 กิโลกรัม

                             7. หอมแดง 4 กิโลกรัม

                             8. กระเทียม 4 กิโลกรัม

                             9. กะปิ 7 กิโลกรัม

                             10.เครื่องเทศ 2 ขีด

                             11.เกลือ 2 ขีด        (ได้พริกแกงประมาณ 40 กิโลกรัม)

 

                   พริกแกงส้ม วัตถุดิบประกอบด้วย

                             1. พริกแห้งใหญ่ 2.2 กิโลกรัม

                             2. หอมแดง 2.5 กิโลกรัม

                             3. กระเทียม 1 กิโลกรัม

                             4. กระชาย 5 กิโลกรัม

                             5. กะปิ 8 กิโลกรัม

                             6. เกลือ 2 ขีด      (ได้พริกแกงประมาณ 16 กิโลกรัม)

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                   พริกแกงหรือเครื่องแกง หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการปรุงแกง มีพริก กะปิ หอม กระเทียม เป็นต้น น้ำพริกแกงเป็นส่วนผสมที่สำคัญในแกงไทยหลายชนิด เช่น แกงส้ม แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงบอน แกงคั่ว แกงมัสมั่น แกงไตปลา แกงแค แกงอ่อม เป็นต้น ในแกงแต่ละชนิดก็จะมีส่วนผสมหลักเหมือนกัน แต่ต่างกันในเรื่องจำนวน ปริมาณ หรือเครื่องเทศบางชนิด ซึ่งทำให้แกงแต่ละชนิดมีกลิ่นเฉพาะตัว โดยมีหลักในการเลือกและการเตรียมดังต่อไปนี้

                   1. พริกที่ใช้ในการโขลกน้ำพริกแกงใช้ได้ทั้งพริกสดและแห้ง ถ้าต้องการเผ็ดมากจะใช้พริกขี้หนู เผ็ดน้อยใช้พริกชี้ฟ้า

                             - พริกสด เลือกเม็ดแก่ สดใหม่ ไม่มีรอยเน่า ไม่มีแมลงกัดแทะ ล้างให้สะอาดผึ่งให้แห้ง หั่นเป็นชิ้น

                             - พริกแห้ง เลือกที่ไม่เป็นรา สีแดงเข้ม เมื่อโขลกแล้วจะได้เครื่องแกงที่มีสีแดงสวย ผ่าแกะไส้ในและเมล็ดออก หั่นแช่น้ำให้นิ่ม ไม่ควรใช้น้ำร้อนเพราะจะทำให้สีและรสเผ็ดของพริกละลายไปกับน้ำ ก่อนโขลกบีบเอาน้ำออกให้หมด

                   2.  หอมแดง เลือกที่ไม่เน่า ปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด พักให้สะเด็ดน้ำ หั่นให้ชิ้นเล็กจะได้โขลกได้ง่ายขึ้น

                   3. กระเทียม เลือกที่สด ไม่ฝ่อ ปอกเปลือกล้างให้สะอาด พักให้สะเด็ดน้ำ ถ้าหัวใหญ่ให้หั่นจะโขลกง่าย

                   4. กระชาย เลือกรากอ้วน ๆ สด ล้างน้ำ ขูดผิวออก หั่นขวางบาง ๆ

                   5. ข่า เลือกข่าแก่ในการทำเครื่องแกง ขูดรอยใบออก ล้างน้ำหั่นขวางบาง ๆ

                   6. ขิง เลือกขิงแก่ เตรียมเช่นเดียวกันกับกระชาย

                   7. ขมิ้น นิยมใช้ขมิ้นชันและขมิ้นอ้อย ขมิ้นชันจะมีสีเหลืองเข้มและกลิ่นฉุนกว่าขมิ้นอ้อย แต่มีขนาดเล็กกว่า แต่ในเครื่องแกงไทยนิยมใส่ขมิ้นอ้อย เพราะกลิ่นไม่แรง ส่วนขมิ้นชันจะใช้ในเครื่องแกงพะโล้ ปอกเปลือกก่อนโขลก

                   8. มะกรูด จะใช้ผิวในการโขลกเครื่องแกง ใช้มีดคม ๆ ฝานเอาเฉพาะผิวสีเขียว อย่าให้ติดผิวสีขาว หั่นบาง ๆ 

                   9. ตะไคร้ ใช้ส่วนลำต้น ล้างให้สะอาด หั่นขวางบาง ๆ 

                   10. รากผักชี ล้างให้สะอาด ตัดเหนือจากโคนลำต้นขึ้นมา ½ นิ้ว เพราะส่วนนี้จะหอม หั่นให้ละเอียด

                   11. เครื่องเทศแห้ง ได้แก่ ลูกผักชี ยี่หร่า ลูกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู อบเชย ต้องน้ำไปคั่วให้หอมก่อน ลูกจันทน์ต้องทุบเปลือกแข็งออก บุบเนื้อให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนคั่ว ลูกกระวานที่คั่วแล้วแกะเปลือกออกใช้แต่เม็ดใน กานพลูแกะเอาเกสรออก อบเชยหักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนคั่ว ส่วนพริกไทยเป็นเครื่องเทศแห้งชนิดเดียวที่ไม่ต้องคั่วก่อนใช้งาน การคั่วให้ใช้ไฟอ่อน คั่วทีละอย่างเพราะมีขนาดไม่เท่ากัน ถ้าคั่วพร้อมกันจะทำให้เหลืองไม่พร้อมกัน

                   ขั้นตอนการผลิต

                   1. ล้างวัตถุดิบทุกอย่างให้สะอาด

                   2. แช่พริกแห้ง

                   3. หั่นย่อย ข่า, ตะไคร้, กระชาย, ปอกผิวมะกรูด, ปอกหอมแดง, ปอกกระเทียม

                   4. รวมวัตถุดิบทั้งหมดใส่เครื่องบดพริก บดหยาบ 3 รอบ บดละเอียด 2 รอบ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา