ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะปลูกข้าว

โดย : นางจำเนียร จีนขวั้น วันที่ : 2017-03-22-15:55:41

ที่อยู่ : 72 หมู่ที่ 9 ตำบล วังกะพี้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบัน การปลูกข้าวในประเทศไทย คงมีเพียงข้าวเมล็ดป้อมที่พบมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ขณะที่ข้าวเมล็ดยาว พบมากในภาคกลางและภาคใต้ ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกข้าว คิดเป็น 45 % ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพดีที่สุดของโลก ข้าวที่ปลูกในพื้นที่แถบนี้จึงมักปลูกไว้เพื่อขาย รองลงมาคือ ภาคกลาง และภาคเหนือ ที่พื้นที่เพาะปลูกเท่ากันประมาณ 25%

ทุกวันนี้ไทยเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ผลิตออกสู่ตลาดโลกมากที่สุด และเป็นศูนย์กลางของการศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของผู้สร้างตำนานแห่งอารยะธรรมธัญญาหาร ของมนุษยชาติ

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกข้าว    ในปัจจุบันมีหลายวิธีมาก แต่ขอแบ่งเป็นการปลูกข้าวหลักๆ 2 วิธี ดังนี้คือ

1. การปลูกโดยใช้เมล็ดข้าวโดยตรง  คือ การใช้เมล็ดข้าวในการเพาะปลูก

2. การปลูกโดยใช้ต้นกล้า   คือ การปลูกข้าวโดยนำต้นกล้าที่ปลูกไว้อีกที่หนึ่งมาปักดำ

+การปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดสามารถแบ่งออกเป็นหลายวิธีดังนี้+

1. การหว่านข้าว  การหว่านยังสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ คือ

           - การหว่านข้าวแห้ง แบ่งตามระยะเวลาในการหว่านได้ 3 วิธีคือ การหว่านข้าวหลังขี้ไถ ใช้ในกรณีที่ฝนมาล่าช้าและตกชุก มีเวลาเตรียมดินน้อย จึงมีการไถดะเพียงครั้งเดียวและไถแปรอีกครั้งหนึ่ง แล้วหว่านเมล็ดข้าวลงหลังขี้ไถ เมล็ดพันธุ์อาจเสียหายเพราะหนู และอาจมีวัชพืชในแปลงนามาก

  • การหว่านข้าวคราดกลบ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด จะทำหลังจากที่ไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วคราดกลบ จะได้ต้นข้าวที่

งอกสม่ำเสมอ

         - การหว่านข้าวไถกลบ มักทำเมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องหว่านข้าว แต่ฝนยังไม่ตกและดินมีความชื้นพอควร หว่านเมล็ดข้าวหลังขี้ไถแล้วไถแปรอีกครั้ง เมล็ดข้าวที่หว่านจะอยู่ลึกและเริ่มงอกโดยอาศัยความชื้นในดิน

 

2. การหว่านน้ำตม (การหว่านข้าวงอก)

เป็นการหว่านเมล็ดข้าว ที่ถูกเพาะให้รากงอกก่อนที่จะนำไปหว่านในที่ที่มีน้ำ ท่วมขัง เพราะหากไม่เพาะเมล็ดเสียก่อน เมื่อหว่านแล้วเมล็ดข้าวอาจเน่าเสียได้ การเพาะข้าวทอดกล้า ทำโดยการเอาเมล็ดข้าวใส่กระบุง ไปแช่น้ำเพื่อให้เมล็ดที่มีน้ำหนักเบาหรือลีบลอยขึ้นมาแล้วคัดทิ้ง แล้วนำเมล็ดถ่ายลงในกระบุงที่มีหญ้าแห้งกรุไว้ หมั่นรดน้ำเรื่อยไป อย่าให้ข้าวแตกหน่อ แล้วนำไปหว่านในที่นาที่เตรียมดินไว้แล้ว วิธีการการปลูกข้าวโดยการหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย

 

การปลูกโดยใช้ต้นกล้า 

หรือเรียกว่า นาดำ  นาดำ  คือการนำต้นกล้าที่เราได้หว่านไว้ในอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตจนลำต้นแข็งแรงพอ อายุของต้นกล้าที่จะนำมานำนาจะมีอายุประมาณ 20-30 วัน

การทำนาดำแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ

         การตกกล้า เพาะเมล็ดข้าวเปลือกให้มีรากงอกยาว 3 - 5 มิลลิเมตร นำไปหว่านในแปลงกล้า ช่วงระยะ 7 วันแรก ต้องควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมแปลงกล้า และจะสามารถถอนกล้าไปปักดำได้เมื่อมีอายุประมาณ 20 - 30 วัน

         การปักดำ ชาวนาจะนำกล้าที่ถอนแล้วไปปักดำในแปลงปักดำ ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละหลุมจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะของดิน คือ ถ้าเป็นนาลุ่มปักดำระยะห่าง เพราะข้าวจะแตกกอใหญ่ แต่ถ้าเป็นนาดอนปักดำค่อนข้างถี่ เพราะข้าวจะไม่ค่อยแตกกอ

รถดำนา ปัจจุบันมีการพัฒนาโดยการดำนาโดยใช้รถอัตโนมัติ ซึ่งทุ่นเวลาและแรงงานได้มากและต้นข้าวที่ดำนาลงไป มีการเรียงกันเป็นระเบียบสวยงาม

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวังในการเตรียมดิน

     1. ควรปล่อยให้ดินนามีโอกาสแห้งสนิท เป็นระยะเวลานานพอสมควร และถ้าสามารถไถพลิกดินล่างขึ้นมาตากให้แห้งได้ก็จะดียิ่งขึ้น ถ้าดินเปียกน้ำติดต่อกันโดยไม่มีโอกาสแห้ง จะเกิดการสะสมของสารพิษ เช่นแก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) และกรดอินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งถ้าสารเหล่านี้มีปริมาณมากก็จะเป็นอันตรายต่อรากข้าวได้

     2. ควรมีการหมักฟาง หญ้ารวมทั้งอินทรียวัตถุเพื่อให้สลายตัวสมบูรณ์ ประมาณ 2 สัปดาห์ หลังการไถเตรียมดิน เพื่อให้ ดินปรับตัวอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าว และสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นออกมาให้แก่ต้นข้าว

     3. ดินกรดจัดหรือดินเปรี้ยวจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำ (pH ต่ำกว่า4.0) ควรขังน้ำไว้อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนปักดำข้าว เพื่อให้ปฏิกิริยาต่างๆ ตลอดจนความเป็นกรดของดินลดลงสู่สภาวะปกติ และค่อนข้างเป็นกลางเสียก่อน ดินกลุ่มนี้ถ้ามีการขังน้ำตลอดปี หรือมีการทำนาปีละ 2 ครั้ง ก็จะเป็นการลดสภาวะความเป็นกรดของดิน และการเกิดสารพิษลงได้ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตของข้าวสูงขึ้น

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา