ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสาน

โดย : นางระเบียบ สาระพัฒน์ วันที่ : 2017-04-05-16:47:02

ที่อยู่ : 223 หมู่ที่ 7 ตำบลนาทราย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น  ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิตและสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

๑.เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น

๒.ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม้ไผ่

อุปกรณ์ ->

ไม้ไผ่ เหล็กซี เครื่องรีดตอก

มีด

เลื่อย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

   ขั้นตอนการจักสาน 

วิธีการจักตอก

1.  การจักตอกปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (ขี้ตอก)จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ แล้วหลาวให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง

   2.  การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตาก

 การสาน

การสาน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก

 การรมควัน

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยหวาย  ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่  ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย  จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม

 การถักและพัน

เมื่อสานตัวเรียบร้อยก็ถึงการรมควันโดยจะทำในวันที่ไม่มีลม  ใช้ฟางพรมน้ำหมาด ๆ เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดควันมาก รมจนเครื่องจักสานมีสีเหลืองเท่ากันทั้งใบ แล้วนำมาเข้าส่วนประกอบหวาย  มีการผูกปาก  พันขา  ใส่ฐานและหูหิ้ว

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุดรธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา