ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกฝักทอง

โดย : นางสมบุญ พ่วงสิงห์ วันที่ : 2017-04-05-14:12:24

ที่อยู่ : 54/3 หมู่ 4 ต.โรงช้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เดิม มีความรู้การปลูกพืชผัก การทำเกษตร การทำสารไล่แมลง และต้องการให้คนในชุมชนมีสุขภาพแข็งแรง บริโภคพืชผักที่ปลูกกินเอง และต้องการถ่ายทอดความรู้ในกับชุมชน

 

วัตถุประสงค์ ->

 1.ต้องการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน

2.สร้างอาชีพ รายได้ ให้ชุมชน

3.คนชุมชนได้บริโภคผักปลอดสารพิษ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เมล็ดพันธุ์ฟักทอง  

อุปกรณ์ ->

  1.ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัด 2. ดินปลูก ดินร่วนปนทราย 3.จอบ 4.เสียม

 5 ฟางคลุมดิน   6. เชือกและไม้หลัก เอาไว้ทำที่ให้เถาเลื้อย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้ดี

          เลือกเมล็ดที่มีรูปร่างอวบแน่น ไม่มีตำหนิ และจะต้องเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้น นำเมล็ดที่ได้ไปผึ่งให้แห้งก่อนนำไปปลูก ไม่เช่นนั้นต้นกล้าจะไม่งอก

2. เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกฟักทอง

          หาไม้หลักมาปักข้าง ๆ ที่ปลูกให้แน่นหนา เมื่อต้นกล้าฟักทองเริ่มงอกขึ้นมาภายใน 7-10 วัน แล้วใช้เชือกโยงไปผูกติดกับรั้วบ้านหรือทำเป็นซุ้มเตี้ย ๆ ก็ได้ แต่ที่สำคัญพื้นที่ที่ปลูกฟักทองจะต้องมีแสงแดดส่องถึง

3. เตรียมดินและปุ๋ยให้พร้อมปลูก

          ดินที่ใช้ปลูกจะต้องเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ดินมีความชื้นในอัตราที่พอเหมาะ และผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเติมลงไปด้วย จากนั้นขุดหลุมหย่อนเมล็ดให้ลึกประมาณ 2-4 เซนติเมตร หย่อนเมล็ดลงไปหลุมละ 3 เมล็ด จากนั้นกลบดิน รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าแฉะ และคลุมด้วยฟางเพื่อช่วยกักเก็บความชื้น

4. ถอนต้นกล้าที่อ่อนแอทิ้งไป

          เมื่อต้นฟักทองเริ่มมีใบงอกขึ้นมาภายใน 7-10 วัน หรือเห็นว่าเริ่มมีใบประมาณ 3 ใบ ให้จัดการถอนต้นที่อ่อนแอทิ้งไป และเหลือไว้แต่ต้นแข็งแรงเพียงต้นเดียวเท่านั้น

5. รอเวลาเก็บเกี่ยว 

          ต้นฟักทองจะออกดอกช่วง 1-2 เดือนหลังปลูก โดยจะมีทั้งดอกตัวเมีย (ลักษณะดอกบานกว้าง) และดอกตัวผู้ (ลักษณะยาวตรง) ภายในต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้จะล่อให้แมลงมาผสมเกสรระหว่างดอก หลังจากนั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ฟักทองก็จะค่อย ๆ ออกเป็นผลเล็ก ๆ ใต้ดอกตัวเมียให้เราได้เห็น 

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวัง

          ขอแนะนำเพิ่มเติมว่าในช่วงที่ต้นกำลังออกดอกและมียอดใบอ่อนนั้น ไม่ควรเด็ดยอดอ่อนมันมากินเพราะจะทำให้ต้นฟักทองไม่ออกผล และอีกเรื่องที่สำคัญนั่นก็คือ โรคราแป้ง ซึ่งเกิดจากการที่ใบและต้นฟักทองได้รับความชื้นมากเกินไป ไม่ค่อยโดนแดด ดังนั้นควรรดน้ำให้ชุ่มแต่พอดีในตอนเช้าและรดที่โคนต้นเท่านั้น นอกจากนี้ควรจะจัดการพื้นที่ให้มีแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน หากมีศัตรูพืชรบกวนไม่ว่าจะเป็นเพลี้ย แมลงหวี่ ด้วงเต่าแตง หรือแมลงวัน สามารถกำจัดออกได้โดยการใช้น้ำผสมสบู่อ่อน ๆ กาแฟ หรือแอมโมเนียฉีดพ่นลงไปที่ตัวแมลงโดยตรง

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอ่างทอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา