ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ลดต้นทุนการทำนา

โดย : นายสมยศ ทองนิล วันที่ : 2017-03-21-16:36:33

ที่อยู่ : 18/1

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบัน มีปัจจัยลบหลายๆอย่าง ที่กระหน่ำซ้ำเติมชาวนาไทย ทั้งในเรื่องของศัตรูพืชโดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และที่กำลังเผชิญหน้าขณะนี้คือภัยแล้ง ซึ่งปีภาวะภัยแล้งกระหน่ำอย่างรวดเร็วเหลือเกิน  ถึงขนาดน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนต่างๆทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กเหลือน้อยเต็มที 

การรณรงค์ของรัฐบาลที่จะให้เกษตรกรลดพื้นที่การทำนาปรังไร้ผลแล้ว จึงจะแนะวิธีขั้นตอนการลดต้นทุนในการทำนา 

การทำนาแบบเปียกสลับแห้งนอกจากจะลดปริมาณการใช้น้ำแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย ใช้สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวลดลง รวมทั้งยังทำให้คุณภาพของข้าวดีขึ้น เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้น และที่สำคัญทำให้คุณภาพชีวิตของชาวนาดีขึ้น เยาวชนรุ่นหลังๆ หันมาสนใจการทำนา ซึ่งจะเป็นการรักษาพื้นที่ชลประทานให้คงอยู่ เกิดความสามัคคีในชุมชนที่ไม่ต้องแย่งน้ำกันต่อไปอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดต้นทุนการทำนา  เพิ่มรายได้

เพื่อส้รางความสามัคคีในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธ์ข้าว

ปุ๋ย/ยากำจัดวัชพืช และแมลงศัตรูพืช

น้ำมันเชื้อเพลิง

อุปกรณ์ ->

เครื่องพ่นยา

เครื่องจักขนาดเล็ก (รถไถ รถตีนา รถย้ำ)

จอบ เสียม  เครื่องตัดหญ้า

ถังหว่าน/ผสม

เครื่องวิดน้ำ/ท่อ/ผ้าใบ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นแรก คือ  การจัดการฟางให้เหมาะสม  เพราะฟางข้าว  นับเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่ามหาศาล  หากเกษตรกรมีการจัดการฟางในนาที่ดีและเหมาะสมจะเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิตข้าว  วิธีการ คือหลังเก็บเกี่ยวข้าวใช้รถแทรกเตอร์ไถกลบฟางปล่อยทิ้งไว้ในสภาพไม่มีน้ำขัง 15-30  วัน จากนั้นไขน้ำเข้าแปลงนา  เตรียมดิน หรือหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วปล่อยให้แปลงนาและฟางแห้งประมาณ 15 วัน ไขน้ำเข้าแปลงนาให้ท่วมฟางใช้รถไถย่ำฟางตามด้วยเตรียมดิน  หว่านข้าวโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ดี  15-20  กิโลกรัม/ไร่

ขั้นที่สอง  การจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพด้วยการให้น้ำในนาแบบเปียกสลับแห้ง  คือ หลังหว่านข้าวแล้ว ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง  พ่นสารเคมีคุมวัชพืช  ไขน้ำเข้าแปลงนาภายใน  7  วัน หลังพ่นสารคุมวัชพืชระดับไม่เกิน  5 ซม.แล้วปล่อยให้น้ำแห้งไปตามธรรมชาติจนผิวดินเริ่มแตกระแหง ไขน้ำเข้าแปลงที่ระดับ  5  ซม. ทำสลับกันจนถึงระยะกำเนิดช่อดอก  ปล่อยให้น้ำขังในแปลงนาตลอดถึงช่วง  10  วันก่อนการเก็บเกี่ยวจึงระบายน้ำออก
     ขั้นตอนที่สามส่วนการใส่ปุ๋ย  เก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนใส่ปุ๋ย  เพื่อจะได้รู้ว่าควรใส่ปุ๋ยเท่าไรและใช้แผ่นเทียบสีใบข้าว (LCC)  ช่วยตัดสินใจว่าควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเมื่อใดเพื่อให้ตรงกับความต้องการของข้าว
    ขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดการโรค  แมลงศัตรูข้าว  ต้องมีการสุ่มสำรวจโรค  แมลงศัตรูข้าวในนาก่อนการตัดสินใจใช้สารเคมี

 

ข้อพึงระวัง ->

ควรเลือกเมล็ดพันธ์ข้าวที่มีคุณภาพ  ทนทานต่อโรค

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอ่างทอง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา