ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกเห็ดฟางกองเตี้ย

โดย : นายบุ่น หงษ์ชัยภูมิ วันที่ : 2017-03-10-13:41:57

ที่อยู่ : หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านพร้าว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย เพาะกันมากเป็นประจำ หลังจากเสร็จการทำนาปี ประมาณกลางเดือนธันวาคมของทุกปี ดอกเห็ดจะออกต้นเดือนมกราคม เป็นช่วงที่อากาศโดยทั่วไปหนาว เพาะติดต่อกัน 3 เดือน พอถึงปลายเดือนมีนาคมก็เลิกเพาะ เพราะว่าอากาศเริ่มร้อน การดูแลรักษาดอกเห็ดจะยาก

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.  แบบไม้ ฐานกว้าง 35 ซม. สูง 35 ซม. ด้านบนกว้าง 30 ซม. แบบไม้ยาว 
    100 -  120 ซม.

 2.  พลาสติก ใช้พลาสติกใส ขนาดกว้าง 140 ซม. ยาวประมาณ 60 เมตร 
 3.  แผงฟาง ทำจากฟาง นำมาขนาบด้วยซี่ไม้ไผ่ ยาวประมาณ 120 - 150 ซม. 

4.  หัวเชื้อเห็ดฟางและรำละเอียด โดยเชื้อเห็ดฟาง 1 ก้อน เพาะได้ 2 กอง 
    ( ทำ 3 ชั้น )

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1  วางแบบไม้ อัดฟางลงในแบบโดยใช้มือกดให้แน่นพอควร สูงจากพื้นดินประมาณ 1 ฝ่ามือ กดตบแต่งให้เสมอ โรยเชื้อเห็ดฟางชิดแบบไม้ ทั้ง 4  ด้าน ตรงกลางไม่ต้องโรย
                2  ทำเหมือนชั้นที่ 1 โรยเชื้อ ส่วนที่ 2 
                3  ทำเหมือนชั้นที่ 1 โรยเชื้อ ส่วนที่ 3 
                4  สุดท้ายปิดบนด้วยฟาง จนล้นแบบ กดตบแต่งให้เสมอขอบแบบ แล้วทำการถอดแบบได้ แปลว่าได้ กองที่ 1 
                5  วางไม้แบบ ให้ห่างจากกองที่ 1 ประมาณ 1 คืบ ทำกองที่ 2 ต่อไป 
                6  โดยปกติใน 1 แปลง จะเพาะกัน 24 กอง ใช้เชื้อเห็ด 12 ก้อน เหมาะสมที่สุด 
                7  ถ้าเป็นการเพาะในเขตภาคกลาง จะไม่มีฟางข้าวเหนียวเหมือนภาคเหนือ เราสามารถใช้ปลายฟาง ที่อัดเป็นก้อน ซึ่งมีขายทั่วไปได้ แต่จำเป็นต้องเพิ่มอาหารต่างๆเข้าไป ก่อนที่จะโรยเชื้อเห็ดฟาง เรียกว่าอาหารเสริมต่างๆ เช่น ผักตบชวา ผักบุ้ง เศษฝ้าย ไส้นุ่น เปลือกถั่วทุกชนิด ละอองข้าวโพด-ข้าวฟ่าง ละอองข้าว ขี้วัว-ควายแห้ง แป้งข้าวเหนียว – ข้าวเจ้า รำ เป็นต้น
                 เหตุที่จำเป็นต้องเพิ่มอาหารเสริมเข้าไปเพราะว่าฟางข้าวจ้าวมีสารอาหารที่เห็ดฟาง ต้องการน้อยไม่เพียงพอ  ไม่เหมือนฟางข้าวเหนียว ซึ่งมีอาหารมากกว่า   
                8  โดยทั่วไปจะวางแปลงเพาะห่างกันประมาณ 1 เมตร วางลักษณะคู่ขนาน เป็นกลุ่มใหญ่ ทำการรดน้ำให้เปียกชุ่ม ทั้งที่บนกองเห็ด ที่พื้นดิน แล้วคลุมแปลงเพาะแต่ละแปลงด้วยพลาสติกใส 2 ผืน ซ้อนกันตรงกลางแปลง ปิดแปลงเพาะด้วยแผงฟางอีกครั้ง ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน 
                 9  ครบ 3 คืน ช่วงเช้าทำการยกแผงฟางด้านข้างและรอยต่อระหว่างแปลงออก ยกชายพลาสติกขึ้นทั้ง 2 ด้าน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที เพื่อให้อากาศภายในออกทั่วถึง แล้วคลุมกองไว้เหมือนเดิม  
                 10 เช้าวันที่ 7 เปิดดูภายในจะเห็นดอกเห็ดเกิดขึ้นบ้างแล้ว สังเกตดอกเห็ดที่ใหญ่เท่าปลายนิ้วก้อย บนดอกถ้ามีจุดสีเทาดำ รอบข้างสีขาวขุ่น แปลว่าแปลงเห็ดอยู่ในสภาพที่พอดี ทั้งแสง อากาศ และความชื้น แต่ถ้าดอกเห็ดเป็นสีขาวทั้งดอก ให้ทำการระบายอากาศ ยกแผงฟางระหว่างแปลงออกเพื่อให้ แสงเข้าไปได้บ้าง แล้วคลุมแปลงเพาะไว้เหมือนเดิม รอดูดอกเห็ดในวันรุ่งขึ้น ถ้าดอกเห็ดมีสีเทาดำ แสดงว่าที่ระบายอากาศและเปิดแสงเข้าพอดีแล้ว
                 11 วันที่ 10 เช้าสามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว โดยเริ่มเก็บดอกเห็ดที่ใหญ่ก่อน  โดยเก็บเบามือที่สุด เกรงว่าจะไปกระทบกระเทือนดอกเห็ดข้างๆ อาจให้ฝ่อได้ เก็บติดต่อกันได้ประมาณ 5-6 วัน รวมผลผลิตอย่างน้อยควรจะได้ที่ กองละ 1 กก.เป็นอย่างต่ำ ถือว่าใช้ได้แล้ว   
                 12 การเพาะเห็ดฟางทุกวิธี ผู้เพาะจำเป็นต้องดูดอกเห็ดที่มีลักษณะสมบูรณ์เป็น จะได้ปรับสภาพ แสง อากาศ ความชื้นได้ถูกต้อง โดยสังเกตดอกเห็ดที่เกิดขึ้นแต่ละวันเป็นหลักในการดูแลรักษา  
                 
13 ลักษณะดอกเห็ดที่สมบูรณ์ ให้สังเกตช่วงเช้าระหว่าง 9.00-10.00 น. เพราะว่าขณะนั้นแสงจะเข้าไปภายในได้ดี จะดูออกว่า ดอกเห็ดสมบูรณ์หรือไม่ กล่าวคือ จะมีสีเทาดำบนดอก รอบดอกเป็นสีขาวขุ่น ไม่มีเส้นใยเห็ดเกาะรอบดอก เช่น ถ้าดอกเห็ดเป็นสีขาว มีเส้นใยคลุมดอกอยู่ แปลว่าดอกไม่สมบูรณ์ เห็ดขาดแสง ขาดอากาศ  ดังนั้นจำเป็นต้องระบายอากาศ และเปิดให้แสงเข้ามากขึ้น โดยรอสังเกตในวันรุ่งขึ้น ตอนเช้าในเวลาเดียวกัน ถ้าดอกเห็ดเปลี่ยนแปลง เป็นเทาดำบนดอก และดอกเห็ดใหญ่ขึ้น แสดงว่าที่ปรับสภาพเมื่อวานนั้นถูกต้องแล้ว

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา