ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ลูกประคบสมุนไพร

โดย : นายสุบิน สุทธิประภา วันที่ : 2017-03-07-13:29:02

ที่อยู่ : 51 หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองใหม่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เรารู้จักใช้พืชมาแต่โบราณกาล โดยใช้เป็นอาหาร เชื้อเพลิง เครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือในการดำรงชีพ ที่พักอาศัย และการบำบัดรักษาโรค นอกจากนั้นพืชยังช่วยดูดกรองอากาศพิษได้ด้วย ประเทศเราเป็นประเทศกสิกรรมมีพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมาย ซึ่งพืชเกือบทุกชนิดมีฤทธิ์ทางการรักษามากบ้างน้อยบ้าง เราจึงน่าที่จะเลือกพืชบางชนิดง่ายๆ มาใช้เป็นสมุนไพรในการรักษาอาการของโรคพื้นๆ เช่น ปวดหัว ตัวร้อน ท้องผูก หรืออื่นๆ แต่ถ้าเป็นโรคร้ายแรงก็ควรรีบไปหาหมอ
สมุนไพรส่วนมากมีฤทธิ์อ่อนไม่ค่อยเป็นพิษหรือมีอาการข้างเคียงมากเช่นยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรมีราคาถูกกว่ายาแผนปัจจุบันมาก หาง่าย ใกล้บ้าน ไม่ต้องซื้อ เพราะสมุนไพรเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่แล้ว จึงควรอย่างยิ่งที่เราจะนำมาใช้เป็นประโยชน์ ดังนั้นจึงมีการนำเอาสมุนไพรไทยที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นลูกประคบ เพื่อรักษาและบรรเทาอาการ ปวดตามร่างกาย

วัตถุประสงค์ ->

๑. สร้างอาชีพเสริมเพิ่มเติมจากอาชีพหลัก

๒. สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หว่านไพรแห้ง  ขมิ้นแห้ง  ใบมะกรูดแห้ง ตะไคร้แห้ง ใบมะขามแห้ง การบูร พิมเสน

 

อุปกรณ์ ->

ผ้าขาวบาง เชือกสีขาว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 ขั้นตอนการทำ

1.   นำไพล,  ใบมะกรูด,  ตะไคร้,  ใบมะขาม หรือใบส้มป่อย, ขมิ้นชัน  หรือขมิ้นอ้อยหั่นบางๆ  ตากแห้ง / อบ
2.   ใส่พิมเสน,  การบูร,  และเกลือแกง  ผสมรวมกัน
3.   ห่อเป็นลูกประคบหนักลูกละ100 กรัม ด้วยผ้าขาว 
      ขนาด 35ซ.ม. x 35 ซ.ม. มัดด้วยเชือกยาว 1 เมตร

ประโยชน์ของการประคบ 
จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน)

1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย
2. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อหลัง 24 - 48 ชั่วโมง
3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก
5. ลดการติดขัดของข้อต่อ
6. ลดอาการปวด
7.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

 

   วิธีการประคบ
 1. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15 - 20 นาที
 2. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่างๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ
 3. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแครง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบสมุนไพร

 4. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ

 

      (การทดสอบความร้อนของลูกประคบคือ แตะที่ท้องแขนหรือหลังมือ)
 5. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรกๆ ต้องทำด้วยความเร็วไม่วางแช่นานๆ เพราะคนไข้จะทนร้อนไม่ได้มาก

ข้อพึงระวัง ->

 ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพร

1.      ไม่ควรใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่เคยเป็นแผลมาก่อนหรือบริเวณที่มีกระดูกยื่น และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วย

2.      โรคเบาหวาน อัมพาต ในเด็กและผู้สูงอายุ เพราะมักมีความรู้สึกในการรับรู้และตอบสนองช้าอาจทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ง่าย

3.      ไม่ควรใช้การประคบสมุนไพรในกรณีที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกเพราะจะทำให้อักเสบบวมมากขึ้นและอาจมีเลือดออกมากตามมาได้

 4. หลังจากประคบสมุนไพร เสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปล้างตัวยาจากผิวหนังและร่างกายยังไม่ สามารถปรับตัวได้ทัน อาจทำให้เกิด เป็นไข้ได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา