ความรู้สัมมาชีพชุมชน

สานเสื่อลำแพน

โดย : นางศรีอุภร อักช้าง วันที่ : 2017-03-17-14:08:35

ที่อยู่ : 156/2 ม.16ต.โตนด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวบ้านจึงได้นำไม้ไผ่มาจักสานเพื่อใช้ประโยชน์มานานกว่าร้อยปีแล้ว โดยเริ่มแรกตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย ได้จักสานเสื่อลำแพนไว้เพื่อใช้เอง เช่น ตากข้าว ตากของ ใส่ข้างเกวียน มีกระโซ่ใส่หัวท้าย บรรจุข้าวเปลือก และผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรแต่ต่อมาได้มีชาวบ้านจากถิ่นอื่น และ ละแวกใกล้เคียงมาพบภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของชาวบ้าน จึงได้สั่งทำไว้ใช้บ้าง ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันทำเสื่อลำแพนเพื่อจำหน่าย จึงเกิดเป็นสินค้าประจำท้องถิ่น และได้เรียกกันว่า “ เสื่อลำแพน ” เพราะเป็นเสื่อที่ผลิตจากลำต้นของไม้ไผ่สีสุก ไม้ไผ่ตง หรือ ไม้ไผ่ดำ เส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร จักสานให้เป็นเสื่อแผ่นใหญ่ตามขนาดที่ต้องการได้
เสื่อลำแพนในยุคแรกมีลายสองเพียงลายเดียว ไม่มีลวดลายวิจิตรงดงามดังปัจจุบัน ต่อมาในปี 2547 มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้เห็นความสำคัญของภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีมาช้านาน แล้ว                                

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อไว้ใช้และจำหน่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ตอกไม้ไผ่

อุปกรณ์ ->

1.ตอกไม้ไผ่

2.มีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ มาตัดเป็นท่อน ๆ                                                                        
2. ผ่าไม้ไผ่เป็นซีก แล้วจักเป็นตอก                                                                             
3. นำไปผึ่งแดด                                                                                                 
4. นำตอกมาสานเป็นเสื่อลำแพน                                                                              
5. นำเสื่อลำแพนไปแช่น้ำยากันมอด                                                                                     
6. เสร็จแล้วนำมาตากแดดให้แห้ง                                                                              
7. ม้วนจัดเก็บไว้ในร่ม ไกลจากละอองฝน ( พร้อมจำหน่าย ) 

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา