ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เครื่องปั้นดินเผา

โดย : นางจินดา น้อยคำ วันที่ : 2017-03-17-13:41:13

ที่อยู่ : 31 ม.10ต.โตนด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุโขมัยมีประวัติความเป็นมาที่สืบทอดกันหลายชั่วอายุคน              “บ้านหน้าวัดลาย” เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งในตำบลทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ภายในหมู่บ้านมีการ  ผลิตเครื่องปั้นดินเผากันแทบทุกครัวเรือน จากการสืบทอดกันมาเป็นร้อยปี เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาไม่เคลือบ เผาด้วยอุณหภูมิไม่สูงมากนัด เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 จากหลักฐานที่สามารถสืบค้นได้ราว 90 ปีเศษ                ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้บันทึกไว้ในจดหมายเมื่อครั้งเดินทางมาสำรวจมณฑลพิษณุโลกเมื่อปี พ.ศ. 2444 ความตอนหนึ่งว่า “วันที่ 18 เวลาตื่นนอนเช้า พระยาสุโขทัยเอา “หม้อกรัน”     มาให้ 3 ใบ เป็นหม้อที่ตั้งใจทำอย่างประณีต ภาษาบ้านนอกเขาทำที่บ้านทางหลวง อยู่ใต้เมืองสุโขทัยฝั่งตะวันตก หม้อใหญ่กระพุงเกือบ 2ศอก เขาก็ทำมีชุมพละสีหสงครามให้มาตั้งแต่วังไม้ขรก็มี” จากหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าบ้านทุ่งหลวงมีการปั้นหม้อดินมานานนับศตวรรษและ “หม้อกรัน” ที่กล่าวถึงนั้นเป็นหม้อนำในสมัยโบราณ ที่เป็นรูปแบบเฉพาะของบ้านทุ่งหลวง ผลิตด้วยการผสมดินกับทรายในอัตราส่วนค่อนข้างสูงเพื่อคายน้ำเมื่อทำการเผาแล้วสีของดินจะมีสีแดงเข้ม ผิวดินหยาบ

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อจำหน่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ดินเหนียว

อุปกรณ์ ->

1.ดินเหนียว

2.แท่นปั้น

3.กระสอบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

นำดินเหนียวที่ผ่านการผสมมาขึ้นรูปแป้นพิมพ์ (แระ) เมื่อได้รูปทรงที่ต้องการแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างทำลายโดยรอบของชั้นงาน และใช้ลูกกลิ้งลายกลิ้งโดยรอบซ้ำลายอีกครั้งเพื่อเน้นลายให้สวยงามขึ้น จะได้รูปทรงของชิ้นงานที่ต้องการ และเหลือส่วนฐานไว้ขึ้นรูปตัวชิ้นงานแล้วนำไปผึ่งลมให้หมาด ขึ้นรูปตัวชิ้นงานด้วยลูกดิน และไม้ตีหม้อ ผึ่งลมแล้วนำมากลับมาตีใหม่ประมาฯ 1- 2 ครั้ง แล้วตกแต่งใส่ลวดลายชิ้นงานให้สวยงามเมื่อได้ชิ้นงานที่ต้องการแล้ว (อาจทำฝาปิดหรือฐานรองรับตัวชิ้นงานก็ได้ แล้วแต่ความนิยม นำไปผึ่งแดดให้แห้งสนิทนำเข้าเตาเผา 1 คืน ส่วนมากใช้ผลิตชิ้นงามประเภทหม้อกรัน หม้อต้มยำ หม้อน้ำโบราณ เป็นต้น                                                     

 

 

 

การขึ้นรูปด้วยการหล่อ

เตรียมแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์และนำดินที่ผ่านการกรองแล้ว เทน้ำใส่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้จนเต็มผึ่งแดดทิ้งไว้พอหมาด เทน้ำดินใส่แม่พิมพ์อีกรอบ ทำสลับกันจนได้ชิ้นงานหนาประมาณ 1 เซนติเมตร ผึ่งแดดให้หมาดอีกรอบใช้ถึงพลาสติกขัดชิ้นงานเพื่อให้ผิวเรียบเนียน และขึ้นเงาใช้มีดแกะสลักตามที่ปรากฏในชิ้นงาน ผึ่งแดดให้แห้งสนิท รอเข้าเตาเผา ส่วนมากใช้ผลิตชิ้นงานประเภทกล่องยากันยุง กล่องกระดาษทิชชู แก้วน้ำ เป็นต้น                               

การขึ้นรูปด้วยแป้นพิมพ์

นำดินที่ผ่านการผสมมาวางบนแป้นหมุน (แระ) ขนาดตามที่ต้องการและทำการขึ้นรูป เมื่อได้ชิ้นงานที่ขึ้นรูปแล้วทำการตกแต่งปาก และรูปทรงของชิ้นงานให้สวยงามขึ้น ตกแต่งรายละเอียดอีกครั้ง ให้ผิวของชิ้นงานเรียบเนียน และผึ่งลมให้หมาด หรืออาจจะใช้ลุกกลิ้งลายเพิ่มลายชิ้นงานก็ได้ตามต้องการพอชิ้นงานหมาดแล้ว วาดลวดลายบนชิ้นงานตามแบบที่ต้องการ แล้วใช้มีดแกะลายตามรอยที่วาดไว้บนตัวชิ้นงาน จะได้ขึ้นงานตามแบบที่ต้องการ ผึ่งแดดให้แห้งสนิท รอเข้าเตาเผาส่วนมากใช้ผลิตชิ้นงานประเภทกระถางต้นไม้ อ่างบัว โดมไฟ เป็นต้น                                    

การขึ้นรูปด้วยการปั้น

นำดินเหนียวที่ผ่านการผสมแล้ววางบนแป้นหมุน ปั้นฐานรองแล้วปั้นส่วนขา ผึ่งลมให้หมาด 1 วัน ปั้นลำตัวและทางมาประกอบ ผึ่งลมอีก 1 วัน แล้วนำหัวที่ถอดจากแม่พิมพ์มาประกอบกับส่วนลำคอ ปั้นแขนส่วนล่างทั้งสองข้าง และมือมาประกบกัน ตกแต่งให้เรียบร้อยใส่เครื่องประดับ และตกแต่งรายละเอียดของชิ้นงานเพื่อให้ชิ้นงานสวยงามขึ้น ขัดให้เรียบเนียน รอให้แห้งสนิทแล้วเข้าเตาเผาประมาณ 1 -3 วัน ตามขนาดชิ้นงาน ส่วนมากที่ใช้ผลิตชิ้นงานประเภทรูปปั้นคนหรือสัตว์ในวรรณคดี ตุ๊กตาสมัยใหม่ เป็นต้น                                                     

 

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา