ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำนา

โดย : นายประสงค์ อ่อนบุญ วันที่ : 2017-03-17-11:55:43

ที่อยู่ : 5/1ม.8ต.บ้านป้อม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในทุกภาค มีพื้นจากการเป็นสังคมเกษตรกรรม เป็น สังคมที่ผสมผสานคติความเชื่อพื้นเมือง เช่น การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นับถือธรรมชาติ เข้ากับคติความเชื่อ ทางศาสนา การเป็นสังคมเกษตรของไทยในอดีต คือการเกษตรแบบยังชีพ การทำนาเป็นอาชีพหลัก ใน อดีตเป็นการทำนาที่ใช้แรงงานคนในครอบครัวและแรงงานสัตว์เป็นหลัก พึ่งพาน้ำฝนและน้ำในแม่น้ำลำ คลองในการเพาะปลูก และใช้ในชีวิตประจำวัน ลักษณะการดำรงชีวิตที่ต้องพึงพาธรรมชาติ และพึ่งพาตน เอง ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันและพึ่งพากัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นสุข

วัฒนธรรมแบบสังคมเกษตรของคนไทยมีลักษณะเด่น คือ เป็น สังคมที่มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือกัน มีการนับญาติกันอย่าง สนิทสนม เช่น ใช้คำว่า ปู่ ย่าลุง ป้า น้า พี่ เรียกผู้สูงอายุที่ไม่รู้จักกัน หรือไม่ใช่ญาติ มีการยกย่องธรรมชาติและสิ่งที่มีบุญคุณ เช่น การทำ ขวัญพระแม่โพสพ การลอยกระทง เพื่อขอบคุณและขอขมาพระแม่ คงคา   การนับถือพระแม่ธรณี การทำขวัญโค-กระบือ มีการร่วมมือกัน ในสังคม เช่น การขอแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงาน เมื่อแรงงาน ภายในครอบครัวไม่เพียงพอ เช่น การลงแขก การขอแรง การเอาแรง เอามือ เอาปากกินหวาน เพื่อช่วยกันทำงานในนา ปลูกสร้างบ้าน โดยเป็นการแลกเปลี่ยนหมุนเวียน แรงงานในชุมชน โดยที่ไม่ต้องใช้   การว่าจ้างเจ้าของงานมีหน้าที่เพียงดูแลเรื่องอาหารการกินให้เพียง พอแก่ผู้มาช่วยงาน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อไว้รับประทานและจำหน่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.พันธุ์ข้าว

2.ปุ่ยอินทรีย์

อุปกรณ์ ->

1.รถไถ

2.พันธุ์ข้าว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเตรียมดิน ก่อนการทำนาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน
- การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทงย่อยๆ หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา) เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
- การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้นการอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว

- การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้น้ำ

                   2. การปลูก การปลูกข้าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง ได้แก่

- การทำนาหยอดและนาหว่านและการเพาะเมล็ดในที่หนึ่งก่อน แล้วนำต้นอ่อนไปปลูกในที่อื่นๆ ได้แก่ การทำนาดำ การทำนาหยอด ใช้กับการปลูกข้าวไร่ตามเชิงเขาหรือในที่สูงวิธีการปลูก หลังการเตรียมดินให้ขุดหลุมหรือทำร่อง แล้วจึงหยอดเมล็ดลงในหลุมหรือร่อง จากนั้นกลบหลุมหรือร่อง เมื่อต้นข้าวงอกแล้วต้องดูแลกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช

3. การเก็บเกี่ยว   หลังจากที่ข้าวออกดอกหรือออกรวงประมาณ 20 วัน ชาวนาจะเร่งระบายน้ำออก เพื่อเป็นการเร่งให้ข้าวสุกพร้อมๆ กัน และทำให้เมล็ดมีความชื้นไม่สูงเกินไป จะสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากระบายน้ำออกประมาณ 10 วันระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยว เรียกว่า ระยะพลับพลึง คือสังเกตที่ปลายรวงจะมีสีเหลือง กลางรวงเป็นสีตองอ่อน การเก็บเกี่ยวในระยะนี้จะได้เมล็ดข้าวที่มีความแข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และมีคุณภาพในการสี 

4. การนวดข้าว   หลังจากตากข้าว ชาวนาจะขนเข้ามาในลานนวด จากนั้นก็นวดเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง บางแห่งใช้แรงงานคน บางแห่งใช้ควายหรือวัวย่ำ แต่ปัจจุบันมีการใช้เครื่องนวดข้าวมาช่วยในการนวด

5. การเก็บรักษา     เมล็ดข้าวที่นวดฝัดทำความสะอาดแล้วควรตากให้มีความชื้นประมาณ 14% จึงนำเข้าเก็บในยุ้งฉาง ยุ้งฉางที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ อยู่ในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การใช้ลวดตาข่ายกั้นให้มีร่องระบายอากาศกลางยุ้งฉางจะช่วยให้การถ่ายเทอากาศดียิ่งขึ้น คุณภาพเมล็ดข้าวจะคงสภาพดีอยู่นาน อยู่ใกล้บริเวณบ้านและติดถนน สามารถขนส่งได้สะดวกเมล็ดข้าวที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์ ต้องแยกจากเมล็ดข้าวบริโภค โดยอาจบรรจุกระสอบ มีป้ายบอกวันบรรจุ และชื่อพันธุ์แยกไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งในยุ้งฉาง เพื่อสะดวกในการขนย้ายไปปลูก ก่อนนำข้าวเข้าเก็บรักษา ควรตรวจสภาพยุ้งฉางทุกครั้ง ทั้งเรื่องความะอาดและสภาพของยุ้งฉางซึ่งอาจมีร่องรอยของหนูกัดแทะจนทำให้นกสามารถรอดเข้าไปจิกกินข้าวได้ รูหรือร่องต่าง ๆ ที่ปิดไม่สนิทเหล่านี้ต้องได้รับการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา