ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำการเกษตรแบบผสมผสาน

โดย : นายบุญเลิศ โตเปลี่ยน วันที่ : 2017-03-14-15:11:35

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๒๑/๕ หมู่ ๑๐ ตำบลนครเดิฐ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร เพราะที่ผ่านมาเราใช้ดินและที่ดินอย่างประมาท ขาดการระมัดระวัง ปัจจุบันทั้งสภาพทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของดิน(สุขภาพของดิน) จึงเสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก บางแห่งถึงขั้นวิกฤติที่เรียกว่า  “ดินป่วย” ไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างคุ้มค่า หมอดินต้องทำหน้าที่รักษา (ปรับปรุง) ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ดีดังเดิม หรือมั่นคอยดูแลรักษา(อนุรักษ์) ดินที่อุดมสมบูรณ์(สุขภาพดี)ให้คงความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป

เกษตรอินทรีย์ คือการทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดินความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตสูงอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษโดยมีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจพอเพียง แก่มวลมนุษยชาติ และสรรพชีวิต

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.คำนึงถึงสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ ความต้านทานต่อ โรคแมลง และวัชพืช ความหลากหลายของชนิดพืชในแปลง

 2.ไม่ใช้พืชจีเอ็มโอ (พืชที่มาจาการตัดต่อสารพันธุกรรม)

 3.ควรเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มาจาการปลูกแบบอินทรีย์

การปรับปรุงบำรุงดิน

                    1.เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง (ห้ามตัดไม้ทำลายป่า)

                    2.ถ้าดินเป็นกรดจัดใส่หินปูนบดลดความเป็นกรด

                    3.ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบสำหรับทำปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ เป็นต้น (โสนควรปลูกในนา ถั่วต่าง ๆ ควรปลูกในไร่)

                    4.ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช เพื่อช่วยปรับโครงสร้างดิน และให้ธาตุอาหารพืช

                    5.ดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต

                    6.ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือโพแทสเซียมธรรมชาติ และขี้เถ้าถ่าน ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดคงจะเก็บตัวอย่างดินและส่งวิเคราะห์ โดยติดต่อสอบถามข้อมูลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินและการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้องที่หมอดินประจำตำบลของท่าน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา