ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เลี้ยงนกกระทา

โดย : นางกฐิน แสงมี วันที่ : 2017-03-09-23:36:24

ที่อยู่ : 45/2 หมู่ที่ 8 ตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

-          การเลี้ยงนกกระทาใช้ระยะเวลาเลี้ยงสั้น เลี้ยงง่ายโตเร็ว มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง และใช้

พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย ให้ผลตอบแทนเร็ว ทำให้สามารถเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมและขยายกิจการเป็นอาชีพหลักได้

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพเสริมแก่ชุมชนครอบครัว เพราะนกกระทายังมีการตลาดที่ดี ราคายังสูง มีความต้องการของตลาดสูง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

พันธุ์นก 

กรงเลี้ยง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิต

1.1 พันธุ์นก

พันธุ์นกกระทาที่นิยมเลี้ยงคือ นกกระทาญี่ปุ่นซึ่งจะมีลักษณะสีเปลือกไข่เป็นลายประ และ

ควรเลือกซื้อจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ ไม่เคยมีโรคระบาดมาก่อน

3.2 โรงเรือนและอุปกรณ์

โรงเรือนมีลักษณะเช่นเดียวกับโรงเรือนเลี้ยงไก่ ต้องง่ายต่อการจัดการและทำความสะอาด

อากาศถ่ายเทได้ดี และปลอดภัยจากศัตรูรบกวน ภายในโรงเรือนประกอบด้วยกรงเลี้ยงนกสำหรับนกขนาดอายุ 1 – 20 วัน กรงเลี้ยงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร และสูง 0.5 เมตร จะสามารถเลี้ยงนกได้ 250 – 300 ตัว ระยะนี้ควรมีอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นแก่นก อุปกรณ์ให้น้ำสำหรับลูกนก ควรแคบและตื้น ป้องกันไม่ให้ลูกนกเปียกน้ำ ภาชนะให้อาหาร ควรเป็นถาดแบน ขอบสูงไม่เกิน 1 เซนติเมตร สำหรับการเลี้ยงนกใหญ่กรงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร และสูง 0.5 เมตร จะสามารถเลี้ยงได้ 50 – 75 ตัว

1.2 การจัดการเลี้ยงดู

การเลี้ยงนกกระทาในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 15 วัน ควรมีการกกให้ความอบอุ่น หากอากาศ

หนาวควรถึง 3 สัปดาห์ การเลี้ยงต้องมีน้ำและอาหารให้กินตลอดเวลา อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดหรือใช้หัวอาหารผสมกับวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นหรือใช้วัตถุดิบหลาย ๆ ชนิดมาผสมกัน โดยอาหารที่ให้ต้องมีโภชนะตามที่นกแต่ละระยะต้องการ ควรคัดแยกนกเพศผู้เพศเมียนำมาเลี้ยงแยกกันในแต่ละกรงเมื่อนกมีอายุได้ 1 เดือน นกเพศเมียอายุประมาณ 42 – 45 วัน จะเริ่มให้ไข่ และนกกระทาจะให้ไข่นานประมาณ 11 เดือน ให้ไข่ประมาณ 250 – 300 ฟองต่อปีต่อตัวส่วนนกเพศผู้หรือนกเพศเมียที่มีลักษณะไม่ดี สามารถนำไปเลี้ยงขุนเป็นนกกระทาเนื้อได้

 

1.3 การควบคุมและป้องกันโรค

จะใช้วิธีการจัดการด้านสุขาภิบาลโรงเรือนที่ดีเป็นหลักและระมัดระวังในช่วงที่นกมี

ความเครียดหรืออากาศเปลี่ยนแปลง มีการทำวัคซีนตามกำหนดเวลาโดยเคร่งครัด

ข้อพึงระวัง ->

ต้องมีความขยัน เรียนรู้ศึกษาเทคนิดใหม่ๆเสมอๆ 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา