ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงหมูหลุม

โดย : นายเชาวรัตน์ พุ่มพันธ์ วันที่ : 2017-06-14-21:57:41

ที่อยู่ : 6/12 ม.9 ต.ปากแคว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอส่งเสริมและสนับสนุนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพ ชุมชนในระดับหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อส่งเสริมอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนแก่ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

สุกร น้ำหนักตั้งแต่ 15-20 กก.

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) เน้นการใช้วัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติและในท้องถิ่นเป็นหลัก หาง่าย ราคาถูก และสามารถนำวัสดุที่เหลือใช้ต่าง ๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีก ทำให้ช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงสุกรได้ค่อนข้างมาก อีกทั้งเป็นการพึ่งพาอาศัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกันระหว่างพืชกับสัตว์ กล่าวคือ เมื่อมีการปลูกพืชเกษตรกรสามารถใช้พืชหรือเศษพืชผัก และผลไม้ต่าง ๆ กลับมาทำเป็นอาหารหมักเลี้ยงหมูหลุมได้ ในทำนองเดียวกันพืชก็สามารถใช้ประโยชน์จากหมูหลุมได้เช่นกัน โดยการใช้วัสดุที่อยู่ในหลุมซึ่งถูกย่อยสลายและหมักโดยจุลินทรีย์กลุ่มที่ให้ประโยชน์ กลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างดีนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดิน และเป็นอาหารของพืชได้ ช่วยทำให้การผลิตทั้งพืชและสุกรมีต้นทุนการผลิตลดน้อยลง การเลี้ยงหมูหลุมจะไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นของมูลสุกร น้ำเสีย และช่วยรักษาสภาพแวดล้อม หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและปฏิชีวนะ ทำให้ได้เนื้อสุกรที่ปลอดภัยจากสารพิษไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและสามารถนำไปปรับใช้กับการทำการเกษตรแบบผสมผสานได้

 ประโยชน์ของการเลี้ยง

1.) ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 70%

2.) ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกร เนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก

3.) ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู " ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน"

4.) ได้ปุ๋ยอินทรีย์

5.) สามารถใช้วัสดุต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติและในท้องถิ่น หาง่าย ราคาถูก

6.) ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากมูลสุกรและน้ำเสีย

7.) สามารถเลี้ยงในชุมชนได้ เนื่องจากไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นจากมูลและแมลงวัน

8.) ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการล้างทำความสะอาดคอกและบำบัดน้ำเสีย

9.) มีระบบการหมุนเวียนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในคอกหรือหลุม

10.) มูลและวัสดุในหลุมซึ่งถูกหมักและย่อยสลายโดยจุลินทรีย์กลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างดีนำไปเป็นปุ๋ยให้กับพืช ปรับปรุงดินบำรุงดิน หรือจำหน่าย

11.) ต้นทุนการผลิตต่ำโดยเฉพาะต้นทุนด้านอาหารสามารถลดได้ไม่ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์

12.) หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือยาปฏิชีวนะ ทำให้ผลผลิตมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

13.) เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงและระบบเกษตรอินทรีย์



1.การสร้างโรงเรือนหรือคอกสำหรับเลี้ยงหมูหลุม

คอกหมูหลุมจะแตกต่างจากคอกหมูโดยทั่วไป คือ นอกจากมีผนังกั้นคอกแล้ว ยังขุดหลุมให้ลึกลงไปประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วนำวัสดุที่ย่อยสลายได้ใส่ลงไปทดแทนดินที่ขุดออก ผนังกั้นคอกขึ้นอยู่กับเงินทุนที่ดำเนินการอาจจะใช้ไม้ไผ่ ไม้ระแนง ไม้ยูคาลิปตัส หรืออาจจะเป็นผนังอิฐบล็อกก็ได้ โดยเน้นใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพงเกินไป หรือผนังอาจจะเป็นแบบไหนก็ได้ที่สามารถป้องกันไม่ให้สุกรออกจากคอกได้ มีความแข็งแรง และอายุการใช้งานนานพอสมควร ไม่ต้องซ่อมแซมบ่อยครั้งเกินไป การขุดหลุมขนาดของหลุมขึ้นอยู่กับจำนวนสุกรที่จะเลี้ยง โดยกำหนดให้สุกร 1 ตัวใช้พื้นที่เลี้ยงตั้งแต่เริ่มจนถึงขาย 1.2-1.5 ตารางเมตร การขุดหลุมจะขุดหลุมก่อนหรือหลังการสร้างโรงเรือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการทำงาน

 วิธีการขุดหลุม

1.) วัดความยาวจากแนวเสาโรงเรือน ซึ่งจะเป็นแนวเดียวกันกับการทำผนังกั้นคอก วัดเข้าไปด้านในทั้งสี่ด้าน ๆ ละ 30 เซนติเมตร แล้วทำการขุดลงไปให้ลึก 70 - 90 เซนติเมตร (ตื้นกว่านี้ก็ได้) 
2.) แบ่งครึ่งขอบหลุมส่วนที่เหลือ ทั้งสี่ด้านและทำการขุดให้ลึกลงไป 30 เซนติเมตร ขุดเป็นรูปคล้ายตัวแอล (L)

3.) ใช้อิฐบล็อกก่อบนรูปตัวแอล (L) ทั้งสี่ด้าน หรืออาจจะใช้ไม้แบบตีแบบและเทคอนกรีตก็ได้ เพื่อทำเป็นเล็บคอนกรีตลงไปตามขอบหลุมเพื่อป้องกันไม่ให้สุกรใช้ปากขุดขอบหลุมพัง

4.) เทพื้นคอนกรีตทับหลังตามแนวที่จะทำผนังกั้นคอกให้ครบทุกด้าน

5.) ดินที่ขุดออกให้เก็บไว้นำไปผสมกับวัสดุอื่น ๆ เพื่อนำกลับใส่ลงไปในหลุมเช่นเดิม


 2.การเตรียมพื้นที่คอกหมูหลุม

วัสดุที่ใช้ควรเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ง่าย ราคาถูก มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไปหรือเศษวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ ก็สมาราถนำกลับมาใช้ได้อีก ช่วยทำให้ประหยัดต้นทุนได้ค่อนข้างมาก วัสดุที่ใช้มีดังนี้คือ

1.) แกลบ ขี้เลื่อย หรือวัสดุทางการเกษตร ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฟางข้าวสับ เศษที่เหลือจากการเพาะเห็ด หรือขยะแห้งที่ย่อยสลายได้

2.) ดินแดงหรือดินที่ขุดออกจากหลุม

3.) ถ่านไม้

4.) เกลือเม็ด

5.) เชื้อราขาวที่ได้จากธรรมชาติที่อยู่ตามใต้ต้นไผ่ชนิดต่าง ๆ

6.) น้ำหมักจุลินทรีย์จากธรรมชาติทั้งจากพืชและสัตว์

 ขั้นตอนและวิธีการทำ

1.) เตรียมหลุมให้ได้ตามขนาดและจำนวนสุกรที่จะเลี้ยง โดยให้มีความลึก 90 เซนติเมตร

2.) ชั้นที่ 1 (ชั้นล่างสุด) ใส่แกลบ ขี้เลื่อย หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ย่อยสลายได้ ให้สูงประมาณ 35 เซนติเมตรหรือครึ่งหนึ่งของหลุม ถ้าขนาดหลุม กว้าง 3 ยาว 3 เมตร ลึก 70 เซนติเมตร จะใส่แกลบหรือขี้เลื่อยประมาณ 400 กิโลกรัม

3.) ชั้นที่ 2 ใส่ดินแดง หรือดินที่ขุดออกจากหลุม โดยใช้ 10 % ของชั้นที่ 1 หรือ 40 กก. ใส่ให้ทั่ว

4.) ชั้นที่ 3 ใส่ถ่านไม้โดยใช้ 10 % ของชั้นที่ 1 หรือ 40 กก. ถ่านไม้ควรทุบให้มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ใส่ให้ทั่วทั้งหลุม

5.) ชั้นที่ 4 ใส่เกลือเม็ดโดยใช้ 1 % ของชั้นที่ 1 หรือ 4 กก. โรยให้ทั่ว

6.) ชั้นที่ 5 ใส่มูลสัตว์แห้ง (มูลอะไรก็ได้) โดยใช้ 10 % ของชั้นที่ 1 หรือ 40 กก. ใส่ให้ทั่วทั้งหลุม

7.) ชั้นที่ 6 ใส่แกลบหรือขี้เลื่อยลงไปให้เต็มทั้งหลุมอย่าให้มองเห็นขอบหลุม

8.) เมื่อใส่วัสดุทุกชนิดครบทุกชั้นแล้ว ให้รดด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์จากธรรมชาติทั้ง และเชื้อราขาว ในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร ผสมในบัวเดียวกัน รดให้ชุ่ม

9.) เมื่อปฏิบัติทุกขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ทิ้งไว้ 4 วัน แล้วจึงนำหมูลงเลี้ยงได้เลย

10.) เมื่อนำหมูลงเลี้ยงแล้ว ให้ใช้น้ำหมักเชื้อจุลินทรีย์ตามข้อ 8 รดหรือราดตามตัวสุกรเพื่อล้างสิ่งปฏิกูลที่ติดมากับตัวสุกร

11.) ผสมน้ำหมักจุลินทรีย์ในน้ำดื่มเพื่อให้สุกรดื่มกิน อัตราส่วนตามที่ระบุในแต่ละชนิด

12 จัดสภาพแวดล้อมและโรงเรือนให้โปร่งและระบายอากาศได้ดี





3.การจัดการเลี้ยงดู

ลูกหมู ควรมีน้ำหนักตั้งแต่ 15-20 กก. ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อน หลังจากนั้นเมื่อเป็นหมูรุ่น (น้ำหนัก 30-40 กก.) ค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารผสมพวกรำ ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น น้ำดื่มให้ใช้น้ำหมักสมุนไพร น้ำหมักผลไม้ อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น หากขี้เลื่อยหรือกลบยุบตัวลงให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม
 สูตรอาหารหมักสำหรับหมูหลุม

1.) พืชสีเขียวหรือผลไม้ 100 กิโลกรัม

2.) น้ำตาลทรายแดง 4 กิโลกรัม

3.) เกลือเม็ด 1 กิโลกรัม
 วิธีการทำ

1 นำผลไม้หรือพืชผักสีเขียวที่เหลือใช้จากครัวเรือนหรือการเกษตร เช่น หยวกกล้วย บอน ปอสา พืชสีเขียวหรือเศษผักต่าง ๆ นำมาสับให้ละเอียด

2 นำน้ำตาลทรายแดงและเกลือเม็ดโรยคลุกเคล้าให้เข้ากัน

3 เอาบรรจุลงในถังหมักโดยให้มีพื้นที่ว่างเหลือ 1 ใน 3 ส่วนของถัง ปิดด้วยกระดาษที่อากาศผ่านเข้าออกได้หมักไว้ 7 วัน ถ้าอากาศร้อน 5 วัน ก็ใช้ได้
 วิธีการใช้

นำส่วนพืชหมักผสมกับรำข้าวอ่อนและปลายข้าวในอัตราส่วน พืชหมัก : รำอ่อน : ปลายข้าว : เท่ากับ 2 : 2 : 1 ให้หมูกินวันละ 2 มื้อ เช้า เย็น ส่วนน้ำที่ได้จากการหมักก็นำมารดคอกหมู เพื่อลดกลิ่นหมูได้

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา