ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาหมอ

โดย : นายบำรุง อัมพะวัน วันที่ : 2017-06-15-18:59:49

ที่อยู่ : 5/3 หมู่ 9 ตำบลดงเดือย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความหมายคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชน เมือง รัฐ หรือประเทศ ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ โดยรู้จักการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ และไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตอื่น ที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของ

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี เพื่อนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ภายหลังเมื่อได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนรอดพ้นและสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ว่า

“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานจากมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงโดยลำดับต่อไป…”

ใน พ.ศ. 2540 เกิดปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง เพื่อแนวทางแก้ปัญหาให้กับประเทศ

“…การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตนเองได้ให้มีพอเพียงกับตนเอง อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…”

คำว่า “พอเพียง” จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเต้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานความหมายของคำว่า “พอเพียง” ไว้ว่า

“…คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้แผลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง…”

“…ให้เพียงพอนี้หมายความว่ามีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือยไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือยแต่ก็ทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรจะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ…”

“…Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่นอยู่ได้ด้วยตนเอง…”

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพ    สร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ในการทำบ่อเลี้ยงปลาหมอนา

  1. กระเบื้องมุงหลังคา 6 แผ่น (หาจากวัสดุเหลือใช้ภายในบ้านในสวนก็ได้ค่ะถ้าไม่อยากไปซื้อใหม่)
  2. ไม้ไผ่ผ่าซีก ประมาณ 30-40 ชิ้น
  3. แผ่นยางพลาสติกดำ ขนาด 2x4 เมตร (เลือกแบบหนาน่ะค่ะ)

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนและวิธีการทำ

  • วางแผ่นกระเบื้องในแนวตั้ง ประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม ข้างละ 2 แผ่น
  • ใช้ไม้ไผ่ผ่าซึกวางทาบกับผนังแผ่นกระเบื้องโดยตอกไม้ไผ่ลงดิน เพื่อใช้เป็นตัวยึดแผ่นกระเบื้องทั้งหมด ข้างละ 8-10 อัน
  • นำแผ่นพลาสติกดำมาวางตรงกลางที่กระเบื้องจัดทรงบ่อไว้ จัดมุมด้านล่างบ่อและจับมุมทั้งสี่ให้พับหรือยึดติดกับไม้ไผ่หรือกระเบื้องไว้ให้แน่น เพื่อป้องกันแผ่นพลาสติกหลุดเมื่อเราใส่น้ำค่ะ
  • จับมุมพลาสติกดำเรียบร้อยให้เปิดน้ำเข้าบ่อ แล้วใส่ดินลงไปเล็กน้อยหาผักพืชน้ำมาลงเพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ พักทิ้งไว้ 1 คืน

 

เท่านี้ก็สามารถนำลูกปลาหมอลงปล่อยได้แล้วค่ะ บ่อขนาดนี้สามารถจะหรือเลี้ยงลูกปลาหมอได้มากถึง 500 ตัวเชียวค่ะ

 

เคล็ดลับเพิ่มเติมหากระสอบทรายมาช่วยพยุงกระเบื้องรอบๆบ่อเพื่อความทนทานค่ะ

ปลาหมอนา เราก็สามารถหาได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้บ้านหรือสั่งซื้อกับชาวบ้านที่มีอาชีพหาปลามาขายตามตลาดต่างๆ ถ้าได้ตัวใหญ่ก็เอามาคัดเลือกเป็นพ่อพันธ์ุแม่พันธ์ุเพื่อขยายพันธ์ุเลย เพราะว่าปลาหมอนั้นวางไข่ได้จำนวนเยอะมาก 

 

หาได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติตามคลองน้ำไหลผ่านตามทุ่งนาต่างๆปลาหมอนาแท้ๆแน่นอนค่ะ

เมื่อเราได้บ่อไว้สำหรับเพาะเลี้ยงแล้วก็หาปลาหมอนามาเพาะเลี้ยงกันเลยค่ะ หาจากแหล่งธรรมชาติหรือหาซื้อจากพ่อค้าแม่ค้าแล้วมาคัดเอาว่าจะเอาตัวไหนมาเป็นพ่อพันธ์ุแม่พันธ์ุต่อไป วิธีการคัดเลือกพ่อพันธ์ุ-แม่พันธ์ุปลาหมอนาก็ง่ายๆค่ะมีวิธีการดุและเลือกดังนี้ค่ะ

 

การคัดแม่พันธ์ุปลาหมอนา

  • แม่พันธ์ุปลาหมอนาควรมีขนาดตัวประมาณ 3 นิ้วลักษณะตัวป้อมสั้น
  • ช่วงเวลาที่ควรแก่การคัดแม่พันธ์ุให้คัดตอนช่วงเช้า คัดหลังการถ่ายน้ำและก่อนการให้อาหาร
  • แม่พันธ์ุที่พร้อมเป็นแม่พันธ์ุ ท้องจะมีลักษณะบวมเปล่งแสดงว่ามีไข่ และอวัยวะเพศมีสีแดงชมพูเรื่อ

การคัดพ่อพันธ์ุปลาหมอ

  • พ่อพันธ์ุปลาหมอควรมีขนาดตัวประมาณ 3 นิ้วขึ้นไปลักษณะตัวเรียวยาว แข็งแรง ว่ายน้ำปราดเปรียว
  • ช่วงเวลาที่คัดคือช่วงเดียวกันกับแม่พันธ์ุคือช่วงเช้าก่อนการให้อาหารและหลังจากการถ่ายน้ำ
  • พ่อพันธ์ุปลาหมอนาที่พร้อมในการผสมพันธ์ุที่บริเวณปลายหัวจะออกเป็นสีแดง เกล็ดนวลเงาไม่มีบาดแผล

เมื่อคัดได้ทั้งพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุปลาหมอนาที่พร้อมจะผสมพันธ์ุแล้วเราก็มาดูขั้นตอนและวิธีการในการผสมพันธ์ุหรือเพาะพันธ์ุปลาหมอนากันเลยค่ะ

  • ต้องทำการผสมพันธ์ุปลาหมอนาในช่วงฤดูฝน หรือช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม โดยเฉพาะช่วงฝนตกใหม่ๆ
  • ในบ่อที่จะทำการผสมพันธ์ุปลาหมอนา ให้ใส่น้ำสูง 50-60 เซนติเมตร และควรใส่ผักพืชน้ำเช่นผักบุ้งเป็นต้นเพื่อให้ปลาหมอนาใช้เป็นที่กำบังและซ่อนตัวเวลาฟักไข่
  • จำนวนพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุต่อบ่อ ให้นำแม่พันธ์ุปลาหมอนา 100 ตัว ต่อพ่อพันธ์ุปลาหมอนา 50 ตัว  ต่อหนึ่งบ่อค่ะ หรือให้คิดจากอัตราส่วน แม่พันธ์ุ 2 ตัว ต่อพ่อพันธ์ุ 1 ตัวค่ะ
  • ปล่อยทิ้งไว้ในบ่อให้ทำปลาหมอนาได้ทำการผสมพันธ์ุประมาณ 3 สัปดาห์
  • หลังจากผ่านไป 3 สัปดาห์แล้วให้ตักแยกพ่อพันธ์ุแม่พันธ์ุออกจากบ่อให้เหลือไว้แค่ลูกพันธ์ุปลาหมอนาที่ลูกปลายังอยู่กันแบบรวมกลุ่มหรือเรียกอีกอย่างว่าปลาลูกคอก

เมื่อได้ลูกพันธุ์ปลาหมอมาแล้วเราก็มาดูวิธีดูแล หรือ อนุบาลลูกปลาหมอ กันต่อเลยค่ะ

  • การอนุบาลลูกปลาบ่อทำในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ก็ได้ ให้มีระดับน้ำ 50 เซนติเมตร หากเพาะเลี้ยงในบ่อดินจะสะดวกกว่าบ่อซีเมนต์เพราะสามารถเลี้ยงได้จำนวนลูกปลาที่มากกว่าและก็มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ค่ะ หากทำในบ่อซีเมนต์คือในกรณีที่อนุบาลลูกปลาที่มีจำนวนไม่มากเท่านั้นค่ะ
  • ลูกปลาหมอนาที่ฟักออกจากไข่จะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1.9มิลลิเมตร หน้าท้องมีถุงอาหารขนาดใหญ่ที่เป็นอาหารสำรองหลังฟักตัวแล้วจะยุบตัวประมาณ 3 วัน ซึ่งระยะ 3 วันนี้ลูกปลาหมอนาจะยังไม่กินอาหารมาก ไม่ควรให้อาหารเยอะจนเกินไป
  • การอนุบาลในบ่อดินให้ผสมปลาป่นกับรำละเอียดอย่างละ 3 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อช่วยสร้างห่วงโซ่อาหารธรรมชาติเช่นแพลงก์ตอนสัตว์
  • บ่อที่อนุบาลลูกปลาหมอควรมีหลังคาป้องกันแสงแดด และให้ใส่พืชน้ำเช่นผักบุ้งเป็นต้นลงไปในบ่อด้วย

 

วิธีการดูแลรักษา สำหรับบ่อที่เลี้ยงปลาหมอนา

  • หากเลี้ยงในปริมาณที่มากๆให้ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือดูตามสภาพน้ำ
  • อาหารควรให้ช่วงเช้าทุกวัน อาหารที่ใช้เลี้ยงใช้อาหารเม็ดที่เลี้ยงปลาดุกเล็กร่วมกับอาหารเสริมชนิดอื่นๆ เช่น ไรแดง ปลวก รำข้าว

ปัจจุบันการจำหน่ายปลาหมอมีทั้งแบบจำหน่ายเป็นขนาดลูกปลาหมอนา เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงต่อ หากเราเพาะเลี้ยงได้เองก็ให้คัดลูกปลาหมอนาที่มีขนาดตัวประมาณปลายปากกาหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ปลาขนาดใบมะขามนั่นเอง ราคากลางก็จะอยู่ประมาณตัวล่ะ1บาทค่ะ หากเลี้ยงขายเป็นปลาตอนโตเต็มที่ให้ได้ขนาดตัว 3-6ตัวต่อกิโลกรัม ราคากลางอยู่ที่ 100-150 บาท

หากท่านไหนสนใจที่จะเพาะเลี้ยงปลาหมอนา ก็ลองศึกษาดูน่ะค่ะและก็ดูตามพื้นที่่ที่่จะทำการเลี้ยงว่าเหมาะที่จะเลี้ยงแบบไหน ปลาหมอทนอึดเลี้ยงง่ายแต่ทางที่ดีก็ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น และหากทำบ่อดังตัวอย่างข้างต้นก็แนะนะให้หากระสอบทรายหนุนไม่ให้บ่อล้มและก็ควรวางไว้ตรงขอบบ่ออีกชั้น เพราะปลาบ่อค่อนข้างดื้อและปีนเก่ง แต่ก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะเพาะเลี้ยงน่ะค่ะไม่ว่าจะหาลูกปลาหมอนาตอนเล็กๆมาอนุบาลหรือหาพ่อพันธ์ุแม่พันธ์ุมาเพาะเพื่อจำหน่ายลูกปลาหมอต่อก็ล้วนแล้วแต่สร้างรายได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความใส่ใจดูแลและทำแล้วไม่ท้อก่อนค่ะ หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านน่ะค่ะ ติดตามเทคนิคและวิธีการต่างๆด้านการเกษตรทุกชนิดได้ที่นี่ Baannoi.com

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา